พสต. /อสต. หัวใจขบวนการสาธารณสุขแรงงานข้ามชาติ


เราสร้างคนให้สามัคคีเห็นปัญร่วมในการดำเนินการขนาดนี้ได้อย่างไร เพราะมันน่าชื่นชม "จิตอาสา"

เมื่อวันที่ 17-18 กพ. 56 ผมเดินทางไปแม่สอดจังหวัดตาก กับทีมโครงการท่านๆอื่น เพื่อพัฒนาการทำงานโครงการกลไกสาธารณสุขสำหรับผู้มีปัญหาสถานบุคคล  สารภาพว่ามาแม่สอดหลายครั้งครับ แต่ทางของแม่สอดนี่ยังคดเคี้ยวชวนเอาเวียนหัว พร้อมทั้งชวนอ๊วกเอาเหมือนเดิม การเดินทางในครั้งนี้เราต้องการหรือเราเรียกว่าตั้งใจไว้ในการดูระบบการดำเนินงานสาธารณสุข เพื่อให้การเห็นระบบหรือเราเรียกว่าระบบเชิงรุกนั้น เราพยายามศึกษากระบวนการที่มีคือ 

การพัฒนาหรือการสร้างคนหลายที่เรียกไม่เหมือนกัน พนักงานสาธารณสุขต่างด้าว (พสต.) หรือมีลักษณะคล้าน อสม. บ้านเรา แต่ประเด็นคือในจังหวัดชายแดน หรือในกระบวนการทำงานที่ผ่านมา กระบวนการเหล่านี้มีความจำเป็นมาก เพราะสาธารณสุขเชิงรุก Primary care และอื่นจำเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้และสามารถเข้าถึงชุมชนได้ ซึ่งเหมือนกับอีกตำแหน่งหนึ่งทางสังคมที่สร้างขึ้นมา (อสต.) อาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (แบบนี้ดูจะเหมือน อสม. เรามากกว่ากลุ่มแรก) กลุ่มนี้เน้นกระบวนการรู้จักชุมชนและมีใจอาสาในการทำงานตัวเองครับ ผมว่าตัวจักรสำคัญก็คือคนกลุ่มนี้ในการทำงาน ร่วมกับหนาวยงานไทย เพราะเป็นการยากมากที่เราจะเข้าไปถึงเขาครับ


Health post/DIC/ศสมช  ที่ทำหน้าที่เป็นจุดบริการสาธารณสุขมูลฐาน และที่สำคัญ เป็นจุดที่ตั้งของบ้านอาสาสมัครด้วย เท่าที่พบในการทำงานพื้นที่เราเห็นการตั้งกองทุนยาในนั้น กองทุนข้าวสารและอื่นๆอีกมากมายในการทำงานระบบสาธารณสุขมูลฐาน คำถามคือ "ทำไมเขายอมแบ่งบ้างส่วนหนึ้งตัวเองแบบนั้น" เป็นกระบวนการที่น่าคิด เขามีจิตอาสาในการดูแลตัวเขาเอง และมองเห็นเรื่องระบบสุขภาพร่วมกันซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่เอามากๆ ที่เราเองก็ควรมองระบบนั้


การเชื่อมระบบการส่งต่อระหว่าง Health post/DIC/ศสมช  ไป รพสต. จุดนี้เป็นจุดที่น่าชืนชม เนื่องจากว่า เรามองเห็นกระบวนการคือ หากอยู่เองนั้นไม่ได้ ระบบไหนที่เข้ามาช่วย คือระบบของ ลูกข่าย รพสต.นั่นเอง กระบวนการเหล่านี้ยิ่งทำให้เรามองเห็นกระบวนการทำงานและเชื่อมระบบสาธารณสุขมากขึ้น 

แต่โจทย์สำคัญที่ยังคาใจผมคือว่า เราสร้างคนให้สามัคคีเห็นปัญร่วมในการดำเนินการขนาดนี้ได้อย่างไร เพราะมันน่าชื่นชม "จิตอาสา" ที่ผมเห็นมันคืออาสาจริง และท้ายสุดเมื่อเปิด AEC กระบวนการดังกล่าวยังต้องมีการดำเนิน ผมเองยังคิดไม่ออก แต่เห็นจากแม่สอดกระบวนการเหล่านี้แก้ได้..........

บันทึก ณ แม่สอด ...........

หมายเลขบันทึก: 520319เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นแนวคิดที่น่าชื่นชม  ระบบ อสม. ของเราเป็นสิ่งอัศจรรย์หนึ่งของสาธารณสุขปฐมภูมิ
หากนำหลักการมาใช้อาจประสบความสำเร็จในการดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าวเช่นกัน

ขอบคุณคะ

เห็นด้วยมากครับ...ที่นำแนวคิด อสม.หรือ จิตอาสา มาปรับใช้...ขอให้เดินหน้าต่อไปอย่างมีความสุขนะครับ

@ คุณ ป. แนวคิดนี้กำลังดำเนินการครับ แต่ต้องมาดูรายละเอียดอีกเยอะเชียวครับ ขอบคุณครับ...


@ คุณทิมดาบ ขอบคุณมากครับ จะพยายามต่อไปครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท