การทดลอง วิทยาศาสตร์ = การทดลองการสอนวิทยาศาสตร์




วันนี้ผมอนุญาตนำรูปภาพบรรยากาศในห้องเรียน วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ในจังหวัดมหาสารคาม มาให้ชมครับ
เนื่องจากในชั่วโมงก่อนผมได้สอนเรื่อง สารและสถานะของสาร มีนักเรียน เกิดความสงสัยว่า ทำไม ถังวิเศษที่อยู่หน้าโรงเรียนถึงสามารถทำให้น้ำอัดลมเปลี่ยนรูปเป็น ไอติมแช่เย็นได้ ผมเลยจัดการทดลองขนาดเล็กๆๆ ในเวลาไม่นาน โดย ตั้งปัญหาให้นักเรียนแต่ละคนออกมาหาทางวิธีปัญหาที่ได้รับในรูปแบบของตนเอง  ซึ่งการทดลองนักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ตนเองสงสัย และ อยากที่จะรู้ อยากที่จะเรียน ผลออกมา ปรากฏว่า นักเรียน 2 ใน 5 คน สามารถแก้ปัญหาของการทดลองในครั้งนี้ได้ ผมเลยตั้งคำถามให้นักเรียนคิดต่อไปว่า สิ่งที่นักเรียนทำในครั้งนี้ มีความสัมพันธ์ กับไอติมแช่เย็น อย่างไร โดยให้เขียนเป้น mind map ภายในเวลา 10 นาที ผลที่ออกมาเป้นที่น่าพอใจ เพราะนักเรียนสามารถเชื่อมโยง เนื้อหาที่เรียน กับ ดจทย์ปัญหาที่ได้รับ ร่วมทั้งสถานะการณ์ในชีวิตประจำวัน เข้าด้วยกันได้อย่างลงตัว

บทสรุปการสอนในครั้งนี้
1. การเรียน แบบ PBL เป็นการเปิดมุมมองใหม่ในการเรียนวิทยาศาสตร์ ที่ไม่ได้อยู่เฉพาะในตำรา แบบเรียนทั้งนั้น
2. การเรียนที่ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ จะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ มากกว่า การที่ผู้เรียนเป็นผู้รับฟังแต่เพียงอย่างเดียว
3. จากการสอบถามพบว่า นักเรียนบางคนไม่เคยทำการทดลองวิทยาสาสตร์ในห้องเรียน
4. การทดลองควรใช้รูปแบบการทดลองที่ปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยงในอัตราย ครูควรให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
5. การทำการทดลอง เป้นการเรียกผู้เรียนให้เข้าสู่บทเรียนได้เร็วกว่าการบรรยาย ที่ผุ้เรียนไม่เกิดภาพที่แท้จริง



ขอขอบคุณนักเรียนทุกคนที่ตั้งใจทำการทดลองวิทยาศาสตร์ ในครั้งนี้
พันเทพ
หมายเลขบันทึก: 516955เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2013 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2013 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท