การนำ Knowledge Management มาใช้ในองค์กร


การประยุกต์ใช้ Knowledge Management  ในองค์กร

การประยุกต์ใช้ Knowledge Management  ในองค์กร  หมายถึง การสร้างบทความ การเขียนปัญหาที่เกิดจากการทำงาน การนำเสนอความรู้ และทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน  เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นถูกเผยแพร่ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับบุคคลอื่น ๆ ภายในองค์กรได้

โดยกระบวนการทำงานดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

1.  ผู้ใช้งาน  ( User Type)

2.  ผู้มีสิทธิ์ในการจัดการข้อมูล (Role)

3.  ลักษณะการทำงาน (Process )


ผู้ใช้งาน  ( User Type)  จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

1. PTT  : เนื้อหาหรือบทความ สามารถถูกอ่านจากพนักงานทุกคนที่อยู่ในสังกัด PTT จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ 
( ไม่ว่าจะเป็น บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
 บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทอื่นๆ ในเครือ )

2.PTT-ICT : เนื้อหาหรือบทความสามารถถูกอ่านจากพนักงานที่อยู่ในสังกัด PTT-ICT เท่านั้น  ( พนักงานที่สังกัด PTT-ICT มีอยู่ในทุกๆ บริษัทลูกของเครือ ปตท. ทำหน้าที่ดูแลด้าน IT และ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด )

3. Division  :  เนื้อหาหรือบทความสามารถถูกอ่านจากพนักงานภายในแผนกที่ระบุไว้เท่านั้น  เช่น HR , Accounting , Procurement  เป็นต้น


ผู้มีสิทธิ์ในการจัดการข้อมูล แบ่งออกเป็น 3 สิทธิ์ดังนี้

1.  Contributor  ทำหน้าที่สร้างบทความ แก้ไขบทความต่าง ๆ   ( แยกตามแผนกของตนเอง)

2.  Internal Editor  ตรวจสอบ Knowledge ก่อนทำการ Public คนในแผนก

3.  Supervise viewer
-   Approve Knowledge  เพื่อทำการ Public ให้คนในแผนกได้เห็น
-  ตรวจสอบและพิจารณาว่า Knowledge นั้น สามารถใช้งานหรือ Public ให้ User กลุ่มอื่นเห็นได้หรือไม่


ลักษณะการทำงาน (Process )

ลักษณะการทำงานจะเริ่มต้นที่  Contributor สร้างหรือแก้ไขบทความตามที่ตัวเองต้องการที่จะนำเสนอ จากนั้นทำการบันทึกเข้าสู่ระบบ   ลำดับต่อมา Internal Editor  จะทำการตรวจสอบ ในเรื่องของความเหมาะสม และอื่นๆ เกี่ยวกับ Knowledge นั้นก่อนทำการส่งต่อไปยัง  Supervise viewer   เพื่อ  Approve Knowledge  และทำการ Public ให้คนในแผนกได้เห็น  สถานะในขั้นตอนนี้ ยังเป็น Knowledge ที่สามารถเห็นได้เพียงคนในแผนกเดียวกัน (กับ Contributor) เท่านั้น  และในขณะเดียวกัน Supervise viewer   จะทำการพิจารณาต่อว่า  Knowledge นี้ สามารถใช้กับแผนกอื่น ๆ  หรือใช้กับทั้งองค์กรได้หรือไม่ เกิดประโยชน์กับบุคคล/พนักงาน กลุ่มใด บริษัทใด  หากเป็นความรู้ที่สามารถใช้ร่วมกันได้ ก็จะทำการ Public ต่ออีกครั้ง แต่ถ้าหากเป็นความรู้เพียงแค่ภายในแผนก ถือว่า Public เพียงครั้งเดียว


คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 518128เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท