บทความเรื่องนวัตกรรมการเรียนรู้


นวัตกรรมการเรียนรู้สุ่เศรษฐกิจพอเพียง
                             นวัตกรรมการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง                                    ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  10  มี 5  ยุทธศาสตร์  คือ พัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทย   สู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้    การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมเป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ   การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน  การพัฒนาบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  การสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ความยั่งยืน   ถ้ามองโดยภาพรวมและสรุปแล้วก็น่าจะสรุปลงใน  2  เรื่อง ใหญ่     คือ การพัฒนาคุณภาพคนสังคมและเศรษฐกิจ  การพัฒนาคุณภาพคนและสังคม   เน้นการพัฒนาไปสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ ส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจเน้นเศรษฐกิจพอเพียง      สิ่ง ๆ หนึ่งที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนในหลายปัจจัยนั้นก็คือ นวัตกรรมซึ่งจะนำบุคคลไปสู่บุคคลแห่งการเรียนรู้ เรื่องที่เกี่ยวข้องที่จะต้องเรียนรู้กันมากที่สุดในตอนนี้นั้นก็คือเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง นวัตกรรมการเรียนรู้คืออะไร ที่นี้มาทำความเข้าใจ ว่า นวัตกรรมการเรียนรู้คืออะไรกันก่อน นวัตกรรม มาจากภาษาอังกฤษว่า   Innovation ”   ซึ่งแปลว่า  ทำขึ้นมาใหม่  คนทั่วไปมักจะเข้าใจผิดคิดว่านวัตกรรมเป็นคำที่เกี่ยวข้องเฉพาะสิ่งใหม่ ๆ  ที่เกิดขึ้น  ในวงการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในเรื่องนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงอธิบายไว้ในการแสดงปาฐกถาเรื่อง  เทคโนโลยี   นวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ    ในการประชุมประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช ) เมื่อวันที่  30  มี.ค. 2542 มีใจความตอนหนึ่งว่า                                   คนเรานั้นจะต้องมีนวัตกรรม    คือ ต้อง Innovative  หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์  ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า  ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน  ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด  พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ไม่งอมืองอเท้า   ยิ่งในภาวะวิกฤต  ยิ่งต้องการนวัตกรรม   ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น  หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม  ตั้งแต่สังคมเศรษฐกิจ  และวิถีชีวิต หรือวัฒนธรรม                 นวัตกรรมทางด้านความรู้ก็เช่นกัน   จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัยวิธีคิด  ที่ออกนอกกรอบเดิมพอสมควร   คือ จะต้องออกนอก  ร่อง    หรือช่องทางเดิม ๆ  ที่เคยชิน  เรียกได้ว่าจะต้องพลิกกระบวนทัศน์   ( Shift   paradigm )  ที่มีอยู่เดิมเกี่ยวกับการเรียนรู้เสียใหม่  จากการที่เคยเข้าใจว่า  การเรียนรู้ก็คือเพียงการศึกษาเพียงเพื่อให้รู้ไว้  มาเป็นการเรียนรู้ที่นำมาใช้พัฒนางาน  พัฒนาชีวิต   เศรษฐกิจพอเพียง คือ อะไร                   เศรษฐกิจพอเพียง  เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนเองของประชาชนในทุกระดับ  ตั้งแต่ระดับครอบครัว  ระดับชุมชน  จนถึงระดับรัฐ  ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์                  เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร  ต่อการมีผลกระทบใด ๆ  อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน  ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้  ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง     มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ  โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎี  และนักธุรกิจในทุกระดับ  ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต  และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร  มีสติปัญญาและความรอบคอบ   เพื่อให้สมดุลและพร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุสังคม  สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี   การเชื่อมโยงนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียง           การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือปรับเปลี่ยนวิธีคิดถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ   สร้างมุมมองที่เป็นองค์รวมคือมองเห็นงานเห็นปัญหา  เห็นชีวิต   ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน จะทำให้เราเข้าใจสิ่งที่ท่านอาจารย์พุทธทาสพร่ำสอนอยู่เสมอว่า ความสุขที่แท้  มีอยู่แต่ในงาน                 สร้างแนวความคิดที่เป็นสัมมาทิฏฐิ  เกี่ยวกับการพัฒนาไปสู่สัมมาพัฒนา  แต่ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิก็นำมาสู่มิจฉาพัฒนา  เปลี่ยนแปลงรหัสพัฒนาใหม่  โดยเชื่อมโยงเข้ากับนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้                 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้  แต่ลำพังการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือวิถีคิด ก็มิได้หมายความว่านวัตกรรมการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เองโดยปริยาย  จำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัยและองค์ประกอบอื่น ๆ  มาอุดหนุนเกื้อกูล  จึงจะประสบผลสำเร็จ  ในที่นี้จะขอหยิบยก  3  องค์ประกอบหลัก ที่ถือว่าจำเป็นต่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น  ซึ่งได้แก่  1. เวลา  2 . เวที  3.  ไมตรี                 องค์ประกอบแรกเวลา เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ ถ้าไม่มีเวลาการเรียนรู้ก็ไม่เกิดหรือเกิดได้ยาก  ไม่สามารถที่จะ  ย่อย           สิ่งที่ได้ฟังหรืออ่านมา  บางคนก็ไม่มีเวลาที่จะร่วมทำงานกลุ่ม หรือวิเคราะห์กรณีศึกษาที่อาจารย์มอบหมายให้   เพราะฉะนั้นนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มีเวลา                 องค์ประกอบตัวที่สอง  จะต้องมีเวที หรือพื้นที่  ไว้ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  เวทีเรียนรู้ควรมีรูปแบบหลากหลาย คือ มีทั้งเวทีที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ แต่มีจุดประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน  คือ มีความคิดหลากหลายแต่เป้าหมายเดียวกัน                 เวทีดังกล่าวนี้ เป็นได้ทั้งพื้นที่กายภาพ ( physical  space )  ที่คนสามารถเข้ามาพบปะพูดคุยประชุมกัน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้  หรืออาจจะเป็นพื้นที่เสมือน  ( virtual  space ) ที่สร้างขึ้นมาโดยอาศัย เครือข่ายอินเตอร์เนท ( internet )  ก็ได้อาทิเช่น การใช้ E – mail loop,  หรือ Webboard  หรือ weblog  เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ  ( Information  and  Comunication  Technology  )  หรือที่เรียก สั้น ๆ ว่า  “ICT ”     นั้นเป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างทรงพลังอย่างยิ่งในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้                 ปัจจัยองค์ประกอบที่สาม   ที่จำเป็นสำหรับสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้นอกเหนือจากมีเวลามีพื้นที่หรือเวทีให้แล้ว  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีใจ ให้แก่กันและกันด้วย  จิตใจต้องเปิดกว้างไม่คับแคบ   ว่างพอที่จะรับสิ่งใหม่ ๆ  ที่หลั่งไหลเข้ามา ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกอยู่ในสภาวะ  น้ำชาล้นถ้วย  คือไม่สามารถรับอะไรใหม่ไปได้เลย                 เพราะฉะนั้นนวัตกรรม  3  อย่างนี้จะต้องนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง   นำไปสร้างจิตสำนึกใหม่ปรับเปลี่ยนจากวิถีเศรษฐกิจวัตถุนิยม  - บริโภคนิยม  - เงินนิยม  ไปสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งจะมีวิธีการ  4    อย่าง  หรือ  เรียกว่า มรรควิธี  4  ประการนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง   คือ                 1.  สร้างทิฐิและจิตสำนึกใหม่  ควรจะมีการรณรงค์ให้ผู้คนเปลี่ยนคำถามจาก ทำอย่างไรจะรวย   ไปเป็นคำถามใหม่ว่า  ความดีคืออะไร    เมื่อถามซ้ำอยู่อย่างนั้น ทิฐิและจิตสำนึกค่อยเปลี่ยนไป   ว่าเป้าหมายของชีวิตและการพัฒนาคือความดีและการอยู่ร่วมกัน  ไม่ใช่การทำกำไรสูงสุด  รหัสพัฒนาใหม่คือ                 GCK  หรือ ความดี  ( Goodness )  การอยู่ร่วมกัน ( Community )   ความรู้  (Knowledge )    ความดีต้องเป็นคัวตั้ง  การอยู่ร่วมกันเป็นเป้าหมาย  ความรู้เป็นเครื่องมือ ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงเป็นผล                 2. ออกแบบโครงสร้างการพัฒนาที่ถูกต้อง  สังคมมีเครื่องมือมากแต่ขาดการออกแบบ โครงสร้างทุกชนิดต้องมีฐานที่แข็งแร็ง โครงสร้างนั้นจึงจะมั่นคง  สังคมก็เช่นกันต้องมีฐานที่แข็งแร็ง   ฐานของสังคม คือ ชุมชน  ท้องถิ่น  แต่ฐานกลับอ่อนแอลง  การพัฒนาทุกชนิดต้องเชื่อมกับฐานล่าง อยู่บนความเข้มแข็งของฐานล่าง จึงเป็นโครงสร้างการพัฒนาที่ถูกต้อง   ชุมชนเข้มแข็งคือฐานของเศรษฐกิจพอเพียง  หากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รู้จักมองไปข้างล่าง เรียนรู้เรื่องข้างล่าง  สนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยจะเป็นกำลังสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าเราเข้าใจความสำคัญของฐานล่างของสังคม ก็จะเข้าใจว่าทำไมพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงตะลอน ๆ  ไปช่วยคนข้างล่าง  จนพระเสโทหยดหยดจากปลายพระนาสิกการพัฒนาต่าง ๆ  ข้างบนไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การศึกษา  การพระศาสนา  การสาธารณสุข  การสื่อสาร  ฯ ล ฯ มีพลังมากถ้าเชื่อมกับฐานล่าง  ให้ข้างล่างกับข้างบนเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ประเทศไทยจะแข็งแร็ง  พอเพียง  และเรืองแสง                    3. ส่งเสริมจิตตปัญญาศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในคน  การศึกษาทุกวันนี้เป็นการศึกษาวิชาต่าง    ซึ่งเป็นเรื่องนอกตัวทั้งสิ้นไม่มีเลยที่ศึกษาเรื่องภายในตัวเอง   จึงจำเป็นต้องดึงพลังภายในขึ้นมาใช้    มีความจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานทั้งในตนเอง  และเชิงองค์กร จึงจะเผชิญกับวิกฤตรุนแรงของโลกได้  จิตตปัญญาศึกษาจะช่วยให้ปรับไปสู่วิถีแห่งความพอเพียง เป็นไปได้ง่ายมากขึ้น จึงควรทำความเข้าใจและส่งเสริมอย่างจริงจัง                 4. สร้างเครื่องมือใหม่ทางสังคม  โครงสร้างในองค์กรทุกชนิดเป็นโครงสร้างทางดิ่ง หมายถึงเน้นการใช้กฎหมาย  กฎระเบียบ  และการสั่งการจากบนลงล่าง   เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอำนาจกับผู้ไม่มีอำนาจ  โครงสร้างชนิดนี้ไม่มีพลังเพียงพอที่จะแก้ปัญหาที่ยากและซับซ้อน จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานเชิงองค์กรซึ่งไม่ใช่การโค่นล้มหรือทำลาย วิธีการคือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางราบเป็นความสัมพันธ์ใหม่ทั้งภายในและภายนอกองค์กรโดยถือหลักว่าทุกคนมีศักดิ์ศรีมีคุณค่า  และมีศักยภาพ  สามารถเข้ามารวมกลุ่มร่วมคิดร่วมทำด้วยความเสมอภาค และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย                 หลักการข้างต้นจะเกิดเป็นโครงสร้างทางสังคมใหม่ เรียกเป็นสัญลักษณ์ว่า INN   ดังนี้ I  =  Individual    หรือปัจเจกบุคคลที่มีจิตสำนึกใหม่ว่าเรามีเกียรติ  มีศักดิ์ศรี  มีคุณค่า  มีศักยภาพที่จะทำอะไรดี     N = Nodes  คนที่มีความสนใจร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน  ร่วมคิดร่วมทำ  ทุกคนเสมอภาค  เป็นความสัมพันธ์ทางราบ N  =  Networks   มีการเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทั้งระหว่างบุคคลและกลุ่ม                 แนวทางการพัฒนาของพระเจ้าอยู่หัวอาจเรียกว่า เอาความดีเป็นตัวตั้ง  เพื่อการอยู่ร่วมกันโดยใช้ความรู้  ซึ่งอาจเป็นรหัสพัฒนาว่า  GCK  หรือความดี การอยู่ร่วมกัน -  ความรู้                 การพัฒนาแบบเก่าโลกเข้าไปสู่ความเสื่อมเสียทางศีลธรรมและเจ็บป่วยมากขึ้นเรื่อย ๆ  เพราะใช้เงินเป็นตัวตั้ง   หากจะเยียวยาโลกได้  ต้องใช้รหัสพัฒนาใหม่  ฉะนั้น จึงควรสนใจศึกษาความหมายเชิงลึกของแนวทางการพัฒนาของพระเจ้าอยู่หัวให้ได้  เพราะอาจพบสหัสพัฒนาใหม่ที่ช่วยให้โลกรอดได้                 สรุปการเชื่อมโยงนวัตกรรมการเรียนรู้สู่เศรษฐกิจพอเพียงจะต้องมีการขับเคลื่อนกันเป็นเครือข่าย ได้แก่    -   เครือข่ายประชาสังคม      -          เครือข่ายธุรกิจเอกชน -          เครือข่ายวิชาการ -          เครือข่ายสร้างกระบวนการเรียนรู้ -          เครือข่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เมื่อทุกภาคส่วนช่วยกันทำความเข้าใจและนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ เชื่อแน่ว่าแนวทางพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยให้ประเทศชาติอยู่รอดปลอดภัยได้อย่างมั่นคงและมีความสุขอย่างยั่งยืนตลอดไป                                                                                                     พระครูพิศิษฏ์คณาทร                                             บรรณานุกรม                                                  การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :http://www.      nesdb.go.th/SufficiencyEcon/main.htm 2549.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.      Sufficiencyeconomy.org/ 2549.จากแนวคิดสู่ภาคปฏิบัติเส้นทางเศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:      http://72.14.253.104/search 2549.นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การศึกษาที่แท้ .”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.          kmi.or.document/Learninnovation.doc/2549 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://72.14.253.       104/www.tisi.go.th/otop 2549.เศรษฐกิจพอเพียง. . [ ออนไลน์ ]. เข้าถึงได้จาก :http://www.rta.mi.th/         2549. เศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก: http://www.doae.go.th/        report/SE/html/01.htm 2549.เศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.journaling.       or.th/se.htm 2549.เศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://www.prdnoth.        in.th/king60/justeconomic.php  2549.เศรษฐกิจพอเพียง.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก :http://72.14.253.104/    search 2549.เศรษฐกิจพอเพียง.”.[ ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://members.thai.      net/sahakorn/kaset/sed.html 2549.เศรษฐกิจพอเพียง:ทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:     www.chaipat.or.th/chapat/jounal/decoo/thai/ 2549.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 .[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:       http://www.cmtca.or.th/file-doc/ 2549 โครงการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่น.”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:http://72.      14.253.104/www.labschoolseminar.net/ 2549.โครงการอบรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดกลุ่เยาวชนที่จังหวัดระนอง.”.       http//72.104/www.ranongpoc.com/2549.“Sufficiency Economy Initiative.”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:       http//72.14.253.104/search 4549.“ Self – Sufficiency – Self -  Economy.”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้            จาก: www.porpeang.org/ 2549.                                                          ……………………….         
หมายเลขบันทึก: 51767เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2006 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท