พี่เลี้ยงน้อง



“พี่” ต้องทำหน้าที่เลี้ยงน้อง เพราะพ่อแม่ไปทำงาน..

เป็นภาพปกติของสังคมชนบททั่วๆไป สังคมใหม่ก็ต้องบอกว่าต้องสร้างสถานที่ดูแลเด็กเพื่อใช้วิชาการเข้ามาจัดการอย่างทันสมัย จะเรียก Kindergarten หรือ Nursery ก็แล้วแต่

ดูเหมือนว่าเงื่อนไขของวิถีครอบครัวในเมืองมีความจำเป็นที่ควรจะมี Kindergarten หรือ Nursery เพราะพ่อแม่ต้องทำงานนอกบ้าน พี่ๆต้องไปเรียนหนังสือ เด็กเล็กต้องถูกจัดการ นอกจาก แต่ละครอบครัวจะมีทางเลือกอื่นๆ เช่น เอายาย เอาย่ามาเลี้ยง จ้างพี่เลี้ยง หรือแม่ลาออกจากงานมาทำหน้าที่แม่เต็มตัว ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ดีที่สุด เพราะไม่ว่าจะเอาใครมาเลี้ยงดูก็ไม่ดีที่สุดเท่าแม่

คุณแม่(ยาย) ผมนั้นเดินทางไปเลี้ยงหลานมา 14 คน ลูกสาวผมเป็นคนสุดท้าย เพราะคุณแม่อายุมากแล้วไม่ไหวขอพักผ่อน และท่านก็มาเสียชีวิตที่บ้านผมนั่นเอง

พี่เลี้ยงน้องนั้น ผมคลุกคลีกับภาพเหล่านี้ เพราะพี่สาวเลี้ยงผม และผมก็เลี้ยงน้องแบบนี้ ไปไหนๆรอบๆบ้านก็อุ้มน้องไปด้วย จะเล่นอะไรกับเพื่อนๆก็มีน้องไปด้วย เล่นด้วย หิวข้าว หิวน้ำก็หามาให้กิน มันจะขี้จะเยี่ยวพี่ก็จัดการให้ มีเรื่องเล่ามากมายที่พี่มักคุยกับน้องเมื่อแก่ตัวลง น้องมักจำอะไรไม่ได้ในรายละเอียด แต่พี่จำได้ 


ผมคิดว่าภาพแบบนี้มีข้อดีมากในเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว พี่รักน้อง เพราะดูแลเขามา น้องๆก็ถูกพ่อแม่สั่งสอนว่า พี่คนนั้นเลี้ยงเองมานะ อย่าลืมบุญคุณพี่เขา เมื่อเด็กเติบโตก็ไม่ได้คิดอะไร แต่เมื่อมามีครอบครัว มีลูกมีภาระ นั่นแหละภาพความหลังมันถูกรื้อฟื้นขึ้นมา เราโหยหาการทดแทนบุญคุณพี่พี่ที่เลี้ยง ดูแลเรามา


แต่การจัดการของสังคมใหม่นั้น ไม่ว่า Kindergarten หรือ Nursery เป็นการดูแลแบบธุรกิจ ความผูกพันไม่มี หรือมีน้อยกว่า

แตกต่างไปจาก พี่เลี้ยงน้อง.... แม้ว่าพี่เลี้ยงน้องจะไม่ถูกปฏิบัติตามหลักวิชาการ แต่อยู่ภายใต้การกำกับของพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ที่มีความรักเป็นพื้นฐาน ไม่ใช่ธุรกิจ

พี่เลี้ยงน้องทำให้เรามีความผูกพัน มีสำนึก เป็นฐานของแรงเกาะเกี่ยวทางสังคม..

แต่เงื่อนไขสังคมเมืองเป็นไปได้ยาก... 



คำสำคัญ (Tags): #พี่เลี้ยงน้อง
หมายเลขบันทึก: 517951เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2013 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2013 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ พี่บางทราย

อ่านดีจัง อบอุ่นมากค่ะ

ต่างจังหวัด ยังมีภาพให้เห็นอยู่เนาะ

ที่หมู่บ้าน...ครอบครัวน้องแบ๋ม คุณยายเลี้ยงหลานหลายคน

เลิกเรียน เธอรับหน้าที่ดูแลน้อง แบ่งเบาคุณยาย ช่วงเย็นหลังเลิกเรียน และเสาร์-อาทิตย์

เธอจะพาน้อง มาพบเพื่อนๆที่บ้าน น่ารัก น่าเอ็นดูค่ะ

ตัวเล็ก นอนเปล พี่ๆ ไปโฮมกันที่หน้าจอค่ะ คุณป้านอนเปลอีกสาย อ่านหนังสือ ดูเจ้าตัวเล็กแทน :)

น้องตัวกะเปี๊ยกนะ แต่ สัญชาติญาณเจ๋งค่ะ พี่ดูตอนเขาจับแฮนจักรยาน

พอพี่สาวออกแรงปั่น หนูน้อย ก็มาจับสองแขนพี่สาวแทน น่าทึ่งอะ วันๆ ชื่นชมลูกหลาน...ชาวบ้าน

เค้าแซวกันว่า ป้าอ้อย ไม่ต้องมีลูกเอง แต่ลูกเต็มบ้านเลย ปลื้มค่ะ เปลสี่สาย ขาดไปสอง

ให้น้าเพื่อนบ้าน ทำชิงช้าไม้ให้สองชุด เดี๋ยวเขียนบันทึกมั่งดีกว่าเนาะ

ขอบคุณมากนะคะ

สังคมเปลี่ยน เงื่อนไขเปลี่ยน แต่จะให้การเปลี่ยนแปลงนั้นทิ้งสิ่งดีงามเดิมๆของเราหรืออย่างไร  แค่การพูดจาให้คนตระหนักสิ่งเหล่านี้ก็ยากเย็น แต่ก็ต้องทำนะน้องสาว

ดีครับช่วยกันเขียน ช่วยกันหยิบประเด็นเหล่านี้ออกมาบอกกล่าวสังคม สะกิดสังคมกันเถอะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท