อาการบวมน้ำเหลืองกับความสามารถในการทำกิจกรรม



จากการศึกษาบทความเพื่อศึกษาข้อมูลในการนำเสนอในรายวิชา PTOT223 ดิฉันจึงมีความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับ 

ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymph edema) ซึ่งอาจส่ผลกระทบมากมายในหลายด้านต่อผู้ที่เผชิญสภาวะข้างต้นนี้ เช่น ในด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และที่สำคัญด้านการทำกิจกรรมในการดำเนินชีวิตต่างๆ  เป็นเหตุผลที่ทำให้คุณภาพชีวิต(Quality of Life)ของผู้ที่เผชิญสภาวะเหล่านี้ ไม่ค่อยดีนัก ดังนั้นดิฉันจึงมีการหาข้อมูลและศึกษาเพิ่มเติม พบว่า

ระบบน้ำเหลือง ประกอบด้วย น้ำเหลือง (lymph) ท่อน้ำเหลือง (lymph vessel) อวัยวะน้ำเหลือง (lymphatic organ) และเนื้อเยื่อน้ำเหลือง (lymphatic tissue) ซึ่งโดยปกติแล้ว ท่อน้ำเหลือง มีลักษณะเหมือนเส้นเลือดเวน (vein) มีลิ้นกันเป็นระยะเพื่อไม่ให้น้ำเหลืองไหลย้อนกลับ เพื่อนำน้ำเหลืองกลับเข้าสู่หัวใจ และหากลิ้นที่กั้นนี้เกิดความเสียหาย ส่งผลให้น้ำเหลืองที่มีอยู่ตามแขน ขา ไหลไม่สะดวก เกิดภาวะคั่งอยู่ภายใน เนื้อเยื่อพองออก โดยจะปรากฏร่วมกับการขยายตัวและการแพร่พันธุ์ของหลอดน้ำเหลือง จนตัวมีลักษณะบวมมากขึ้น มักจะเกิดขึ้นบ่อยที่แขน ขา ใบหน้า หน้าท้อง เต้านม สะโพก ไปจนถึง ถุงอัณฑะ แคมอวัยวะเพศ ซึ่งสภาวะบวมน้ำเหลืองนี้สามารถแบ่งได้  3 ประเภท ด้วยกันคือ 

การบวมน้ำเหลืองปฐมภูมิ  เป็นการบวมที่เกิดขึ้นของมันเอง ได้แก่ บวมน้ำเหลืองแต่กำเนิด ปานแดงระยางค์โตหลอดเลือดขอด บวมน้ำเหลืองกรรมพันธุ์ ดีซ่านบวมน้ำเหลือง บวมน้ำเหลืองวัยต้น แสลงนมขวด / อาหาร เริ่มจากบาดเจ็บเล็ก ๆ เช่น แมลงกัด เท้าแพลง หกล้ม บวมน้ำเหลืองวัยหลัง และเริ่มบวมหลังอายุ ๓๕ ปีไปแล้ว

 การบวมน้ำเหลืองทุติยภูมิ เป็นอาการบวมที่เกิดหลังเหตุการณ์ต่างๆ หรือเกิดตามโรคอื่น ได้แก่ เกิดหลังศัลยกรรม หรือทำรังสีบำบัด เช่น หลังผ่ามะเร็งเต้านม มดลูก ผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง หรือเกิดหลังการติดเชื้อหนอนพยาธิฟิลาเรีย เรียกว่า โรคเท้าช้าง

การบวมน้ำเหลืองระนาบลึก ซึ่งมองจากภายนอกอาจไม่รู้เลยว่าบวม และอาจมีการบวมไขมันร่วม ซึ่งเมื่อลุกก็จะมีอาการเจ็บ หรือจะนั่งก็มีอาการเช่นกัน หากกดจุด ก็จะเจ็บหรือปวดร้าวตามแนวน้ำเหลือง เหมือนปวดเส้นปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรัง

 

และในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีผลต่อเนื่องมาจากการผ่าตัดมะเร็ง ซึ่งในกระบวนการผ่าตัดนั้นจะมีการผ่าตัดนำต่อมน้ำเลืองออกไปด้วยเพราะเชื้อมะเร็งประมาณ 90% จะมีการแพร่เข้าสู่น้ำเหลือง และนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบการไหลเวียนน้ำเหลืองผิดปกติไป

                อาการแรกเริ่มที่สามารถสังเกตได้

1.บริเวณที่บวม กดลงไปแล้วบุ๋ม

2.เวลาทานอะไรแล้วปวด หรือ ร้อน

3.อาการบวม หรือ ปวดสองข้างไม่เท่ากัน

4.มีไข้ต่ำๆ

                                อาการต่างๆเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิต ทำให้มีความยากลำบากในการทำกิจวัตรประจำวัน

ในทางกิจกรรมบำบัด สามารลดอาการได้โดยใช้ยืดผ้ารัดบริเวณบวม ที่เรียกว่า Pressure garment และมีการนวดลดบวมแต่จะไม่เน้นการให้บริการทางด้านนี้มากนัก

เพราะบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดจะมุ่งเน้นในการ เพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

โดยนักกิจกรรมบำบัดจะดูองค์ประกอบต่างๆที่เป็นตัวขัดขวางการทำกิจกรรมของผู้ป่วยซึ่งจะใช้กรอบอ้างอิง(Frame of referent)ทางกิจกรรมบำบัด เพื่อประเมินความสามารถ ส่งเสริมความสามารถที่มีอยู่และฟื้นฟูความสามารถเดิมให้กลับมา ให้ได้มาดที่สุด

ในระหว่างการรักษาอาการบวมระยะแรกผู้ป่วยอาจใช้อวัยวะที่บวมไม่ได้ หรือใช้ได้บ้างแต่น้อย เพราะต้องคอยระวังเป็นพิเศษ ดั้งนั้นนักกิจกรรมบำบัดจะฝึกการใช้อวัยวะส่วนอื่นเพื่อทดแทน(compensation) เช่น เป็นที่แขนขวา ก็จะฝึกให้ใช้แขนซ้ายทดแทน มีการปรับลดขั้นตอน (Work Simplification) ในกิจกรรมต่างๆให้ง่ายต่อผู้ป่วยมากขึ้น และมีการเสริมอุปกรณ์ช่วยเพื่อความสะดวกในการทำกิจกรรม

ทั้งนี้เพื่อเอื้อต่อความสามารถของผู้ป่วย ในทางกิจกรรมบำบัดจะดูถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมต่อการทำกิจกรรมด้วย

กรอบอ้างอิงที่ใช้คือ Rehabitation Frame of Reference เป็นกรอบอ้างอิงเพื่อฟื้นฟูความสามารถโดยจะพยายามให้กลับมามีความสามารถคล้ายเดิมมากที่สุดโดยดูที่ความพึงพอใจของผู้ป่วยในการให้การรักษารวมถึงผู้ป่วยจะสามารถทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตอยู่ได้ด้วยตัวเอง อย่างมีความสุข

เทคนิคที่ใช้

1 compensatory technique

2 assistive devices

3 environmental adaptation or modification

4 teaching and learning process

สิ่งที่ประเมิน

1 สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่

2 เศรษฐกิจ

3 ระดับความสามารถที่มีอยู่

4 ความคาดหวังของผู้ป่วย

5 องค์ประกอบต่างๆที่ขัดขว้างต่อการทำกิจกรรม

Model ที่ใช้

1 PEOE = เพื่อดูองค์ประกอบต่างๆที่ส่งผล และปรับองค์ประกอบเหล่านั้นให้เอื้ออำนวยต่อการทำกิจกรรมของผู้ป่วย

2  MOHO = เพื่อดูความสนใจ และ หาแรงจูงใจที่เป็นสิ่งกระตุ้นการทำกิจกรรมรวมถึงเป็นแนวทางในการเพิ่ม Well-Being และ Quality of Life ของผู้ป่วย  

อ้างอิง

Retrieved from 

นพ.ดร.วิชัย เอกทักษิณ[Internet].Bangkok ; 20012 [7 ต.ค. 2012].Available from:http://www.youtube.com/watch?v=VFCqiOYhQ9Y


หมายเลขบันทึก: 520412เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 23:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่เคยทราบเลยผู้ป่วยทานอะไรแล้วรู้สึกปวด ร้อนด้วย แล้วเราจะช่วยเขาให้สามารถกินอย่างมีความสุขได้อย่างไรคะ

ขอบคุณค่ะคุณ S N I T C H สำหรับคำถาม
ต้องทราบก่อนว่าอาการ ปวดร้อนนั้นมาจากการกินของแสลง หากผู้ป่วยกินเข้าไป มันจะไปเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อาการของโรคยิ่งแย่ลงมาก แต่หากงดการกินอาหารที่แสลงอาการจะหายเร็วขึ้นได้

ดังนั้นเราต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วย อธิบายถึงปัญหา และแนะนำให้หลีกเลี่ยงของแสลงที่จะมาทำให้อาการแย่ลง เท่านี้ผู้ป่วยก็จะมีความสุขกับการกินโดยไม่ต้องหวาดระแวง อาการปวดร้อนก็จะไม่เกิดขึ้น แถมอาการบวมยังหายเร็วด้วยค่ะ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท