RFID and Law


     เทคโนโลยีในยุคปัจจุบันที่มีการกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางก็คือ เทคโนโลยี (RFID Radio Frequency Identification) โดยมีความคาดหวังว่าจะเข้ามาแทนที่ในระบบบาร์โค้ด ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเมื่อเทียบกับระบบบาร์โค้ดนั้นสามารถช่วยลดต้นทุนในหลายด้านเช่น ลดจำนวนพนักงาน, ลดปริมาณสินค้าคงคลัง

หลักการของเทคโนโลยี RFID และประโยชน์เมื่อเทียบกับระบบบาร์โค้ด
     RFID เป็นไมโครชิปที่มีขนาดเล็กจนสามารถฝังอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ การทํางานของ RFID จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งสัญญาณจากไมโครชิป (Microchip) ที่ติดอยู่กับผลิตภัณฑ์ไปยังเครื่องอ่าน (RFID Reader) ในขณะที่บาร์โค้ด (Barcode) จะสามารถอ่านข้อมูลจากผลิตภัณฑ์ได้ครั้งละ 1 ชิ้น และแสดงข้อมูลของสินค้าเพียงเบื้องต้นเท่านั้น แต่ RFID สามารถอ่านข้อมูลของผลิตภัณฑ์ได้พร้อมกันครั้งละหลายๆ ชิ้น แม้กระทั่งสามารถอ่านได้ทั้ง Pallet หรืออ่านสินค้าที่อยู่ในรถเข็นสินค้าที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าได้ทั้งคัน ในคราวเดียวกัน โดยไม่ต้องหยิบสินค้าขึ้นมาอ่านทีละชิ้น ข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าจอ RFID Reader นอกจากจะช่วยให้ทราบถึงประเภทสินค้า และราคาสินค้าแล้ว ยังสามารถทราบถึงแหล่งผลิต ส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิต และวันที่ผลิตอีกด้วย ในด้านผู้ผลิต ประโยชน์ที่จะได้รับก็คือ จะทราบถึงปริมาณการขายสินค้า และจํานวน stock สินค้าในโกดัง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสินค้าสูญหายและสินค้าไม่พอจําหน่าย และที่สําคัญจะช่วยลดต้นทุนในการสต็อกสินค้าและใช้คนงานน้อยลงด้วย

ในปัจจุบันการนําระบบ RFID มาประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น

  • ทดแทนระบบบาร์โค้ด (Barcode) รุ่นเก่า
  • Access Control / Personal Identification หรือการเข้า-ออกอาคาร แทนการใช้บัตรแม่เหล็กรูด เนื่องบัตรแม่เหล็กรูดมากๆก็จะเสื่อม แต่บัตรแบบ RFID ใช้เพียงแตะหรือแสดงผ่านหน้าเครื่องอ่านเท่านั้น รวมทั้งยังสามารถใช้กับการเช็คเวลาเข้า-ออกงานของพนักงานด้วย
  • ห่วงโซ่อุปทาน และระบบลอจิสติกส์ ภาพที่จะเห็นในโรงงานอนาคตคือ สามารถติด Tag ไว้กับชิ้นงานเมื่อชิ้นงานผ่านสายพานขนสินค้าในโรงงาน แต่ละแผนกจะรู้ว่าต้องทําอย่างไร ติดอะไรบ้าง และต้องส่งไปที่ไหนต่อ รวมถึงการจัดการสินค้าในคลังสินค้า ว่ารับสินค้ามาเมื่อใด จะต้องเก็บไว้ที่ไหน จะส่งไปที่
    ไหนยังไง ใครจะมารับ ส่วนภาพที่ผู้บริโภคจะเห็นคือ การซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ต เวลาซื้อก็หยิบใส่ตะกร้าคิดเงินผ่านเครื่องอ่าน RFID ครั้งเดียวคิดเงินได้ทันที ไม่ต้องหยิบมายิงบาร์โค้ดทีละชิ้นให้เสียเวลา และเตือนผู้ซื้อได้หากสินค้าที่ซื้อหมดอายุ
  • ระบบ Animal Tracking มาใช้ เหมาะกับเกษตรกรไทย ในการพัฒนาดืานปศุสัตว์ให้เป็นระบบ ฟาร์ม ออโตเมชัน ด้วยชิป RFID ติดตัวสัตว์เลี้ยง ทําให้สามารถทราบเจ้าของ ตรวจสอบสายพันธ์ การให้อาหารและการควบคุมโรคติดต่อในสัตว์ รวมถึงการสร้าง Food Traceability สําหรับสู้กับข้อกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกา และกลุ่มสหภาพยุโรป ที่อยู่ระหว่างตัดสินใจว่าผู้ส่งออกสินค้าเนื้อสัตว็ชําแหละ
  • ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ (e-ticket) เช่น บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน
  • ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) ที่ทางประเทศสหรัฐกําลังกําหนดมาตรฐานการเข้า ออกของประเทศของเค้า เพื่อป้องกันผู้ก่อการรยาย รวมไปถึง E-citizen ด้วย
  • ระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ (Immobilizer) ในรถยนต์ ป้องกันกุญแจผิดในการขโมยรถยนต์ (Smart Key entry) พวก Keyless ในรถยนต์ราคาแพงบางรุ่นก็เริ่มนํามาใช้งานแล้ว
  • ระบบห้องสมุดดิจิตอล ในการยืมคืนอัตโนมัติ ทําให้ผู้ใช้บริการได้รวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น

     แต่ถ้ามองอีกทางเมื่อเทคโนโลยีนี้เข้ามาแทนที่ระบบบาร์โค้ดที่เคยอยู่กับเราในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อ, กางเกง, รองเท้า เป็นต้น ซึ่งถ้าไม่มีการป้องกันหรือแนวทางในการนำเทคโนโลยี RFID ไปใช้ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับเทคโนโลยี RFID ก็คือ การละเมิดส่วนตัว หรือ ข้อมูลส่วนตัว หรืออาชญากรรม โดยลักษณะปัญหาที่จะเกิดขึ้นมีโอกาสที่จะเป็นไปได้ แต่ในทางกฎหมายที่จะลงโทษกับผู้กระทำความผิด สำหรับประเทศไทยแล้วยังไม่บทบัญญัติไว้เกี่ยวกับการกระทำความผิดในลักษณะต่างๆ จากเทคโนโลยี RFID หรือแม้แต่จากคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มีกฎหมายออกมาใช้ รวมไปถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

     ลักษณะการกระทำความผิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี RFID นั้นมีลักษณะคล้ายกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, การกระทำความผิดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2547 เกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ เช่นการเข้าถึงข้อมูลโดยปราศจากอำนาจ, การดักข้อมูล, การโจรกรรม, การปลอม หรือแปลงข้อมูล เป็นต้น ความผิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นใช่ว่าเทคโนโลยี RFID จะไม่มีความปลอดภัย ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยี RFID ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีความปลอดภัยสูงและเป็นที่น่าเชื่อถือ เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปเรื่อยความรู้ความสามารถในการที่จะ Hack หรือ Crack หรือปลอม หรือแปลง ก็พัฒนาตามเป็นเงาตัว

     สำหรับประเทศไทยกฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีนั้น จะเป็นกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอยู่ในระหว่างร่างเสียส่วนใหญ่ มีเพียงพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2547 เกี่ยวกับบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ส่วนที่อยู่ในระหว่างการร่างได้แก่ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์, การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งน่าจะเป็นกฎหมายหลักที่จะกำกับดูแลและลงโทษผู้กระทำความผิดโดยใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเทคโนโลยี RFID

     ช่วยกันแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ เพื่อเป็นประโยชน์ในงานวิจัยของผมครับ...ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 52050เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 02:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท