จารีตนาฏศิลป์ กับเพลงหน้าพาทย์


จารีต ความเชื่อ  นาฏศิลป์ไทยกับเพลงหน้าพาทย์

          ความพิเศษทางนาฏศิลป์ไทยโขนละครนั้น  นอกจากจะเป็นนาฏศิลปแล้วยังเป็นลัทธิอีกอย่างหนึ่งด้วย   คือ  เป็นลัทธิที่มีพีธีกรรมเป็นของตนเอง  โดยเหตุที่นาฏศิลปไทยมีความผูกพันใกล้ชิดกับศาสนาฮินดูตั้งแต่แรกเริ่ม  ทางจารีตของโขนละครไทยจะหนักไปทางไสยศาสตร์หรือศาสนาฮินดู  เทพเจ้าอันเป็นที่นับถือทางโขนละคร  คือ  พระเป็นของศาสนาฮินดู  อันได้แก่  พระอิศวร  พระนารายณ์  พระพรหม  และพระพิฆเนศวร  นอกจากนั้นยังมีเทพเจ้าอีกองค์หนึ่ง  เช่น  พระประโคนธรรพ์ซึ่งมีสิ่งที่เคารพแสดงออกด้วยหัวโขนได้แก่  พระภรตฤษี  ซึ่งเป็นศีรษะฤษีหน้าทอง  พระฤษีนารอด  ซึ่งเป็นศีรษะฤษีกระดาษเขียนสี  พระพิราพซึ่งเป็นหัวโขนยักษ์  พระรามพระลักษมณ์ซึ่งเป็นหัวโขน  เทริด  โนราและรัดเกล้า  อันเป็นศิลราภรณ์ของนางกษัตริย์   ในละคร  หัวโขนอื่นๆที่ใช้ในการแสดงถือเป็นสิ่งที่ควรเคารพทั่งสิ้น หากจะจับต้องต้องทำด้วยความเคารพ


                                              รูปศีรษะครู

หมายเลขบันทึก: 519973เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท