บูรณาการเชิงนโยบาย เรื่องสุขภาพของพลเมือง และการจราจร ในกรุงเทพมหานคร(2)


ด้วยต่อเนื่องจากบทความนี้ในตอนที่แล้ว ผมได้เล่าถึงว่าผมได้ไปยืดเส้นยืดสายที่สวนรถไฟ และพาลให้นึกถึงเรื่องของสุขภาพ และการจราจรของพวกเรา ชาวกรุงเทพฯ นั้น

ผมได้ตั้งคำถามไว้ว่า พวกเราคิดอย่างไร พวกเราจะแก้อย่างไร ... ? 

ในแนวคิดของผม ผมสนใจประมาณนี้ ตามที่จะเล่าให้ฟังครับ ...

เรื่องนโยบายรถคันแรก หรือเรื่องอะไรก็แล้วแต่ที่พวกเราคิดว่ามันเป็นปัญหาหนึ่ง ที่ทำให้รถติด เราคงย้อนเวลากับไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะฉะนั้นผมมองว่าอนาคต เราควรจัดเส้นทางการจราจรแบบไหน คงจะเป็นสิ่งที่มีโอกาสทำได้มากกว่า ... ส่วนเรื่องสุขภาพของพวกเรา ผมสนใจในเรื่องของการเดิน การปั่นจักรยาน เพราะทำให้สุขภาพดี เป็นการออกกำลังกายที่ทำให้เลือดสูบฉีดดี รวมถึงลดมลพิษจากรถยนต์ ส่งผลให้สุขภาพเราดีขึ้นในทางอ้อม 

ผมอยากให้พวกเราไปดูแนวทางของมหาวิทยาลัยมหิดล(ศาลายา)ครับ นโยบายของที่มหาวิทยาลัยนี้ในเรื่องการจราจร เราจะเห็นชัดว่าถนนสำหรับรถยนต์ และถนนสำหรับคนเดิน มีขนาดที่พอกัน(หรือสำหรับคนเดินอาจจะใหญ่กว่าด้วยซ้ำ) มีทางที่ชัดเจนเป็นสีฟ้าสำหรับคนปั่นจักรยาน ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเป้าหมายที่ดีสำหรับการ “เปลี่ยน” ระบบจราจรในกรุงเทพมหานครครับ โดยที่ผมมองเป็น “เป้าหมายสุดท้าย” นะครับ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเปลี่ยนเดี๋ยวนี้ ตอนนี้ ปัจจุบันนี้ 

ที่ผมตั้งหัวข้อว่าเป็นการบูรณาการกัน ก็เพราะผมเห็นว่านโยบายสองเรื่องนี้สามารถเป็นประโยชน์ต่อกันและกันได้ครับ เป็นเสมือนได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย(Win-Win situation) 

หากเราพยายามจัดการทางเท้าให้เข้าสู่ระบบตามกฎหมาย ให้พลเมืองหรือพวกเรามีที่ทางสำหรับเดิน มีการจัดช่องทางสำหรับจักรยานบนถนนให้ชัดเจน โดยอาจจะใช้สีฟ้า สีเขียว เพื่อบ่งบอกช่องทางของจักรยาน ผมคิดว่าจะเป็นการส่งเสริมนโยบายในด้านสุขภาพที่ชัดเจน และก็คาบเกี่ยวไปถึงนโยบายด้านจราจร ที่เน้นให้คนใช้ “เท้าส่วนตัว” หรือ “จักรยานส่วนตัว” มากขึ้น ผมเชื่อว่าคนกรุงเทพฯ ไม่ยี่หระต่อความร้อนมากครับ เพราะพวกเราอยู่กับความร้อนมานาน แต่ที่คนกรุงเทพฯเดินน้อย เพราะช่องทางการเดิน “มันไม่มี” เดินแล้วมันเบียดเสียด แขนชนกันไปชนกันมา เดินผ่านควันจากหมูย่าง .... โอยย.. สุดจะเคลียร์ครับ จะปั่นจักรยาน ก็เหมือนไปขอถนนเขาปั่น รู้สึกเกรงใจรถยนต์ที่ขับไปมา เพราะคนปั่นจักรยานไม่มีเลนของตัวเอง ... มันผิดรูปแบบไปหมดสำหรับกรณีเราอยากให้การจราจร และสุขภาพโดยรวมของพลเมืองกรุงเทพฯดีขึ้น

มันจึงเป็นการ บูรณาการเชิงนโยบาย ในเรื่องการจราจร และสุขภาพ ... ตามที่ประมวลได้ครับ


หมายเลขบันทึก: 519349เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2013 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2013 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท