ชนชาติเเห่งวัฒธรรม


ชนชาติแห่งวัฒนธรรม

          ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ระหว่างวัฒนธรรมของจีนและวัฒนธรรมของอินเดีย คนไทยยอมรับวัฒนธรรมทั้งสอง กล่าวคือ  วัฒนธรรมของศาสนาพุทธ  และวัฒนธรรมศาสนาฮินดูเป็นส่วนมาก วัฒนธรรมอินเดียแบ่งได้เป็นวัฒนธรรมพุทธและวัฒนธรรมฮินดู จนบัดนี้มักแยกกันไม่ออก เช่น การเชื่อเรื่องสวรรค์ พระอินทร์ พระนารายณ์ พระอิศวร พระคเณศ วัฒนธรรมของศาสนาพุทธและวัฒนธรรมของศาสนาฮินดูต่างกันตรงที่ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอนอย่างเดียวแต่ขาดพิธีกรรม ส่วนศาสนาฮินดูจะหนักไปทางพิธีกรรมมากกว่าการสั่งสอน เมื่อมารวมกันเป็นวัฒนธรรมไทยแล้ว วัฒนธรรมจะเต็มบริบูรณ์ไม่ขาดไม่เกิน

          วัฒนธรรมฮินดูมีความสำคัญกับคนไทย การสมมติเทพเช่นเดียวกับศาสนาพุทธในเรื่องพิธีกรรม และความเชื่อในเรื่องเทพ ศาสนาฮินดูมีพิธีกรรมศักดิ์น่าเชื่อถือในการประกอบพิธีกรรมสำคัญต่างๆ ผู้ประพิธีจะเป็นพราหมณ์ในศาสนาฮินดู เช่น พิธีไหว้ครูทางนาฏศิลป์ไทยและดุริยางไทย ผู้ประกอบพิธีเชิญเทพต่างๆ การสมมติเป็นพราหมณ์ การนับถือเทพเจ้า การบูชาเครื่องสังเวย

          ทางนาฏศิลป์และดุริยางค์ไทย เพลงหน้าพาทย์ก็ถูกดึงมาใช้ในพิธีไหว้ครู โดยใช้ในการอัญเชิญเทพ การร่ายรำประกอบกิริยา การใช้ประกอบพิธีกรรม การประกอบการแสดงและอื่นๆอีกมากมาย 

             พระคเณศ



  

หมายเลขบันทึก: 519972เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท