คำถามเกี่ยวกับคุณอำนวย


บทสัมภาษณ์ผ่านเมล์


คำถามเกี่ยวกับ คุณอำนวย

1.       อาจารย์คิดว่าคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของคุณอำนวยควรประกอบด้วยอะไรบ้าง

                         อันดับแรกเลยคือ "ใจ" มีใจที่ปรารถนาในการเกื้อกูลผู้คน มีความเห็นที่ถูกที่ดีและที่ชอบต่อการเป็นคุณอำนวย (สัมมาทิฐิ) เพราะการทำหน้าที่ของการเป็นคุณอำนวยนั้นเป็นภาระกิจที่ต้องอาศัยพลังแห่งใจอย่างมากในการขับและดันให้ทำภารกิจต่างๆ มีเรื่องที่ทำให้เรียนรู้มากมายทั้งเรื่องที่เป็นพลังด้านลบและด้านบวก "ใจ"จึงเป็นเรื่องสำคัญและน่าจะเป็นคุณสมบัติข้อต้นๆ ของการเป็นคุณอำนวย
                        บทบาทของการเป็นคุณอำนวยนั้นเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ บุคคลที่จะเป็นคุณอำนวยนั้นจะต้องมีลักษณะของการเป็นนักเรียนรู้  ใช้หัวใจเป็นตัวนำเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ด้วยความอดทนและนอบน้อม ไม่ยึดตนเองเป็นที่ตั้ง แต่เปิดใจรับสิ่งต่างๆ เข้ามาใคร่ครวญและใช้ประโยชน์หรือหาคุณค่าจากสิ่งที่เข้ามาให้ได้เรียนรู้ การทำหน้าที่ของการเป็นคุณอำนวยต้องมีฉันทะ หรือความยินดีในสิ่งที่เราทำหรือภารกิจที่เราได้เข้าไปสัมพันธ์ด้วยหัวใจแห่งความนอบน้อมและอ่อนโยน อดทนและเมตตา ทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ  เอื้ออำนวยสนับสนุนผู้คนให้ได้เกิดการเรียนรู้อย่างมากที่สุดตามศักยภาพที่มี มีจิตจดจ่อต่อสิ่งที่เราทำหรือสัมพันธ์นั้น ไม่รวนเรหรือสั่นคลอน ความมั่นคงทางจิตใจคือการที่คุณอำนวยได้เกืดการบ่มเพาะตนเองให้มีเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ มีความเพียรหรือวิริยะต่อการทำหน้าที่หรือรักษาหน้าที่ในการทำสิ่งนั้นๆ และมักจะเป็นสิ่งที่ไม่ได้มีผู้ใดมอบหมาย หากแต่มีใจในการนำเพื่อทำภารกิจนั้นๆ ความไม่ย่อท้อต่อการอำนวยสนับสนุนผู้คนให้ได้ทำตามเต็มศักยภาพในแต่ละบุคคลที่มี  และที่สุดของความเป็นคุณอำนวยก็คือ เมื่อได้ทำหน้าที่และบทบาทอย่างเต็มที่แล้วก็ต้องวางลงได้จากใจและฝึกฝนการทำด้วยความปราศจากความคาดหวัง  เมื่อใดก็ตามหากคุณอำนวยได้ทำอย่างเต็มที่แล้วผลลัพธ์ที่ออกมานั่นก็สืบเนื่องมาจากความเต็มที่แล้วก็จะได้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องการวางลงได้

2.       กรุณายกตัวอย่างความสำเร็จที่อาจารย์ภูมิใจในการช่วยเหลือทีมนักวิจัย

                       
                             การเกืดการเรียนรู้การทำวิจัยอย่างมีความสุขและสนุกต่อการเรียน พอเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนรู้ทีมนักวิจัยสามารถสานต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองได้โดยมองปัญหาหน้างานและเกิดทักษะของการเป็นนักวิจัย ทีมนักวิจัยในพื้นที่สามารถยืนด้วยตนเองได้ โดยบทบาทของคุณอำนวยที่อาจารย์เป็นคือ นำพาในเรื่องวิธีคิด เมื่อเขาคิดได้คิดเป็นเขาก็สามารถดำเนินต่อได้  คล้ายกับการฝึกหัดให้เด็กหัดเดิน เพียงแค่อำนวยเกื้อกูลให้เขาเดินเป็นเชื่อมั่นว่าเขาทำได้ ที่เหลือเราก็ปล่อยให้เขาลงมือทำและปฏิบัตืด้วยตนเอง เราเพียงเฝ้ามองดูห่างๆ อย่างวางใจ กรณีตัวอย่างที่มองเห็นเป็นรูปธรรมอย่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ก็กรณีศึกษา โรงพยาบาลป่าติ้ว ปัจจัยหลายๆ อย่างเกื้อหนุนกันและที่สำคัญมีคุณอำนวยในพื้นที่อย่างพี่โอ-คุณสมหญิง อุ้มบุญ หรือพี่คำผิว ตลอดจนคุณเอื้ออย่างพี่แก้วที่ต่างมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของ R2R หลังจากที่อาจารย์ไปทำกระบวนการในช่วงแรกๆ และค่อยๆ ถอนตัวเองออกมาจากพื้นที่ แล้วคุณอำนวยในพื้นที่ดำเนินการต่อ ความสำเร็จและความต่อเนื่องจึงเกิดขึ้นเป็นความประจักษ์แจ้งอย่างที่เห็นทุกวันนี้ 
...
๕ กุมภาพันธ์ พศ.๒๕๕๖


คำสำคัญ (Tags): #ha#km#r2r#คุณอำนวย
หมายเลขบันทึก: 518510เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2013 12:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท