วิจัยหน้าเดียว


สอนยากสอนเย็น

 ชื่อเรื่อง :  การฝึกการคิดเลขของนักเรียน ม.1

เกริ่นนำ   :  จากการสอนเรื่องระบบจำนวนเต็มในภาคเรียนที่ 1 ที่ผ่านมา จากการสังเกตและตรวจผลงานนักเรียน พบกับนักเรียนปัญหาจำนวน 50 คน คือ นักเรียนขาดทักษะในการบวก ลบ คูณ และหารจำนวนเต็ม     ก็มีความคิดที่ว่าจะทำให้นักเรียนมีทักษะในการบวก ลบ คูณ หารได้อย่างไร จึงได้คิดวิธีการพัฒนาทักษะในการคิดเลขของนักเรียนขึ้นมา         

เทคนิควิธีปฏิบัติ

     1. สร้างแบบฝึกคิดเลขเรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม จำนวน 100 ข้อ

      2. ให้นักเรียนฝึกทำแบบฝึกเรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็มในช่วง 10 นาทีสุดท้ายก่อนเลิกเรียน เป็นเวลา 1 เดือน

       3.กำหนดประเด็นการสังเกตุและสร้างแบบสังเกต แบบทดสอบการคิดเลข โดยกำหนดเกณฑ์

       4. สังเกตพัฒนาการที่เกิดขึ้นและบันทึกไว้

       5. ทดสอบนักเรียนด้วยแบบทดสอบการบวก และ ลบจำนวนเต็ม

       6. สรุปผลการฝึกหัดนักเรียน โดยดูจากคะแนนสอบและเปรียบเทียบกับเกณฑ์

 การสรุปผล นักเรียนจำนวน  30 คนมีพัฒนาการในการคิดเลขดีขึ้น  จำนวน 12 คน อยู่ในเกณฑ์พอใช้  อีก 8 คน ไม่มีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเลย   ซึ่งนักเรียนทั้ง 8 คนนี้ ต้องหาวิธีการอื่นแก้ไขต่อไป

 หมายเหตุ นักเรียนที่ไม่มีทักษะคณิตศาสตร์ พยายามสอนอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น  หรือตอนที่สอนนักเรียนก็พอจะทำได้ แต่เวลาผ่านไประยะหนึ่งหรือแค่ข้ามคืน นักเรียนก็ทำไม่ได้อีก  ...ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเด็กสมัยนี้ ...ครูก็ต้องหาวิธีการสอนต่อไป ...พยายาม

 

 วันที่นำส่งข้อมูล  :  26  กันยายน 2549

ผู้นำส่งความรู้      :  นางศรุตา  เฉลิมผลวงศ์กุล

9. หน่วยงาน            :   โรงเรียนห้องสอนศึกษา

10.โทรศัพท์            :   053 - 612079

11. E-mail   :  [email protected]

หมายเลขบันทึก: 51956เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2006 16:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 04:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
อาจจะเป็นที่สิ่งแวดล้อมสถานการณ์ปัจจุบันก็ได้นะครับ คุณครูเพราะส่วนใหญ่ฝึกให้เด็กทำตามแบบแต่ไม่ได้ฝีกให้เป็นต้นแบบ หรือลอกเลียนแบบครับ
  1. สร้างแบบฝึกคิดเลขเรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็ม จำนวน 100 ข้อ

      2. ให้นักเรียนฝึกทำแบบฝึกเรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็มในช่วง 10 นาทีสุดท้ายก่อนเลิกเรียน เป็นเวลา 1 เดือน

       3.กำหนดประเด็นการสังเกตุและสร้างแบบสังเกต แบบทดสอบการคิดเลข โดยกำหนดเกณฑ์

       4. สังเกตพัฒนาการที่เกิดขึ้นและบันทึกไว้

       5. ทดสอบนักเรียนด้วยแบบทดสอบการบวก และ ลบจำนวนเต็ม

       6. สรุปผลการฝึกหัดนักเรียน โดยดูจากคะแนนสอบและเปรียบเทียบกับเกณฑ์

 การสรุปผล นักเรียนจำนวน  30 คนมีพัฒนาการในการคิดเลขดีขึ้น  จำนวน 12 คน อยู่ในเกณฑ์พอใช้  อีก 8 คน ไม่มีพัฒนาการก้าวหน้าขึ้นเลย   ซึ่งนักเรียนทั้ง 8 คนนี้ ต้องหาวิธีการอื่นแก้ไขต่อไป

จากการวิจัยของครูศรุตาข้อ3ครูกำหนดประเด็นสังเกตุอะไรบ้าง แบบสังเกตุรูปร่างลักษณะใด

ดีมากทำให้มีความรู้มากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท