การพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา


บทนำ

ภูมิหลัง

 

  พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 42  กำหนดให้ ก.ค.ศ. จัดทำมาตรฐานตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไว้เป็นบรรทัดฐานทุกตำแหน่ง ทุกวิทยฐานะ เพื่อใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้โดยคำนึงมาตรฐานวิชาชีพ คุณวุฒิการศึกษา การอบรม ประสบการณ์ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน หรือผลงานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยในการจัดทำมาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้จำแนกตำแหน่งเป็นประเภทและสายงานตามลักษณะงาน โดยแสดงชื่อตำแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่ง ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งนั้น

  ผู้บริหารสถานศึกษา ถือเป็นบุคคลสำคัญที่จะขับเคลื่อนการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาชาติ และมีคุณภาพ เป็นที่พอใจของผู้รับบริการ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการศึกษา ดังนั้น ความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพของการบริหารงาน อันจะส่งผลให้การจัดการศึกษามีคุณภาพต่อไป การปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งจึงน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้การบริหารการจัดการศึกษาในระดับสถานศึกษาประสบความสำเร็จ บรรลุเป้าหมายของการศึกษาที่วางไว้ 

  ดังนั้น ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ในจังหวัดสตูล จึงเห็นความสำคัญในการปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง หรือการพัฒนาตนเองของผู้บริหารตามมาตรฐานตำแหน่งที่กำหนด จึงสนใจที่จะศึกษาการพัฒนาตนเองเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 

  การวิจัยเรื่อง การพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย ไว้ 2 ข้อ ดังนี้

  1.  เพื่อศึกษาการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล

  2.  เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล จำแนกตามตัวแปรประสบการณ์ในการทำงาน  เพศ

ความสำคัญของการวิจัย

  การวิจัยเรื่อง การพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล  มีความสำคัญและประโยชน์ ดังนี้

  1.  ทำให้ทราบการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล  ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผน พัฒนาผู้บริหารให้มีคุณภาพ และส่งเสริมให้มีการพัฒนาตนเองตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิชาชีพต่อไป

  2.  ทำให้ทราบถึงความแตกต่างของการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล ที่มีเพศ และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริม พัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับสถานภาพ ทั้งที่มีเพศหญิงและชาย ตลอดจนประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างกัน

ขอบเขตของการวิจัย

  สำหรับการวิจัยเรื่องนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัย ไว้  3  ด้าน  ได้แก่ ขอบเขตด้านเนื้อหา ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่ศึกษา ดังนี้

1.  ขอบเขตด้านเนื้อหา

    ขอบเขตด้านเนื้อหาของการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัย มุ่งศึกษาการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล  ในขอบข่ายตามมาตรฐานตำแหน่ง  3   ด้าน คือ

1.1  หน้าที่และความรับผิดชอบ

1.2  ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

1.3  คุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง

  2.  ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

  2.1  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล  จำนวน................. คน

  2.2  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล  ปีการศึกษา 2549  ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie and Morgan,1970 : 608) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน…………………คน  และทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก (Lottery Method)

  3.  ตัวแปรที่ศึกษา  ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2  ประเภท คือ

       3.1  ตัวแปรอิสระ  (Independent Variable) ได้แก่

    3.1.1  ประสบการณ์ในการทำงาน ได้แก่ 

    3.1.2.1  ต่ำกว่า 5 ปี

    3.1.2.2  5 – 10 ปี

    3.1.2.3  สูงกว่า 10 ปี

  3.1.2  เพศ  ได้แก่  ชาย  และ หญิง

  3.2  ตัวแปรตาม (Dependent Variable)  คือ การพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล ในขอบข่ายตามมาตรฐานตำแหน่ง  3   ด้าน คือ  หน้าที่และความรับผิดชอบ  ลักษณะงานที่ปฏิบัติ  คุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง

   

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งเป็น  2  ตอน  ดังนี้

  ตอนที่ 1  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ  (cheek-list) เพื่อทราบสถานภาพเกี่ยวกับ  ประสบการณ์ในการทำงาน และเพศ

  ตอนที่ 2  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล  ประกอบด้วยคำถาม .........ข้อ  มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า  (rating  scale)ตามแบบลิเคิร์ต  (Likert)  มี  5  ระดับ 

การวิเคราะห์ข้อมูล

  ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม  SPSS for windows Version 11.5  (Statistical package for the social sciences for windows)  ดังนี้

1.  แบบสอบถามตอนที่ 1  วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบ

แบบสอบถาม โดยหาค่าความถี่ (frequency) และร้อยละ  (percentage)

  2.  แบบสอบถามตอนที่ 2  ตรวจให้คะแนนโดยกำหนดคะแนนเป็นมาตราส่วนประมาณค่า  (rating  scale)  ตามแนวคิดของลิเคิร์ท  (Likert : 1976) แสดงระดับการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล ซึ่งกำหนดให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นแต่ละข้อคำถามในระดับใดระดับหนึ่งเพียงระดับเดียวคือ  มากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  และน้อยที่สุด

  3.  คำนวณหาค่าคะแนนเฉลี่ย (`X  ) ของระดับการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล แล้วนำมาวิเคราะห์เป็นรายด้านโดยนำมาเทียบกับเกณฑ์สัมบูรณ์ในการประเมินค่าเฉลี่ยตามแนวคิดของเบสต์ 

4.  หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อทราบความกระจายของข้อมูลเป็นรายองค์

ประกอบ

5.  ทดสอบค่าที (t – test) และเอฟ (F-test)  ในการทดสอบสมมติฐาน  เพื่อ

เปรียบเทียบระดับการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล ตามตัวแปร  ประสบการณ์ในการทำงาน  และเพศ

นิยามศัพท์เฉพาะ  

  เพื่อให้เข้าใจความหมายเฉพาะของคำที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ตรงกัน จึงนิยามศัพท์เฉพาะของคำต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ศึกษา ไว้ ดังนี้

  1.  การพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ  หมายถึง  การปฏิบัติตนของผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็นไปตามแนวทางการที่กำหนดตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพในส่วนของมาตรฐานตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยมาตรฐานตำแหน่งที่ออกตามความในมาตรา 42  แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

  2.  ประสบการณ์ในการทำงาน  หมายถึง เวลาในการเป็นผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล  รวมทั้งประสบการณ์การเป็นผู้บริหารโรงเรียนอื่นด้วย

 

กรอบแนวคิดในการวิจัย ( Conceptual Framework)

[img width="544" height="324" src="file:///C:/Users/user/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image001.gif" v:shapes="_x0000_s1026 _x0000_s1027 _x0000_s1028 _x0000_s1029 _x0000_s1030">


คำสำคัญ (Tags): #education
หมายเลขบันทึก: 518294เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2013 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2013 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท