ลดอัตราการเกิด Birth asphyxia


ชื่อผลงาน : การลดอัตราการเกิด Birth asphyxia

 คำสำคัญ  : Birth asphyxia  หมายถึง ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ที่ 1 นาที APGAR score ≤ 7 คะแนน

 สรุปผลงานโดยย่อ:พัฒนาระบบการคัดกรองหญิงตั้งครรภ์และการดูแลการคลอดเพื่อป้องกัน และเฝ้าระวังในระยะคลอด สามารถลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดได้

 ชื่อที่อยู่องค์กร:  งานห้องคลอด โรงพยาบาลศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม

 สมาชิกทีม:นางกรมรี แพงดี,นางสาวศศิธร พรหมประกาย,นางสาวสุกัญญา อนุญาหงษ์,นางสาวกวินชิดา ศรีมี, 

นางสาวนันจิรา ทากิระ,นางสาวทัชชกร กลางประพันธ์,นางสาวนิภาวรรณ ศรีสุวอ,นางสาวรัชฎา ยะภักดี

 เป้าหมาย : ลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ≤ 25 : 1000  การเกิดมีชีพ

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ

         โรงพยาบาลศรีสงครามเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง  มีผู้คลอดเฉลี่ย 70 ราย/เดือน จากการเก็บข้อมูลปี  2553 –  2554  การเกิดอุบัติการณ์ Birth asphyxia พบอัตราการเกิด   27.70 : 1000 การเกิดมีชีพ และ 30.34: 1000 การเกิดมีชีพ มีแนวโน้มสูงขึ้น  จากการทบทวนอุบัติการณ์โดยทีมสหวิชาชีพ  ถึงกระบวนการดูแลมารดาในระยะรอคลอด พบสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้อัตราการเกิดอุบัติการณ์ คือการวินิจฉัยความเสี่ยงล่าช้า  การเฝ้าระวังที่ไม่ครอบคลุม การคลอดท่าก้นโดยไม่ได้วางแผน อัตรากำลังไม่เพียงพอ เจ้าหน้าที่ขาดความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือช่วยวินิจฉัยความเสี่ยง และ มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ CPG ในการดูแลการคลอด งานห้องคลอดจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและลดอัตราการเกิด Birth asphyxia  โดยเน้นที่การประเมินความเสี่ยงและวางแผนการคลอดตั้งแต่ระยะฝากครรภ์  นำไปสู่การพัฒนากระบวนการดูแลต่อเนื่องจนถึงระยะคลอดที่มีประสิทธิภาพต่อไป จึงได้จัดทำ  โครงการพัฒนาคุณภาพเพื่อลดปัญหาการเกิด Birth asphyxia ในทารกแรกเกิดขึ้น

     

กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพ

1. ทบทวนอุบัติการณ์ Birth asphyxia  วิเคราะห์สาเหตุปี 53 ,54

 สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการคลอด Prolong 2nd stage  10 ราย คิดเป็น 45.45 % ของ Birth asphyxiaและ  14 ราย คิดเป็น 53.84 % ของ birth asphyxia ทั้งคลอดหัตถการและคลอดปกติ ตามลำดับ

2. ปรับปรุงการรายงานแพทย์ รายงานแพทย์ทันทีในรายที่พบ

 2.1 high of fundus > 35 cms

 2.2 การบันทึก partograph ถึงหรือตก action line

 2.3 เบ่งคลอดนานกว่า 30 นาทีในครรภ์หลัง และ 1 ช.ม. 30 นาที ในครรภ์แรก 

3. ปรับปรุงแนวทางการดูแลการคลอด  monitor FHS ทุกรายในห้องคลอด เพิ่มการให้ออกซิเจนแก่มารดาทุกรายขณะเบ่งคลอดเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนสู่ทารก

4.พัฒนาบุคลากรแโดยการจัดประชุมวิชาการในเรื่องที่เกี่ยวข้องเช่น การใช้เครื่อง NST และการแปลผล การดูแลมารดาระยะคลอดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด Birth asphyxia  การช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด

5.ปรับปรุงระบบงาน

  • ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติการเฝ้าระวัง ดูแลในระยะคลอดเพิ่มมาตรการในการปฏิบัติเมื่อพบความเสี่ยง กำหนดแนวทางการรายงานแพทย์
  • ทบทวนระบบการคัดกรองความเสี่ยงตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ การส่งต่อในรายเสี่ยงสูงเพื่อวางแผนการคลอดที่เหมาะสม การส่งข้อมูลในระบบส่งต่อและการดูแลระหว่างส่งต่อ

  การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง

-  วินิจฉัยภาวะ Fetal distress ได้ถูกต้องและรวดเร็ว สามารถให้การดูแลหรือส่งต่อในระยะเวลาที่เหมาะสม

-  มีอัตราการ Refer มารดาที่มีความเสี่ยงต่อภาวะ Birth asphyxia  สูงขึ้น อัตราการเกิด Birth asphyxia ปี 2555 ลดลงเหลือ 16.54 :1000 การเกิดมีชีพ ปี 56 (ต.ค.55 - ม.ค. 56) = 21.46 : 1,000 การเกิดมีชีพ

บทเรียนที่ได้รับ/ปัญหาอุปสรรค

·  ทีมไม่ปฏิบัติตาม CPG ได้ครบถ้วนตามแนวทางที่กำหนด

·  จากการทบทวนอุบัติการณ์ ปี 2555 พบ มีทารกฺ Birth asphyxia 13 ราย เสียชีวิตจาก birth asphyxia 1 ราย เกิดในรายคลอดปกติทางช่องคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นร่วมด้วยได้แก่ meconium stained AF 3 ราย , ติดไหล่ 3ราย , prolonged 2nd stage 1 ราย และ preterm baby 1ราย รวม 8 ราย , คลอดท่าก้น 3 ราย เนื่องจากการเข้าถึงบริการล่าช้า V/E prolonged 2nd stage 1 ราย และ prolonged 2nd stage ร่วมกับmeconium stained AF 1 ราย รวม 2 ราย

·  ทารก birth asphyxia ส่วนใหญ่ยังเกิดในรายที่คลอดปกติทางช่องคลอด และยังพบ severe Birth asphyxia 3 ราย คิดเป็น 23.08% ของ Birth asphyxia ซึ่งเป็นอัตราสูงขึ้นกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมา

   แผนที่จะพัฒนาต่อเนื่อง คือ ลดอุบัติการณ์การเกิด Birth asphyxia ในการคลอดปกติ จัดให้มีระบบ fast tract high risk pregnancy และ พัฒนาศักยภาพทีม NCPR อย่างต่อเนื่อง

  การติดต่อทีมงาน : กรมรี แพงดี งานห้องคลอด โรงพยาบาลศรีสงคราม  042- 599230 ต่อ 101 , [email protected]


คำสำคัญ (Tags): #birth asphyxia
หมายเลขบันทึก: 520116เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2013 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2013 11:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท