สุชาติ
อาจารย์ สุชาติ สุชาติ สุขราช

ตัวชี้วัดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ


1 ขยัน หมายถึง ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อดทน ไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหา จนเกิดผลงานสำเร็จตามความมุ่งหมาย

  ตัวชี้วัด ผู้ที่มีความขยัน คือ

1.1  ผู้ที่ตั้งใจทำงานเต็มความสามารถ อย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกต้อง

1.2  ผู้ที่เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรคและพยายามแก้ไขเพื่อให้งานสำเร็จ

1.3  รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง ไม่ทิ้งงาน

1.4  ผู้มีพฤติกรรมเอาใจใส่ต่องานที่ได้รับมอบหมาย การลงมือทำงานทันทีที่ได้รับมอบหมายโดยไม่ต้องให้ผู้อื่นมาบังคับ

1.5  เมื่อมีเวลาว่างก็มักใช้ไปในการทบทวนฝึกฝนสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น

2.ประหยัด หมายถึง การรู้จักเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควรพอประมาณ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ

ตัวชี้วัดผู้ที่มีความประหยัด คือ

2.1 ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย

2.2 รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ

2.3 รู้จักการเก็บออม

2.4 รู้จักการถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของอย่างคุ้มค่า

 3 ซื่อสัตย์ หมายถึง ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ

  ตัวชี้วัด ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ

3.1 ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา

3.2ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม

3.3 รู้หน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง

3.4 ไม่นำของผู้อื่นมาเป็นของตน

4 มีวินัย หมายถึง การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติซึ่งมีทั้งวินัยในตนเอง และวินัยต่อสังคม

ตัวชี้วัดผู้ที่มีวินัย คือ

4.1 ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา ครอบครัวสังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ

4.2 มีความตั้งใจในการปฏิบัติที่ถูกต้องตามวินัยในสังคม เช่นการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบ เข้าแถวรับบริการตามลำดับ

4.3ประพฤติตนตามแบบแผนระเบียบข้อบังคับและข้อปฏิบัติที่ถูกต้องดีงามอย่างสม่ำเสมอด้วยตนเอง ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่นโดยไม่หวั่นไหวตามสิ่งยั่วยุภายนอกหรือความต้องการอื่นที่จะมาเบี่ยงเบนแบบแผนพฤติกรรมของ

 

 5 สุภาพ หมายถึง เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อมมีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะตัวชี้วัด ผู้ที่มีความสุภาพ คือ

5.1 ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ 

5.2ผู้ที่ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจา และท่าทาง

5.3 มีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น

6 สะอาด หมายถึง ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อมตัวชี้วัด ผู้ที่มีความสะอาด คือ

6.1 สะอาดกาย ผู้ที่รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ

6.2 สะอาดใจ ผู้ที่คิดดีต่อผู้อื่น ไม่มุ่งร้าย ไม่อิจฉาริษยา ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัวจึงมีความแจ่มใสอยู่เสมอ

7 สามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามที่ต้องการ เกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผลยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ

 ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์

ตัวชี้วัด ผู้ที่มีความสามัคคี คือ

 7.1 ผู้ที่เปิดใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลรักช่วยเหลือเกื้อกูล เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน

7.2 ผู้ที่รู้บทบาทของตน ทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี

7.3 มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน เพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง

7.4 เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ

7.5 เป็นผู้ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และไม่สร้างความแตกแยก

8 มีน้ำใจ หมายถึง ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเองแต่เห็นอกเห็นใจ เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น

และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน

ตัวชี้วัดผู้ที่มีน้ำใจ คือ

8.1 เป็นผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือผู้อื่นเสมอ

8.2 รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์ส่วนรวม

8.3 เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกายสติปัญญา

8.4 ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นโดยไม่หวังผลตอบแทน


คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 518199เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท