คุณภาพศิษย์ : เป้าหมายของการประเมินและภาพสะท้อนคุณภาพครู


  ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามนี้ได้เน้นเป้าหมายไปยังผลของการจัดการศึกษาคือคุณภาพผู้เรียนหรือผู้รับบริการให้มีคุณลักษณะประจักษ์ชัดว่ามีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ มีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นทำเป็นและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี

  แต่อย่างไรก็ตามการที่จะเกิดผู้เรียนที่มีคุณภาพได้ ปัจจัยที่สำคัญก็คือครูที่มีคุณภาพหรือครูที่เก่ง สอนดีและเอาใจใส่ต่อการดูแลศิษย์นั่นเอง ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรครูจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นหลักประกันได้ว่าจะเกิดลูกศิษย์ที่คุณภาพดีได้

  คุณภาพของครูหรือครูที่ดีมีข้อเสนอแนะไว้อย่างมากมาย เป็นต้นว่าลักษณะของครูดีตามคำสอนในพุทธศาสนา หลักคำสอนหรือหลักธรรมในพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับความเป็นครู ประกอบด้วยหลักธรรม 7 ประการ

1. ปิโย เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เพราะครูทำให้ตน ให้เป็นที่รักของศิษย์

2. ครุ เป็นที่เคารพเพราะมีความหนักแน่น น่าเคารพยำเกรง

3. ภาวนีโยเป็นที่สรรเสริญ เพราะฝึกฝนอบรมตน ให้เจริญด้วยความรู้และความเชี่ยวชาญ

4. วัตตา เป็นผู้ว่ากล่าวมีความเพียรพร่ำสอน พร่ำเตือนศิษย์

5. วจนักขโมเป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ แม้จะถูกกระทบกระทั่ง เสียดสี ลองภูมิ

6. คัมภรังกถังกัตตา เป็นผู้กล่าวถ้อยคำอันลึกซึ้งสอนให้เข้าใจได้แจ่มแจ้ง และลุ่มลึก

7. โนจัฏฐาเน นิโยชเยพึงนำไปในฐานะที่ดี ในตำแหน่งที่ดี ไม่ชักชวนในฐานะอันไม่ควร ไม่ชักนำศิษย์ไปในทางเสื่อมเสีย

            แต่ในแง่คำแนะนำที่เกี่ยวกับคุณภาพของครูในด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมี
๘ ข้อ(ตัวบ่งชี้ที่ ๖.๒)ที่เน้นการปฏิบัติงานของครู ประกอบด้วย

๑. ครูต้องกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนด้านความรู้
ทักษะกระบวนการที่เป็นความคิดรวบยอด หลักการและความสัมพันธ์
รวมถึงลักษณะอันพึงประสงค์

๒. ครูต้องศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลแล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน

๓. ครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมองเพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย(ครูต้องออกแบบการเรียนรู้เป็น..อิอิ)

๔. ครูต้องจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้

๕. ครูต้องจัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรมนำภูมิปัญญาท้องถิ่น
เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน(ครูต้องใช้เทคโนโลยี ICT เป็น...อิอิ)

๖. ครูต้องรู้จักประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของผู้เรียน
รวมทั้งการวางเงื่อนไขให้ผู้เรียนประเมินความก้าวหน้าของตนเองและนำมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาตนเอง

๗. ครูต้องวิเคราะห์ผลการประเมินและนำมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน
รวมทั้งปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน

๘. ครูต้องศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าโดยอิสระ
มีข้อมูลให้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองฯ (ครูต้องวิจัยในชั้นเรียนได้..อิอิ)


          ผมก็นำมาเล่าและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ...เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองและไม่ให้มี”แม่ปูสอนลูกปูให้เดินตรงทาง” และผมมีความคิดว่า”สอนคนอื่นอย่างไร ต้องทำให้ได้ดังนั้น”หรือ”ทำตนเองให้ได้ก่อน แล้วจึงค่อยสอนผู้อื่นภายหลัง”(ผมสอนตนเองครับเพราะผมเป็นครูของตนเอง ...อิอิ
)

ปล.เคยเขียนเรื่อง คู่มือครู ครูดีฯ ไว้ที่  http://www.gotoknow.org/posts/420823


คำสำคัญ (Tags): #คุณภาพครู กศน.
หมายเลขบันทึก: 518907เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2013 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2013 08:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)


                                                                        พระราชดำรัส

 

                    ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง  หันไปห่วงอำนาจ  ห่วงตำแหน่ง  ห่วงสิทธิ์  และห่วงรายได้กันมากเข้าๆแล้ว  จะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้  ความดี  ความเจริญของเด็ก  ความห่วงในสิ่งเหล่านั้น  ก็จะค่อยๆบั่นทอนทำลายความเป็นครูไปจนหมดสิ้น  จะไม่มีอะไรดีเหลือไว้พอที่ตัวเองจะภาคภูมิใจ  หรือผูกใจใครไว้ได้  ความเป็นครูก็จะไม่มีค่าเหลืออยู่  ให้เป็นที่เคารพบูชาอีกต่อไป

 

พระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสเข้าเฝ้าณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน วันเสาร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๑

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท