3. เหตุผลเชิงจิตวิญญาณในกระบวนการเพิ่มสุขภาวะในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง


จากการวิจัยหนึ่งได้กำหนดนิยามว่า               

สุขภาวะ (Wellbeing) หมายถึง ภาวะที่ปราศจากปัญหาหรือ สิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหา ทั้งทางร่างกาย
จิตใจ การดำรง ชีวิต และสามารถอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข ซึ่งแยกย่อยออกเป็น
2 ระดับ 5 กลุ่ม คือ


ระดับบุคคล (Personal level) มี 3 กลุ่ม คือ (1) การมีสุขภาวะทางกาย (Physical)

(2) สุขภาวะทางใจ (Mental)

(3) สุขภาวะ ด้านการดำรงชีวิต(Livelihood)

และระดับชุมชน (Community level) มี 2 กลุ่มคือ

(4) การเข้าถึงบริการพื้นฐานของชุมชน (Facilities/Utilities approach) และ

(5) สุขภาวะทาง ด้านสังคม (Social life)

ทั้งนี้นิยามสุขภาวะทั้งหมด ได้มาจากชุมชนโดยผ่านการตรวจสอบซ้ำของผู้เชี่ยวชาญ


ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทางกิจกรรมบำบัดในPEOPmodel เช่นกัน โดยสุขภาวะดังกล่าวเกิดได้จากคุณภาพชีวิตที่ดีเพราะเมื่อเรามีคุณภาพชีวิตที่ดีเราก็ไม่ต้องมาไม่เครียดมาไม่ความวิตกกังวลกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตแล้ว ก็เท่ากับลดอุปสรรคที่จะสร้างความสุข ดังนั้นก็จะทำให้เกิดสุขภาวะได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

แล้วสุขภาวะสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองละ ?

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักมีปัญหาความรู้คิด-สติปัญญา  กล้ามเนื้ออ่อนแรง  มีปัญหาด้านการสื่อสาร

และ ภาพลักษณ์(ใบหน้าเบี้ยวไม่สมมาตร)
ดังนั้นหากเราจะเพิ่มสุขภาวะต้องลดปัญหาทางจิตใจเหล่านี้ให้ผู้ป่วยก่อน

 - ก่อนอื่นผู้ป่วยต้องเข้าใจและยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นให้ได้เพื่อที่จะเข้าใจปัญหาที่มีแล้วพร้อมที่ก้าวต่อไป
 เพื่อส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy)ของตนเอง

 - สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง (Self confidence) ให้ผู้ป่วยกล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำ กล้าแสดงออกเพื่อให้ผู้ป่วยรู้  สุขว่าตัวเองยังมีคุณค่า(Self-value)สามารถทำสิ่งต่างๆเองได้

      พฤติกรรมของความเชื่อมั่นในตนเอง จำแนกได้ 13 กลุ่ม ดังนี้

  •  กล้าคิด กล้าพูด กล้ากระทำ
  •  มั่นคง ไม่เชื่อคนง่าย มีเหตุผล
  •  รอบคอบ มีแผนงาน
  •  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  •  กล้าเสี่ยง
  •  แสดงตัว เปิดเผย
  •  วิตกกังวลน้อย
  •  เป็นผู้นำ
  •  ยุติธรรม
  •  ช่วยเหลือบุคคลอื่น และหมู่คณะ
  •  อิสระ ไม่โอ้อวด
  •  ตั้งจุดมุ่งหมายในการกระทำไว้สูง
  •  เกรงใจและเห็นใจผู้อื่น

 - สร้างความนับถือในตนเอง(Self esteem)ให้ผู้ป่วย เพราะจากบทความ The Six Pillars of Self Esteem แต่งโดย Nathaniel Brandon ว่าด้วยเรื่องการสร้างความนับถือตนเองหรือ Self esteem ซึ่งจะแตกต่างกับคำว่า ความเชื่อมั่นในตนเอง หรือ Self confidence ตรงที่ว่า ความเชื่อมั่นในตนเองเป็นเรื่องของความกล้าที่จะตัดสินใจในการกระทำสิ่งต่างๆ ในชีวิต

แต่ Self esteem หรือความนับถือในตนเองนั้นคือความเชื่อว่าตนเองมีความสามารถที่จะเผชิญโลกได้ในทุกสถานการณ์และรู้ซึ้งดีว่าตนเองนั้นมีคุณค่าและเป็นคนดี มีความมั่นคงภายในจิตใจ

              วิธีการสร้าง Self esteem มี 6 ประการ ดังนี้

1. การใช้ชีวิตอย่างมีสติ (Living Consciousness)

2. การยอมรับตนเอง(Self Acceptance)

3. การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง (Self Responsibility)

4. การมีความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต (Self Assertiveness)

5. การใช้ชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมาย (Living Purposefully)

6. การมีศักดิ์ศรีในตนเอง (Personal Integrity)

                                    

                                      

 


อ้างอิง

jumbolife ที่ 02:23.The Six Pillars of Self Esteem ความเชื่อมั่น(Self esteem)[ElectronicMaterial]. 2555[2013 Feb 22]..Available from : http://jumbolifeschool.blogspot.com/2011/06/six-pillars-of-self-esteem.html

ถิ่น รุ่งรัตน์ เจริญวิศาล, สุริยา เหมตะศิลป และสุธาสินี บุญญาพิทักษ์.ผลกระทบด้านสุขภาวะครัวเรือนจากการย้าย(well-being)[ElectronicMaterial]. [2013 Feb 22]..Available from : http://www.edu.tsu.ac.th/major/old_eva/journal/Rung_article_in_HYU_15-26.pdf

sirirat prappancha. ความเชื่อมั่นในตนเอง(Self Confidence)[ElectronicMaterial]. 2555[2013 Feb 22]..Available from : http://share.psu.ac.th/blog/oreo/26251

#5423007

หมายเลขบันทึก: 520430เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 04:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท