ย้อนรอยจัดการความรู้...สู้ภัยพิบัติ


         หลังวิกฤตอุทกภัย.....คนไทยเราต่างรวมใจกันฟื้นฟูชุมชนอย่างเร่งด่วน เพื่อให้วิถีชีวิตกลับคืนสู่ความเป็นปกติสุขดังเดิมโดยเร็วที่สุด หน่วยงานของรัฐต่างระดมสรรพกำลังหนุนเสริมและออกมาตรการเยี่ยวยาอย่างพร้อมเพรียง ในภาคชุมชนเอง นอกจากลุกขึ้นด้วยตนเองแล้ว มีประเด็นหนึ่งที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญให้ชุมชนรู้เท่าทันปรากฎการณ์หรือภัยทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ คือชุมชนจักต้องร่วมกันค้นหาบทเรียนสำคัญๆที่เป็นปัจจัยทำให้ปรกฎการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นและส่งผลกระทบมากมายกับตัวชุมชนเอง โดยชุมชนมีโอกาสหรือไม่มีโอกาสปกป้องชุมชนได้เลย ผมมองไปที่การจัดการความรู้ร่วมกันครับและต้องอยู่บนข้อเท็จจริงและการมีส่วนร่วมของทุกคนที่เกี่ยวข้องในชุมชนด้วย……

  จากสถานการณ์ดังกล่าว กรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยสำคัญของกระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลในการหนุนเสริมความเข้มแข็งของชุมชนภายใต้วิกฤตเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หากเราหยิบประเด็นเรื่องการจัดการความรู้(Knowledge Management) มาเป็นเคื่องมือทบทวนบทเรียนและแสวงหาแนวทางป้องกันและมาตรการในการป้องกันในอนาคตแล้ว ศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งปัจจุบันทั่วประเทศมีกว่า 904 ศูนย์ คงต้องทำหน้าที่กันอย่างแข็งขัน โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดการความรู้ชุมชนหลังพ้นวิกฤตอุทกภัยและแสวงหาบทเรียน แนวทาง มาตรการในการฟื้นฟูด้วยตัวชุมชนเอง (Lessonsforthe rehabilitationmeasureswiththecommunity) แผนในการป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญ การลุกขึ้นดูแลชุมชน ปกป้องคุ้มภัยเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ที่อยู่รวมกันในสังคม ดังนั้นชุมชนทุกชุมชนที่ได้รับผลกระทบต้องไม่รอการเยียวยาจากผู้ใด ต้องลุกขึ้นมาจัดการด้วยตนเอง พัฒนากรซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมการพัฒนาชุมชนซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานในการร่วมนำพาชุมชนสู่ความเข้มแข็ง คงนิ่งนอนใจไม่ได้เพราะทุกชุมชนที่ตนเองรับผิดชอบต้องฟื้นฟูและคืนความเป็นปกติสุขสู่ชุมชน ในขณะเดียวกันคงต้องหาแนวทางป้องกันในอนาคตอีกทางหนึ่ง.............งานนี้คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้ชุมชนและคณะที่ปรึกษาต้องขยับแล้วครับโดยมีพัฒนากรร่วมเป็นแกนนำในการประชาคมถอดบทเรียนที่เกิดขึ้น...หาสาเหตุ....หาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อผลกระทบที่ชุมชนได้รับ...หาเทคนิควิธีการ...หากระบวนการ...ขั้นตอน...วิธีปฎิบัติที่ดีในการป้องกันและแก้ปัญหาเมื่อภัยน้ำท่วมมาถึงรวมทั้งภัยทางธรรมชาติอื่นๆ.....หาแนวทางในการฟื้นฟูชุมชนให้เร็วที่สุดและที่สำคัญแสวงหามาตรการและแผนป้องกันภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นเป็นแผนของชุมชน เพื่อชุมชน โดยคนในชุมชนเพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดได้ในอนาคต เพื่อลดความสูญเสีย ป้องกันชุมชนให้พ้นภัย ด้วยหัวใจพอเพียงครับ...

  เราในฐานะคนของรัฐจักต้องกระตุ้นให้ทุกชุมชนมีพลังในการก้าวเดินบนเส้นทางแห่งการฟื้นฟู เยียวยา เคียงบ่า เคียงไหล่ ก้าวไปด้วยกัน สานฝันสู่ความเข้มแข็งของชุมชนให้ยืนอยู่ได้ในสถานการณ์คลื่นลมที่เชี่ยวกราก........หลังฝันร้ายขอชุมชนร่วมใจน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต พออยู่ พอกิน อยู่ดี กินดี มั่งมี ศรีสุข พึ่งพาตนเองได้ และสร้างความสุขของชุมชนด้วยตัวชุมชนเอง

  


คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 517440เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2013 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2013 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท