lhin
ณัชชารีย์ ไกรวัฒนภิรมย์

การนวดเพื่อเพื่อกระตุ้นระบบประสาทการรับรู้สัมผัส และกล้ามเนื้อเอ็นข้อสำหรับเด็กออทิสติก


วันที่ 28 มกราคม 2556 ดิฉันได้มีโอกาสในการสอนผู้ปกครองในการทำการนวด 3 อย่าง ได้แก่ Deep pressure,Joint compression , Brushing  ดังนี้

Deep pressure เป็นการนวดเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย สำหรับเด็กที่มีความตื่นตัวสูง และสำหรับเด็กที่อารมณ์ไม่มั่นคง

วิธีการคือ 

ใช้มือจับแบบ firm รอบแขนตั้งแต่ช่วงต้น คือข้อไหล่ และกดนวดลูดลงมาจนถึงปลายนิ้วมือ ด้วยแรงที่สม่ำเสมอ ส่วนที่ขาให้กดลูดลงตั้งแต่ข้อสะโพก ไปจนถึงปลายนิ้วเท้า สามารถทำได้เป็นประจำ อาจใช้ครีมทาผิวที่มีกลิ่น เช่น เปเปอร์มิ้น เพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย

Brushing คือการใช้แปรง wilbarger แต่สามารถประยุกต์โดยใช้แปรงขนนุ่ม หวีขนนุ่ม ถุงมือ เป็นต้น เป็นการนวดสำหรับเด็กที่มีภาวะการหลีกหนีผิวสัมผัส

วิธีการคือ วางแนวแปรงในแนวขวางกับผิวหนัง สำหรับแปรงไม่ผ่านผ้า และวางแนวแปรงแนวเดียวกับผิวหนังสำหรับการแปรงผ่านผ้า ให้เทคนิค คือ fast และ firm ให้แปรงตั้งแต่ข้อไหล่ไปจนถึงปลายนิ้วมือ รอบๆแขน แปรงแขนทั้ง 2 ข้าง ประมาณ 3 รอบ ต่อมาให้แปรงที่หลังโดยเว้นแนวไขสั้นหลัง และแปรงจากบนลงล่าง และสุดท้ายให้แปรงที่ขาทั้ง 2 ข้าง จากข้อสะโพกไปข้อนิ้วเท้า วนรอบขา 3 รอบ 

Joint compression เป็นการให้ลำดับสุดท้าย และต้องทำเป็นประจำสำหรับเด็กที่มีพฤติกรรมการ seeking proprioceptive เช่น มีพฤติกรรมชอบตีโต๊ะ ทุบอก ตีอก เล่นมือ เล่นนิ้ว ชอบหักนิ้ว เดินเขย่งขา ชอบกัดฟัน ชอบเล่นแรงๆ 

วิธีการคือ การดันข้อต่อ ให้เริ่มตั้งแต่ข้อไหล่ไปจนถึงข้อนิ้วมือ ข้อละ 10 ครั้ง แต่หากว่าเด็กมีพฤติกรรมดังกล่าวมาก ให้ข้อละ 20 ครั้ง ข้อไหล่ทำได้โดยจัดท่าทางให้เด็กหันข้างหาตัว ใช้มือข้างหนึ่งจับบริเวณหัวไหล่ด้านหลังไว้ และนำมืออีกข้างหนึ่งจับที่แขนท่อนบน ออกแรงดันแขนเข้าหาข้อไหลในแนวฉาก(กางไหล่ 90 องศา) 10 ครั้ง ข้อศอกให้มือข้างหนึ่งจับแขนท่อนบน มืออีกข้างหนึ่งจับแขนท่อนล่าง (จับระหว่างข้อ)ออกแรงดัน 10 ครั้ง และข้อต่างๆก็เช่นกัน หลักการคือ จับเหนือข้อ และล่างต่อข้อ ออกแรงดันให้เข้าหากัน ต่อมาเป็นข้อตามขา ให้เด็กนั่ง ให้จับบริเวณด้านหลังของสะโพกและอีกมือหนึ่งจับที่ขาท่อนบน ออกแรงดัน 10 ครั้ง ในแนวฉาก ซึ่งท่าทางการนั่งเป็นแนวฉากแล้วและข้อเข่า มือข้างหนึ่งจับเหนือข้อเข่า อีกข้างหนึ่งจับขาท่อนล่าง ออกแรงดันเข้าหากัน

*หากว่าเด็กไม่ให้ความร่วมมือสามารถปรับเปลี่ยนท่าทางต่างๆได้ โดยเน้นว่าให้ดันเข้า* และดันในทิศทางที่ไม่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ อย่าดึงข้อออก เนื่องจากอาจทำให้เด็กข้อหลวม

หมายเลขบันทึก: 517689เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2013 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2013 19:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท