ความต้องการกลับไปเรียนต่อ.. ของผู้รับบริการ


การฝึกปฏิบัติงานทางกิจกรรมบำบัดช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ปี 2555 ที่ผ่านมา ครั้งหนึ่งดิฉันเคยไดัรับการมอบหมายให้ตรวจประเมิน บำบัด ฟื้นฟูผู้รับบริการท่านหนึ่งภายใต้การควบคุมของอาจารย์นักกิจกรรมบำบัด..

ผู้รับบริการชาย อายุ 25 ปี ได้รับการวินิจฉัยโรคคือ Cutwound injury โดยผู้รับบริการถูกของมีคมเข้าที่แขนซ้ายในด้านนิ้วก้อย (ด้าน ulnar ของ left forearm) หลังจากผ่าตัดและเย็บปิดแผลแล้วเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน ผู้รับบริการได้เข้ารับบริการทางด้านกิจกรรมบำบัด พบปัญหาดังนี้

- มีแผลเป็นที่แขนซ้ายด้านนิ้วก้อย(keloid scar ด้าน ulnar ของ left forearm) 

- มือซ้ายบวม(edema of left hand)มากกว่ามือขวา

- ไวต่อความรู้สึก(hypersensitivity)ในการรับสัมผัสแผ่วเบา(light touch)บริเวณนิ้วนางและนิ้วก้อยข้างซ้าย

- มีกล้ามเนื้อแขน ข้อมือและนิ้วมือซ้ายอ่อนแรง(muscle weakness of left forearm,wrist and fingers)

- มีช่วงการเคลื่อนไหวของข้อมือและนิ้วมือซ้ายจำกัดขณะเคลื่อนไหวเอง(limit active range of motion of wrist and fingers)

- มีรูปแบบการกำ หยิบจับสิ่งของขนาดใหญ่ได้แต่ยังจับสิ่งของขนาดเล็กได้ไม่คล่องแคล่ว(poor hand prehension : pad-to-pad, tip pinch)  

จากปัญหา ได้ให้การบำบัดฟื้นฟูในแต่ละด้านอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและช่วงการเคลื่อนไหวเนื่องจากเป็นการนำไปสู่การฝึกรูปแบบการกำ หยิบจับสิ่งของขนาดเล็กได้ดียิ่งขึ้นคือ ผู้รับบริการสามารถจับปากกา ดินสอในการเขียนและสามารถพิมพ์งานในคอมพิวเตอร์ได้ ากความต้องการที่ว่า ผู้รับบริการต้องการกลับไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี-ให้สำเร็จการศึกษา หลังจากหยุดพักการเรียนเพื่อเข้ารับการรักษานั้น จึงต้องเน้นในส่วนการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและช่วงการเคลื่อนไหวแขน ข้อมือและนิ้วมือซ้ายดังกล่าว รวมทั้งฝึกการรับความรู้สึกใหม่จากไวต่อความรู้สึก(hypersensitivity) เป็นปกติ(normal) ด้วย เพื่อที่ผู้รับบริการจะสามารถรับความรู้สึกขณะรับสัมผัสแผ่วเบา(light touch) ไม่รู้สึกว่าปัญหานี้เป็นสิ่งรบกวนต่อการดำเนินชีวิต และให้การนวดเพื่อลดบวม(edema massage)  จัดท่าลดบวม(positioning)และลดการตึงรั้งผิวหนังด้วยการนวดรอยแผลเป็น(scar massage) ซึ่งสองส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่อาจทำให้เกิดการจำกัดของช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อในการทำกิจกรรมได้ จึงเป็นการป้องกันการติดของข้อต่อ การเคลื่อนไหวนิ้วมือ ข้อมือซ้ายได้ไม่สุดช่วง เพื่อผลลัพธ์ที่ได้คือผู้รับบริการสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวัน ทำกิจกรรมการเรียน การพักผ่อนยามว่างได้อย่างเต็มความสามารถ.. 

ข้อคิดที่ดิฉันได้รับ คือ การที่เราจะทำสิ่งๆหนึ่ง เราต้องรู้จักที่จะดูสิ่งต่างๆ ความสามารถ ความต้องการ ปัญหา สิ่งที่ผู้รับบริการคาดหวัง สิ่งที่ผู้รับบริการสนใจ ครอบครัว การงาน อาชีพ การเรียน ต่างๆเหล่านี้ เราต้องดูให้ครอบคลุม เนื่องด้วยเราอาจคิดว่าปัญหาเล็กๆ อาจไม่ส่งผลอะไรมากมาย แต่ความจริงแล้ว ปัญหานั้น อาจส่งผลกระทบต่อคนๆหนึ่งได้มากเหมือนกัน อาจไม่ได้ส่งผลกระทบทางกาย แต่ส่งผลกระทบทางใจ อาจไม่ส่งผลปัจจุบันทันด่วน แต่อาจส่งผลต่ออนาคตเขาได้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นแล้ว การแก้ไขปัญหา อาจแก้ไขได้ แต่แก้ไขได้อย่างไม่เต็มที่ เหมือนกับช่วงแรกที่ยังเป็นปัญหาที่ไม่ใหญ่มากก็เป็นได้ 

หมายเลขบันทึก: 517283เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2013 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2013 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท