เครือข่ายการเรียนรู้ปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศแม่โจ้-นครศรีธรรมราช


เนื่องจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมาของกลุ่มเกษตรพัฒนาชุมชนบ้านมะขามเรียง ที่ผู้นำกลุ่มรู้จักผสมผสานความรู้ในและนอกชุมชนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว สามารถอธิบายเรื่องราววิชาการยากๆให้เหล่าคุณกิจในกลุ่มเข้าใจได้โดยง่าย คงจะช่วยทำให้การทำงานของกลุ่มเป็นไปได้ด้วยดี
  • วันนี้ผมได้รับ e- mail แจ้งข่าวดีจาก ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ว่าผลงานการผลิตปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศของท่านได้รับรางวัลระดับประเทศ ในงานประกวดนวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2549 ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 
  • ลองอ่านเก็บรายละเอียดจากจดหมายของอาจารย์ดูนะครับ

From: 

teerapong sawang <[email protected]> Save to Address Book
To:  [email protected] Save to Address Book
Date:  24 Sep 2006, 06:52:40 AM
Subject:  ระบบกองเติมอากาศได้รับรางวัล

เรียน อาจารย์จำนงที่เคารพ
ผมขอส่งข่าวดีเกี่ยวกับการที่ระบบกองเติมอากาศได้รับรางวัลระดับประเทศครับ คือ เทคโนโลยีระบบกองเติมอากาศ ชนะการประกวดนวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2549 ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสังคม โดยได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ซึ่งได้มีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ณ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สำนักงานใหญ่ ถนนสีลม ในวันที่ 22 กันยายน 2549 ไปแล้ว และจะพิธีมอบรางวัลในวันที่ 5 ตุลาคม 2549 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต ซึ่งเป็นวันนวัตกรรมแห่งชาติ ครับ
รายละเอียดเข้าไปดูได้ที่ http://www.nia.or.th/niaward/ ครับ
ขอบพระคุณครับ
ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร
  •  เหตุที่อาจารย์เมล์มาแจ้งให้ทราบก็เพราะว่ากลุ่มเกษตรพัฒนาชุมชนบ้านมะขามเรียง ม.1 ตำบลบางจาก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่ง เป็นกลุ่มทำปุ๋ยหมักกลุ่มหนึ่งในเครือข่ายเกษตรอินทรีย์อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ที่ได้นำความรู้จากการค้นคว้าวิจัยของอาจารย์มาปรับใช้ในพื้นที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จนประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง เรียกว่าเป็นลูกข่ายของ ม.แม่โจ้ แม่โจ้ให้คำแนะนำช่วยเหลือเป็นอย่างดี และกลุ่มๆนี้กำลังจะสร้างเครือข่ายปุ๋ยระบบใหม่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช และใกล้เคียง
  • กลุ่มเกษตรพัฒนาชุมชนบ้านมะขามเรียง ได้เรียนรู้ ฝึกฝน ทดลอง ลงมือปฏิบัติจริง ตามแนวจัดการความรู้โมเดลปลาทู ของ สคส.จนจัดตั้งกลุ่มได้สำเร็จ มีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยใช้โครงงานอาชีพ วิจัยท้องถิ่น ฯลฯเป็นเครื่องมือ เป็นกลุ่มที่มีการศึกษาค้นคว้า และมีข้อค้นพบที่โดดเด่นไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเครือข่ายฯอย่างสม่ำเสมอ กศน.อำเภอเมืองนครศรีฯถือเป็นภารกิจที่จะต้องส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ชาวบ้าน อาจารย์ธีระพงษ์จึงติดต่อกับผมเป็นประจำ มีอะไรก็แจ้งข่าวกันเสมอ
  • ผู้ใดสนใจกิจกรรมเรียนรู้ของกลุ่มนี้ก็หาความรู้ได้จาก blog ของกลุ่มนี้ได้โดยตรงที่มีชื่อว่า การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกองระบบกองเติมอากาศ KMfertilizer มีน้องสมวิศว์ จู้พันธ์ หรือน้องติ่ง เป็นที่ปรึกษากลุ่ม
  • ผมคิดว่าการที่ ผศ.ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร ได้รับรางวัลระดับประเทศในครั้งนี้คงจะทำให้การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ปุ๋ยระบบใหมทำได้ง่ายขึ้น แต่ก็ต้องใช้ระยะเวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงครับ เพราะในการเปลี่ยนแปลงสังคมเรื่องหนึ่งๆนั้น มีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายเข้ามาประกอบการตัดสินใจของชาวบ้าน  การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ขึ้นอยู่กับเหตุผลด้านความรู้วิชาการอย่างเดียว ประเด็นนี้คงเป็นการบ้านข้อใหญ่ข้อหนึ่งที่เหล่าคุณอำนวยและคุณกิจจะได้ร่วมมือกันขับเคลื่อนต่อไป
  • เนื่องจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมาของกลุ่มเกษตรพัฒนาชุมชนบ้านมะขามเรียงแห่งนี้ จัดว่ามีผู้นำกลุ่มที่รู้จักผสมผสานความรู้ในและนอกชุมชนเข้าด้วยกันอย่างลงตัว สามารถอธิบายเรื่องราววิชาการยากๆให้เหล่าคุณกิจในกลุ่มเข้าใจได้โดยง่าย ปฏิบัติงานร่วมกันอย่างจริงจัง คงจะช่วยให้การทำงานของกลุ่มเป็นไปได้ด้วยดีแน่นอน


ความเห็น (1)
        ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมกลุ่มนี้ทั้งในพื้นที่และในblog เห็นด้วยกับอาจารย์ว่าเป็นกล่มที่มีความก้าวหน้าเข้าใจนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท