บันทึกประจำเดือนกุมภาพันธ์


อาหารที่ใช้ในการฝึกกลืน

ภาวะกลืนลำบาก ( Dysphagia ) หมายถึง ภาวะที่พบว่าผู้รับบริการมีความยากลำบากในการเริ่มต้นกลืนอาหาร หรือมีความยากลำบากในการเคลื่อนย้ายอาหารจากปากให้ผ่านคอหอยและหลอดอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร

ประเภทของอาหารกระตุ้นกลืน  ( Dysphagia Diet

แนะนำให้เลือกเนื้ออาหารตามความเหมาะสม  โดยคำนึงถึงความสะดวกในการหา ( ในบริบทของชุมชนเมือง หรือชุมชนชนบท )  ความต้องการของผู้รับบริการ  และรสชาติของอาหาร

LEVEL 1 :  Thick puree-No liquid

สำหรับผู้รับบริการที่เริ่มรับประทานอาหารทางปาก  และผู้ที่ไม่สามารถเคี้ยวอาหารหยาบหรือกลืนอาหารเหลวได้  ควรเลือกอาหารที่หนืดไม่มีน้ำ  โดยอาหารจะถูกปั่นจนข้นเป็นเนื้อเดียวกัน  เช่น  โจ๊กข้น  ไข่ตุ๋น กล้วยขูด ฟักทองบด มันบด แครอทบด  เผือกบด โยเกิร์ตครีม สังขยา ไอศกรีม พุดดิ้ง

LEVEL 2 :  Thick and thin puree and thick liquid

สำหรับผู้รับบริการที่เริ่มเคี้ยวได้บ้างเล็กน้อย  แต่ยังไม่สามารถกลืนอาหารที่เป็นของเหลวได้ ซึ่งอาหารชนิดนี้จะมีส่วนผสมของของเหลวมากกว่าชนิดแรก  แต่ไม่ถึงกับเป็นน้ำเหลว โดยอาหารจะถูกปั่นเป็นเนื้อเดียวกัน  แต่มีลักษณะข้นหนืดคล้ายน้ำผึ้ง  เช่น  ข้าวต้มข้น ซุปข้น ( อาหารเป็นอาหารชนิดเดียวกับชนิดแรก  แต่จะมีส่วนผสมของของเหลวมากกว่า )

LEVEL 3 :  Mechanical soft-thick liquid

สำหรับผู้รับบริการที่ยังกลืนอาหารเหลวลำบาก  และผู้ที่เคี้ยวลำบากเนื่องจากไม่มีฟันหรือต้องใส่ฟันปลอม  อาหารควรเป็นอาหารอ่อนที่บดหรือสับละเอียด  ไม่มีเปลือกหรือกากแข็ง  อาหารที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ  มีน้ำปนอยู่บ้างเล็กน้อย  เช่น  ขนมปัง  โดนัท วาฟเฟิล มักกะโรนี  สปาร์เก็ตตี้ ไข่ดาวน้ำ ไข่ลวก ไข่คน ผลไม้เนื้อนิ่ม ๆ  ไม่มีเมล็ดปอกเปลือก ผลไม้กระป๋อง กล้วยเชื่อม น้ำผลไม้   

LEVEL 4 :  Mechanical soft diet

สำหรับผู้รับบริการที่มีภาวะกลืนลำบากเล็กน้อย ผู้ที่ใส่ฟันปลอม หรือผู้ที่สามารถเคี้ยวอาหารอ่อนได้และกลืนของเหลวได้ดี อาหารเป็นอาหารอ่อนปกติ มีลักษณะนิ่มปานกลาง  สามารถคี้ยวและกลืนได้ง่าย เช่น ข้าวสวยกับต้มจืดผักเปื่อย ๆ  ราดหน้า  ก๋วยเตี๋ยวน้ำ  ขนมนิ่ม ๆ  น้ำซุปต่าง ๆ  

LEVEL 5 : Regular diet

สำหรับผู้รับบริการที่สามารถกลืนอาหารได้ดี  และมีความปลอดภัย  ใช้เวลาในการกินอาหารแต่ละมื้ออย่างเหมาะสม อาจจะเปลี่ยนเป็นสามารถรับประทานอาหารสามัญหรืออาหารปกติได้  แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารแข็งที่กลืนยากหรือทำให้ผู้ป่วยไอหรือสำลักในระยะแรก  เช่น  อาหารทอดกรอบ  ถั่วหรือเมล็ดพืช และขนมปังกรอบ


หมายเลขบันทึก: 520815เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2013 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท