ครูเอสอนแม่เหล็กเด็กๆ ซ๊อบชอบ แม่เหล็ก 1


                                                           วัตถุที่สามารถดึงดูดเหล็กได้เรียกว่า แม่เหล็ก

                                          แม่เหล็กมี  2  ขั้ว ขั้วเหมือนกันจะผลักกัน ขั้วต่างกันจะดึงดูดกัน

              แท่งแม่เหล็กจะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยขั้วเหนือจะชี้ไปทางทิศเหนือ ขั้วใต้จะชี้ไปทางทิศใต้

                                      รอบ ๆ แท่งแม่เหล็กมีสนามแม่เหล็ก  ซึ่งเต็มไปด้วยเส้นแรงแม่เหล็ก

                                                  เราสามารถนำแม่เหล็กไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย

                                 วัตถุบางชนิดที่ผ่านการถูแล้วสามารถดึงดูดวัตถุ (โดยเฉพาะวัตถุเบา ๆ)ได้

                           วัตถุสองชนิดที่ผ่านการถูแล้ว เมื่อนำเข้าใกล้กันวัตถุทั้งสองอาจดึงดูดหรือผลักกัน

                                                  วัตถุบางชนิดเมื่อผ่านการถูแล้วเกิดประจุไฟฟ้าขึ้น 
                                       แรงดึงดูดหรือแรงผลักที่เกิดจากวัตถุที่ผ่านการถู เป็นแรงไฟฟ้า

                             ถ่านไฟฉายเป็นเซลล์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่เป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าให้พลังงานไฟฟ้า

                เมื่อหมุนแม่เหล็กที่อยู่ระหว่างขดลวด หรือหมุนขดลวดที่อยู่ระหว่างแม่เหล็กจะเกิดกระแสไฟฟ้า

                                   แหล่งพลังงานที่ใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานจากธรรมชาติ
                                          ที่มีทั้งแหล่งพลังงานที่มีจำกัดและแหล่งพลังงานหมุนเวียน

                                                   พลังงานไฟฟ้าสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่น

            ได้การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องใช้ให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันอันตรายต่อทรัพย์สินและ
                                             ชีวิต รวมทั้งต้องรู้จักใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด

      วันนี้เป็นอีกวันหลังจากที่สอนบทเรียนนักเรียนผ่านไปแล้ว ครูเอจึงนำเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อเป็นการสอนเพิ่มเติมให้กับนักเรียน  ขอนำเสนอการจัดการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องของแม่เหล็ก

การเรียนวิทยาศาสตร์ให้เด็กๆ ได้เข้าใจและได้สัมผัส 10 ปากว่าไม่เท่าตาเห็น  10 ตาเห็นไม่เท่าลองทำดู ข้อความเป็นจริงเลยทีเดียว หากเราสอนแต่บทเรียน (ครูนั่งบ่น นั่งว่าเด็กหน้าห้อง ให้เด็กเปิดหนังสือตาม) เด็กก็จะรู้เท่าที่มีในหนังสือนั่นแหล่ะ  จากเหตุผลดังกล่าวเป็นความจริงที่ครูทุกคนรู้ แต่จะมีสักกี่คนที่จะเสียเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่เด็กได้รู้ตลอดชีวิต มันน่าจะคุ้มค่ากว่าให้สมกับคำว่าเป็นครู

      บันทึกการบอกเล่าวันนี้ครูจะพาเด็กทดลองทำก็ได้นะค่ะ

เริ่มต้นด้วยการที่ครูให้นักเรียนเล่าประสบการณ์ หรือความรู้ที่นักเรียนมีเกี่ยวกับแม่เหล็ก   โดยครูเปิดโอกาสที่จะรับฟังเด็ก เด็กจะเล่าอย่างมีความความสุขในสิ่งที่เค้าได้เรียนรู้มาจากประสบการณ์เดิม หลังจากนั้นเด็กเล่าถึงอุปกรณ์ต่างๆที่มีแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบ ภาพที่เพื่อนเล่าเด็กคนอื่นๆจะเกิดจินตนาการตาม (สังเกตจากใบหน้าของเด็กๆ) 

ครูบอกว่า แม่เหล็กมี  2  ขั้ว ขั้วเหมือนกันจะผลักกัน ขั้วต่างกันจะดึงดูดกัน  แท่งแม่เหล็กจะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยขั้วเหนือจะชี้ไปทางทิศเหนือ ขั้วใต้จะชี้ไปทางทิศใต้  จริงหรือไม่จริงครูจะให้นักเรียนหาความจริงนั้นด้วยตัวเอง

เมื่อครูพูดประโยคนี้จบ ท่านจะสังเกตเห็นพฤติกรรมนักเรียน

1. มองหน้ากันอย่างประหลาดใจ

2 มองหน้าครูด้วยหน้าตาเต็มไปด้วยเครื่องหมายคำถาม

3. คำถามต่างๆ นาๆจะเกิดขึ้นกันอย่างเว็งแซ่เต็มห้องเรียน

วันนี้บันทึกการเรียนรู้ของครูเอขอจบไว้เพียงแค่นี้ก่อน เพราะให้เด็กๆ ไปเตรียมตัว เตรียมการทดลองด้วยตนเองเพื่อนจะได้นำเสนอในวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 ค่ะ


หมายเลขบันทึก: 520377เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 21:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท