วิเคราะห์สิทธิในสัญชาติของลุงตู่ หรือนายชาญ สุจินดา



วิเคราะห์สิทธิในสัญชาติของลุงตู่ หรือนายชาญ สุจินดา

โดยนางสาวปรางค์สิรินทร์  เอนกสุวรรณกุล

๒๐ มกราคม ๒๕๕๖

(เป็นความรู้ที่ข้าพเจ้าได้ในชั้นปริญญาตรีจากการสอนของท่านรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร)



ข้อเท็จจริงเบื้องต้น

ลุงตู่เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๔ (ลุงตู่อาศัยการเทียบเคียง พ.ศ.จากบุคคลที่ลุงคิดว่าตนมีอายุไล่เลี่ยกัน) ลุงอ้างว่าตนเกิดที่ชุมชนนางเลิ้ง ประเทศไทย คุณแม่ของคุณลุงตู่ชื่อนางผิว กิจเกษม เป็นผู้มีสัญชาติไทย (มีหลักฐานยืนยัน ๑ ฉบับคือใบมรณบัตรของนางผิว ได้ระบุยืนยันว่านางผิวเป็นผู้มีสัญชาติไทย) บิดาชื่อนายป่วน สุจินดา ไม่มีเอกสารยืนยันตัวบุคคล บิดามารดาอาจอยู่กินก่อนจะประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ปีพศ.๒๔๖๘) ดังนั้นบิดามารดาลุงตู่จึงเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายจารีตประเพณี

วินิจฉัยสิทธิในสัญชาติไทยของลุงตู่

               ประเด็นเรื่องสิทธิในสัญชาติไทย เป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน (นิติสัมพันธ์ซึ่งมีคู่กรณีฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ) ระหว่างรัฐไทยผู้ซึ่งเป็นรัฐเจ้าของสัญชาติ และลุงตู่ เอกชนผู้ซึ่งจะมีสิทธิในสัญชาติไทย

               โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เมื่อเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายมหาชน จึงตกอยู่ภายใต้กฎหมายมหาชนภายในของรัฐคู่กรณี เว้นแต่จะมีการกำหนดเป็นอย่างอื่น ในที่นี้รัฐคู่กรณีคือรัฐไทย และในประเด็นที่เราจะพิจารณาคือประเด็นเรื่องสิทธิในสัญชาติไทย  กฎหมายภายในที่ใช้ในการพิจารณาสิทธิในสัญชาติไทยของบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น  ก็คือพระราชบัญญัติสัญชาตินั่นเอง และพระราชบัญญัติสัญชาติที่จะนำมาใช้พิจารณาถึงสิทธิในสัญชาติไทยของบุคคล ก็ต้องเป็นพระราชบัญญัติสัญชาติฉบับที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะที่ผู้ที่จะมีสิทธิในสัญชาติไทยเกิด

                จากข้อเท็จจริงลุงตู่กล่าวว่าตนเกิดเมื่อประมาณพ.ศ.๒๔๘๔ อาศัยการเทียบเคียงจากเพื่อนที่คิดว่าอายุไล่เลี่ยกันและโตมาด้วยกัน (ถูกระบุไว้ในบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน) ดังนั้นกฎหมายสัญชาติที่บังคับใช้อยู่ในขณะที่ลุงตู่เกิด อันเป็นกฎหมายที่จะนำมาพิจารณาถึงสิทธิในสัญชาติไทยของลุงตู่ ก็คือ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๔๕๖ และพระราชบัญญัติแปลงชาติ รศ.๑๓๐

โดยที่มาตรา ๓ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.๒๔๕๖ บัญญัติว่า 
“ บุคคลเหล่านี้ได้บัญญัติว่าเป็นคนไทย คือ
(๑) 
บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่บิดาเป็นคนไทย แม้เกิดในพระราชอาณาจักรก็ดี เกิดนอกพระราชอาณาจักรก็ดี
(ขยายความ: อนุมาตรา ๑ คือการได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตบิดา เป็นการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ซึ่งแต่เดิมนั้นบิดาในที่นี้ต้องชอบด้วยกฎหมาย หากว่าไม่ใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย บุตรก็จะไม่ได้สัญชาติไทย แต่ได้มีการแก้ไขแล้วในมาตรา ๖ พ.ร.บ.สัญชาติปี ๕๑ ให้บิดาไม่จำต้องชอบด้วยกฎหมาย หากว่าบิดามีสัญชาติไทย บุตรก็จะได้สัญชาติไทยด้วยตามหลักสืบสายโลหิตตามบิดา และโดยมาตรา ๒๑ พ.ร.บ.สัญชาติปี ๕๑ ก็ให้ใช้กับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่พ.ร.บ.ปี๕๑นี้ใช้บังคับด้วย จึงมีผลย้อนหลังมาให้คุณแก้ผู้ที่เกิดก่อนปีพ.ศ.๒๕๕๑ ในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย)

(๒) บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่มารดาเป็นคนไทยแต่ฝ่ายบิดาไม่ปรากฏ
(ขยายความ:อนุมาตรา๒ คือการได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตมารดา แต่เดิมนั้นมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นกรณีที่ต้องไม่ปรากฏบิดาบุตรนั้นจึงจะได้สัญชาติไทยตามมารดา เพราะหากว่าปรากฏบิดา การพิจารณาสัญชาติของบุตรก็จะเป็นไปตามอนุมาตรา ๑ และถ้าหากว่าปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นคนต่างด้าว(คนที่ไม่มีสัญชาติ ไทย)หรือคนไร้สัญชาติ(คนที่ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐใดๆบนโลกว่าเป็นคนสัญชาติ) บุตรนั้นก็จะไม่ได้รับสัญชาติไทยโดยสืบสายโลหิตทั้งจากมารดาตามอนุมาตรา ๒ และจากบิดาตามอนุมาตรา ๑ อีกด้วย แต่ได้มีการแก้ไขแล้ว โดยมาตรา ๔  พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับ๒)ปี ๒๕๓๕ ที่ได้แก้ความในมาตรา ๗ พ.ร.บ.สัญชาติปี๒๕๐๘ โดยมาตรา ๗(๑) แก้เป็นให้บุคคลมีสัญชาติไทยถ้าเป็นผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือเกิดนอกราชอาณาจักร เป็นการแก้ไขให้บุตรได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตมารดาได้อย่างไม่มีเงื่อนไขหากว่ามารดามีสัญชาติไทยบุตรก็จะได้สัญชาติไทย ไม่ติดเงื่อนไขว่าต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏบิดาเท่านั้นเหมือนแต่เดิม ก็คือจะปรากฏบิดาหรือไม่ปรากฏบิดา บิดาจะชอบด้วยกฎหมายไม่ชอบด้วยกฎหมาย บิดาจะเป็น คนต่างด้าว คนไร้สัญชาติของคนสัญชาติไทย ก็ไม่กระทบถึงสิทธิในสัญชาติไทยของบุตรที่มารดามีสัญชาติไทย และมาตรา๑๐ ก็ให้บทบัญญัติที่แก้ไขดังกล่าวมีผลบังคับใช้แก่ผู้ที่เกิดก่อนวันที่พ.ร.บ.ปี ๒๕๓๕ใช้บังคับด้วยจึงมีผลย้อนหลังมาให้คุณแก้ผู้ที่เกิดก่อนวันที่๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ ในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย)

(๓) บุคคลผู้ได้กำเนิดในพระราชอาณาจักรสยาม
(ขยายความ:เป็นการได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดน ซึ่งเป็นการให้สัญชาติไทยโดยอาศัยหลักดินแดนในการพิจารณาเป็นครั้งแรก เพียงแค่เป็นผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรสยามในวันที่พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. ๒๔๕๖ ใช้บังคับแล้ว ก็จะได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๓ อนุมาตรา ๓ เป็นการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลัก ดินแดน แต่อย่างไรก็ดีภายหลังที่ประกาศคณะปฏิวัติที่ ๓๓๗ และพ.ร.บ.สัญชาติ๒๕๐๘ แก้ไขโดยพ.ร.บ. สัญชาติฉบับที่๒ ปี๒๕๓๕ บังคับใช้แล้ว ก็จะนำเรื่องสถานะของบิดามารดามาคำนึงประกอบกับหลักดินแดนเพื่อ พิจารณาการมีสิทธิในสัญชาติไทยของบุคคลตามหลักดินแดนอีกด้วย)

(๔) หญิงต่างชาติผู้ได้ทำงานสมรสกับคนไทยตามกฎหมายประเพณี
(๕) คนต่างประเทศผู้ได้แปลงชาติมาถือเอาสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติ


พิจารณาถึงสิทธิในสัญชาติไทยของลุงตู่ 

เมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ลุงตู่มีจุดเกาะเกี่ยวกับประเทศไทยที่อาจทำให้ได้สัญชาติไทยได้ดังนี้ จุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิด ๑.หลักสืบสายโลหิตบิดา ๒.หลักสืบสายโลหิตมารดา ๓.หลักดินแดน

    

 พิจารณาภายใต้ข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้

กรณีที่ ๑ ปรากฎว่าบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของลุงตู่เป็นผู้มีสัญชาติไทย มารดาลุงตู่เป็นผู้มีสัญชาติไทย และลุงตู่เกิดในประเทศไทย

มาตรา ๓ พระราชบัญญัติสัญชาติ ๒๔๕๖ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่มีผลบังคับใช้ขณะที่ลุงตู่เกิดบัญญัติว่า      

“ บุคคลเหล่านี้ได้บัญญัติว่าเป็นคนไทย คือ
(๑) บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่บิดาเป็นคนไทย แม้เกิดในพระราชอาณาจักรก็ดี เกิดนอกพระราชอาณาจักรก็ดี

   

(๒) บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่มารดาเป็นคนไทยแต่ฝ่ายบิดาไม่ปรากฏ

(๓) บุคคลผู้ได้กำเนิดในพระราชอาณาจักรสยาม

                 เช่นนี้ลุงตู่มีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตบิดา ตามมาตรา ๓ (๑) เพราะบิดาลุงตู่มีสัญชาติไทยลุงตู่จึงได้สัญชาติไทยตามบิดา และหลักดินแดนตามมาตรา๓ (๓) เพราะลุงตู่เกิดในประเทศไทย จึงได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดน ตามพรบ.สัญชาติ ๒๔๕๖ 

             

    ซึ่งในกรณีที่ปรากฎบิดาของลุงตู่นี้ ในขณะที่ลุงตู่เกิดจะไม่นำสัญชาติของมารดามาพิจารณา เพราะว่าเป็นกรณีที่ปรากฎบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่เข้ามาตรา ๓(๒) ดังนั้นขณะที่ลุงตู่เกิดจึงยังไม่ได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตมารดา ได้เพียงสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตบิดาและหลักดินแดน  แต่ต่อมาได้มีการแก้ไขกฎหมายสัญชาติ โดยเพิ่มหลักสืบสายโลหิตมารดา โดยมาตรา ๔  พ.ร.บ.สัญชาติฉบับ๒ ปี ๒๕๓๕ ที่ได้แก้ความในมาตรา ๗ พ.ร.บ.สัญชาติปี๒๕๐๘ โดยมาตรา ๗(๑)แก้เป็น"ให้บุคคลมีสัญชาติไทยถ้าเป็นผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือเกิดนอกราชอาณาจักร" เป็นการแก้ไขให้บุตรได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายบิดาหรือ สืบสายโลหิตมารดาได้อย่าง ไม่มีเงื่อนไขหากว่ามารดามีสัญชาติไทยบุตรก็จะได้สัญชาติไทย ไม่ติดเงื่อนไขว่าต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏบิดาเท่านั้นเหมือนแต่เดิม และมาตรา๑๐ ก็ให้บทบัญญัติที่แก้ไขดังกล่าวมีผลบังคับใช้แก่ผู้ที่เกิดก่อนวันที่พ.ร.บ.ปี๓๕ ใช้บังคับด้วย ดังนั้นหลักสืบสายโลหิตมารดา จึงมีผลย้อนหลังมาให้คุณแก้ผู้ที่เกิดก่อนวันที่๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ (วันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติฉบับที่๒ปี๓๕) ในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย

                    เช่นนี้เมื่อพระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้ ลุงตู่จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตมารดาด้วย ตามมาตรา ๗(๑)พรบ.สัญชาติ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สัญชาติ(ฉบับ๒) ๒๕๓๕ ได้สัญชาติตามหลักนี้เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ 

สรุป ลุงตู่มีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตบิดา ตามมาตรา ๓(๑) และหลักดินแดน มาตรา ๓(๓) พรบ.สัญชาติ ๒๔๕๖ และมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตมารดา ตามมาตรา ๗(๑)พรบ.สัญชาติ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สัญชาติ(ฉบับ๒) ๒๕๓๕

ตามกรณีที่ ๑ นี้ลุงตู่จะไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามปว.๓๓๗ เนื่องจากทั้งบิดาและมารดาของลุงตู่เป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติดังกล่าว




กรณี ๒ กรณีที่บิดามารดาลุงตู่อยู่กินกันหลังปี พศ.๒๔๖๘ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกาศใช้แล้ว แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ทำให้บิดามารดาลุงตู่เป็นสามีภรรยาที่มิชอบด้วยกฎหมาย และบิดาไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของลุงตู่ มารดาของลุงตู่เป็นผู้มีสัญชาติไทยและลุงตู่เกิดในประเทศไทย


มาตรา ๓ พระราชบัญญัติสัญชาติ ๒๔๕๖ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่มีผลบังคับใช้ขณะที่ลุงตู่เกิดบัญญัติว่า      

“ บุคคลเหล่านี้ได้บัญญัติว่าเป็นคนไทย คือ
(๑) บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่บิดาเป็นคนไทย แม้เกิดในพระราชอาณาจักรก็ดี เกิดนอกพระราชอาณาจักรก็ดี
(๒) บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่มารดาเป็นคนไทยแต่ฝ่ายบิดาไม่ปรากฏ
(๓) บุคคลผู้ได้กำเนิดในพระราชอาณาจักรสยาม

                 เมื่อไม่ปรากฎบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายดังนั้น จึงไม่พิจารณาสิทธิในสัญชาติไทยของลุงตู่ ตามมาตรา ๓(๑) เนื่องจากการจะมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักสืบสายโลหิตบิดา ตามมาตราดังกล่าวนั้น บิดาจะต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่หากว่าบิดาของลุงตู่เป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลุงตู่จึงไม่ได้สิทธิในสัญชาติไทยตามบิดา

                แต่อย่างไรก็ดีกรณีนี้จึงเป็นกรณีที่ ลุงตู่มีมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยแต่ฝ่ายบิดาไม่ปรากฎ (ไม่ปรากฎบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย) ตามมาตรา ๓(๒) เมื่อมารดาลุงตู่เป็นผู้มีสัญชาติไทย และไม่ปรากฎบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ลุงตู่จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตมารดา ตามมาตรา ๓(๒) พ.ร.บ.สัญชาติปี๒๔๕๖ และถ้าลุงตู่เกิดที่ประเทศไทย ลุงตู่ก็จะมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักดินแดน ตามมาตรา ๓(๓) พ.ร.บ.สัญชาติปี๒๔๕๖ ด้วย

                 พิจารณาการถูกถอนสัญชาติ 

โดยที่การประกาศคณะปฏิวัติที่ ๓๓๗  เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ ให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในประเทศไทยบางกลุ่มดังที่บัญญัติในข้อ ๑ ของประกาศดังนี้

“ ข้อ ๑ ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะทีเกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น
(๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นพิเศษเฉพาะราย
(๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ
(๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
 ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสั่งเฉพาะรายเป็นประการอื่น

                  กรณีที่๒นี้ ลุงตู่จะไม่ถูกถอนสัญชาติไทย เนื่องจาก ประกาศบัญญัติว่า ให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว ซึ่งบิดาเป็นคนต่างด้าวนี้ ต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการที่ลุงตู่ไม่มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่ต้องพิจารณาถึงความเป็นคนต่างด้าวของบิดา  แต่ต้องพิจารณาถึงความเป็นคนต่างด้าวของมารดา ซึ่งถ้าหากว่ามารดาของลุงตู่เป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฎบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้ ลุงตู่ก็จะเสียสิทธิในสัญชาติไทย แต่มารดาของลุงตู่เป็นผู้มีสัญชาติไทย ลุงตู่จึงไม่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว

สรุป ดังนั้นเมื่อลุงตู่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตมารดา ตามมาตรา ๓(๒) พ.ร.บ.สัญชาติปี๒๔๕๖ และ โดยการเกิดโดยหลักดินแดน ตามมาตรา ๓(๓) พ.ร.บ.สัญชาติปี๒๔๕๖ และลุงตู่ไม่ได้ถูกถอนสัญชาติแต่อย่างใด ลุงตู่จึงยังคงเป็นผู้ทรงสิทธิในสัญชาติไทยอยู่ถึงปัจจุบัน




กรณีที่ ๓ ปรากฏข้อเท็จจริงว่าบิดาลุงตู่เป็นบิดาที่ชอบโ้ดยกฎหมาย (เนื่องจากบิดา

กับมารดาลุงตู่เป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายจารีตประเพณี แต่บิดาลุงตู่เป็นคน

ต่างด้าว หรือบิดาลุงตู่ไม่มีเอกสารยืนยันตัวบุคคลและถูกสันนิษฐานว่าเป็นคนต่างด้าว 

โดยมารดาของลุงตู่เป็นผู้มีสัญชาติไทย และลุงตู่เกิดในประเทศไทย 


มาตรา ๓ พระราชบัญญัติสัญชาติ ๒๔๕๖ ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่มีผลบังคับใช้ขณะที่ลุงตู่เกิดบัญญัติว่า      

“ บุคคลเหล่านี้ได้บัญญัติว่าเป็นคนไทย คือ
(๑) บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่บิดาเป็นคนไทย แม้เกิดในพระราชอาณาจักรก็ดี เกิดนอกพระราชอาณาจักรก็ดี
(๒) บุคคลผู้ได้กำเนิดแต่มารดาเป็นคนไทยแต่ฝ่ายบิดาไม่ปรากฏ
(๓) บุคคลผู้ได้กำเนิดในพระราชอาณาจักรสยาม

                   ในขณะที่ลุงตู่เกิด เมื่อปรากฎว่าลุงตู่มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย สิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตของลุงตู่จึงต้องเป็นไปตามบิดา ตามมาตรา ๓(๑)  จะไม่นำมาตรา ๓(๒) หลักสืบสายโลหิตมารดามาพิจารณาสิทธิในสัญชาติไทยของลุงตู่ เพราะ พรบ.สัญชาติ๒๔๕๖ ซึ่งเป็นพรบ.สัญชาติฉบับที่ใช้บังคับขณะที่ลุงเกิด บัญญัติให้บุตรได้สัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิตมารดาก็ต่อเมื่อ มารดาเป็นคนไทยแต่ฝ่ายบิดาไม่ปรากฎเท่านั้น เมื่อปรากฎบิดาจึงไม่นำหลักสืบสายโลหิตมารดามาพิจารณา

                  เมื่อปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงพิจารณาสิทธิในสัญชาติไทยของลุงตู่ตามมาตรา ๓(๑) แต่เมื่อบิดาของลุงตู่เป็นคนต่างด้าวหรือถูกสันนิษฐานว่าเป็นคนต่างด้าว ลุงตู่จึงไม่ได้สัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิตบิดาตาม มาตรา ๓(๑) พรบ.สัญชาติ๒๔๕๖

                   และในขณะที่ลุงตู่เกิด ลุงตู่ยังไม่ได้สัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิตมารดาตามมาตรา  ๓(๒) เนื่องจากจะนำมาตรานี้มาพิจารณาก็ต่อเมื่อไม่ปรากฎบิดา แต่ตามกรณีที่ ๓ นี้ ปรากฎบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย หลักสืบสายโลหิตมารดาของลุงตู่จึงไม่ถูกพิจารณา 

                   แต่การที่ลุงตู่เกิดในประเทศไทย ลุงตู่จึงมีสิทธิในสัญชาติไทยตามมาตรา ๓(๓) พรบ.สัญชาติ ๒๔๕๖ ซึ่งเป็นสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักดินแดน 

สรุป ตามกรณีที่ ๓ ในขณะที่ลุงตู่เกิด ลุงตู่จะเป็นผู้มีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักดินแดน ตามมาตรา ๓(๓) พรบ.สัญชาติ ๒๔๕๖ (เท่านั้น )

                   พิจารณาถึงการถูกถอนสัญชาติ 

โดยที่การประกาศคณะปฏิวัติที่ ๓๓๗  เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ ให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในประเทศไทยบางกลุ่มดังที่บัญญัติในข้อ ๑ ของประกาศดังนี้

“ ข้อ ๑ ให้ถอนสัญชาติไทยของบรรดาบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และในขณะทีเกิด บิดาหรือมารดานั้นเป็น

(๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นพิเศษเฉพาะราย
(๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ
(๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ทั้งนี้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสั่งเฉพาะรายเป็นประการอื่น
                      กรณีที่ ๓ นี้ การที่ลุงตู่มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวหรือถูกสันนิษฐานว่าเป็นคนต่างด้าว และถ้าขณะเกิดบิดาของลุงตู่เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองไม่ถูกกฎหมาย การได้สัญชาติไทยของลุงตู่โดยการเกิดโดยหลักดินแดน ตามมาตรา ๓(๓) พรบ.สัญชาติ ๒๔๕๖ จึงถูกถอนตามประกาศคณะปฏิบัติฉบับนี้ เพราะประกาศฉบับดังกล่าวเพียงแค่มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมารดา คนใดคนหนึ่ง เป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองไม่ถาวร บุตรก็จะตกอยู่ภายใต้ประกาศฉบับนี้ อันจะทำให้ถูกถอนสัญชาติไทย 
                       (อย่างไรก็ดี การไม่ทราบข้อมูลใดๆเลย การจะสันนิษฐานให้บุคคลใด ตกอยู่ภายใต้ปว.337 นั้น ต้องสันนิษฐานถึง 3 ประการคือ 1.สันนิษฐานว่าบิดาหรือมารดาบุคคลนั้นเป็นคนต่างด้าว 2.สันนิษฐานว่าบิดาหรือมารดาตามข้อหนึ่งนั้น ต้องมีการเข้าเมืองไทยมา (ไม่ได้เกิดในไทย) 3.สันนิษฐานว่าบิดาหรือมารดานั้นๆ ได้เข้ามายังประเทศไทยหลังปี พศ.2470 อันทำให้เป็นคนเข้าเมืองไม่ถาวร จึงเกิดคำถามว่า การสันนิษฐานถึงสามประการอันจะทำให้เป็นโทษแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำได้หรือไม่ หรือมีกฎหมายอนุญาตให้สันนิษฐานให้เป็นโทษแก่บุคคลเช่นนี้ได้หรือไม่)

                      ดังนั้น เมื่อประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี้ออกมาเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕ ลุงตู่ได้เสียสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดที่เคยได้มาโดยหลักดินแดน ทำให้ไม่มีสิทธิในสัญชาติไทย หลังจากวันที่ประกาศฉบับนี้ออกมา อย่างไรก็ดีต้องพิจารณาถึงการกลับมาได้สัญชาติไทยของลุงตู่ต่อไป

                      พิจารณาถึงการกลับมาได้สัญชาติไทย 

                      ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับ๒) ๒๕๓๕ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติสัญชาติ ๒๕๐๘ โดยในมาตรา ๔ พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับ๒) ปี ๒๕๓๕ ที่ได้แก้ความในมาตรา ๗ พ.ร.บ.สัญชาติปี๒๕๐๘ โดยมาตรา ๗(๑)ของพรบ.สัญชาติ๒๕๓๕ แก้เป็น"ให้บุคคลมีสัญชาติไทยถ้าเป็นผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือเกิดนอกราชอาณาจักร" เป็นการแก้ไขให้บุตรได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายบิดาหรือ โดยสืบสายโลหิตมารดาได้ อย่างไม่มีเงื่อนไขหากว่ามารดามีสัญชาติไทยบุตรก็จะได้สัญชาติไทย ไม่ติดเงื่อนไขว่าต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏบิดาเท่านั้นเหมือนแต่เดิม และมาตรา๑๐ ก็ให้บทบัญญัติที่แก้ไขดังกล่าวมีผลบังคับใช้แก่ผู้ที่เกิดก่อนวันที่พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับ๒)๒๕๓๕ ใช้บังคับ ดังนั้นหลักสืบสายโลหิตมารดา จึงมีผลย้อนหลังมาให้คุณแก้ผู้ที่เกิดก่อนวันที่๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ (วันที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติฉบับที่๒ปี๓๕) ในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย 

                      เช่นนี้เมื่อพระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้ ลุงตู่จึงกลับมามีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตมารดา ตามมาตรา ๗(๑)พรบ.สัญชาติ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สัญชาติ(ฉบับ๒) ๒๕๓๕ ได้สัญชาติตามหลักนี้เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕ 

                       และลุงตู่ก็ยังกลับมามีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักดินแดน ตามมาตรา ๗(๒) พรบ.สัญชาติ ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สัญชาติ(ฉบับ๒)๒๕๓๕ บัญญัติว่า 

มาตรา ๗ "บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด
(๑) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร
(๒) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคหนึ่ง"
พิจารณาประกอบกับมาตรา ๗ ทวิ โดยมาตรา ๗ ทวิ บัญญัติว่า 

มาตรา ๗ ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น
(๑) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
(๒) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ
(๓) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
                        เมื่อปรากฎว่า ลุงตู่เกิดในประเทศไทยตามมาตรา ๗(๒) และ ลุงตู่ไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา ๗ ทวิ เพราะบิดาและมารดาไม่ได้เป็นคนต่างด้าวทั้งคู่ ตามที่เป็นเงื่อนไขอันจะทำให้ไม่ได้สัญชาติไทย เนื่องจาก มารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แม้ บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของลุงตู่จะเป็นคนต่างด้าวหรือถูกสันนิษฐานให้เป็นคนต่างด้าว ลุงตู่ก็ไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา ๗ ทวิแต่อย่างใด (ต้องมีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าวทั้งคู่จึงจะไม่ได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดนตามมาตรา ๗ ทวิ )

สรุป เช่นนี้ ลุงตู่จึงกลับมามีสัญชาติไทยอีกครั้งโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตมารดา มาตรา ๗(๑) พรบ.สัญชาติ ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สัญชาติ(ฉบับ๒)๒๕๓๕ และหลักดินแดน มาตรา ๗(๒) พรบ.สัญชาติ ๒๕๐๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สัญชาติ(ฉบับ๒)๒๕๓๕ (โดยไม่ตกอยู่ภายใต้มาตรา ๗ ทวิ) เมื่อวันที่  ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕  เป็นต้นมา


                   

                         *** โดยที่เราต้องมีความเข้าใจว่า สิทธิที่จะมีสัญชาติเป็นคนละเรื่องกับสิทธิที่จะใช้สัญชาติ การใช้สิทธิในสัญชาติย่อมจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อได้รับการยอมรับจากรัฐเจ้าของสัญชาติ (State Recognition) และประสิทธิภาพของการใช้สิทธิย่อมเกิดเมื่อมีการรับรองโดยรัฐเจ้าของสัญชาติในทะเบียนราษฎรของรัฐนั้น[๑]

และในเรื่องของสิทธิในสัญชาติ  รัฐไทยมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะต้องนำมาคำนึงด้วยดังนี้[๒]

จารีตประเพณีระหว่างประเทศ

·  ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.๑๙๔๘ ข้อ ๑๕

(๑)บุคคลมีสิทธิในการถือสัญชาติ

(๒)การถอนสัญชาติโดยพลการ หรือการปฏิเสธสิทธิที่จะเปลี่ยนสัญชาติของบุคคลใดนั้นจะกระทำมิได้

สนธิสัญญา

·  Convention on Certain Questions relating to the Conflict of Nationality Law (The Hague,12 April 1930) Entry into force generally : 1 July 1937

Article1 It is for each State to determine under its own law who are its nationals.  This law shall be recognized by other State in so far as it is consistent with international convention, international custom, and the principles of law generally recognized with regard to nationality.

Article2 Any question as to whether a person possesses the nationality of a particular State shall be determined in accordance with the law of that State.

Article3 Subject to the provisions of the present Convention, a person having two or more nationalities may be regarded as its national by each of the States whose nationality he possesses.

·  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่ง (พลเมือง) และทางการเมืองค.ศ.๑๙๖๖ ข้อ ๒๔

๑. เด็กทุกคนย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็นตามสถานะของผู้เยาว์ จากครอบครัวของตน สังคมและรัฐ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน หรือกำเนิด
๒. เด็กทุกคนต้องได้รับการจดทะเบียนทันทีภายหลังการเกิด และต้องมีชื่อ
๓. เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้มาซึ่งสัญชาติ

·  อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.๑๙๘๙ ข้อที่ ๗

๑. เด็กจะได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และจะมีสิทธิที่จะมีชื่อนับตั้งแต่เกิด และสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ และเท่าที่จะเป็นไปได้ สิทธิที่จะรู้จัก และได้รับการดูแลเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตน

๒. รัฐภาคีจะประกันให้มีการปฏิบัติตามสิทธิเหล่านี้ตามกฎหมายภายในและพันธกรณีของรัฐภาคี ที่มีอยู่ภายใต้ตราสารระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เด็กจะตกอยู่ในสถานะไร้สัญชาติ  



[๑] เอกสารประกอบการเรียนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล:สิทธิในความเป็นคนสัญชาติ โดยรศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิ

หมายเลขบันทึก: 516874เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2013 02:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พิจารณาวิเคราะ์ห์ในทุกประเด็น ลุงตู่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยบทบัญญัติของกฎหมาย การลงรายการบุคคลของลุงตู่ไว้เป็นบุคคลประเภท ๐  เป็นขั้นตอนการสำรวจจข้อมูลเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่การจัดทำทะเบียนราษฎรให้ถูกต้อง ตาม พรบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔  (ไม่ต้องดำเนินการขอสัญชาติตาม พรบ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘)

กรณีของลุงตู่ ไม่เข้ากรณี "การให้สัญชาติไทย และการให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่กลุ่มเป้าหมายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553"

กรณีของลุงตู่ ต้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ตามข้อ ๙๓ แห่ง

ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรพ.ศ. ๒๕๓๕

เพราะเป็นบุคคสัญชาติไทย เกิดก่อนวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๔๙๙ (ก่อน พรบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๔๙๙)

"การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้าน"

ข้อ ๙๓  คนสัญชาติไทยไม่มีชื่อและรายการบุคคลอยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร. ๑๔) เพราะตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๔๙๙ มีความประสงค์จะขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร. ๑๔) ให้ยื่นคำร้องตามแบบพิมพ์ที่กำหนดต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน เมื่อนายทะเบียนได้รับคำร้องแล้วให้ดำเนินการ ดังนี้

(๑) สอบสวนผู้ร้อง เจ้าบ้าน และบุคคลที่น่าเชื่อถือ และหลักฐานอื่นเพิ่มเติม (ถ้ามี)

(๒) ให้ตรวจสอบไปยังสำนักทะเบียนกลาง ว่าผู้ร้องมีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้านแห่งอื่นหรือไม่

(๓) รวบรวมหลักฐานทั้งหมดพร้อมความเห็น เสนอไปยังนายอำเภอแห่งท้องที่

(๔) เมื่อนายอำเภอพิจารณาอนุมัติแล้ว ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นดำเนินการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน พร้อมทั้งหมายเหตุในช่องย้ายเข้ามาจากว่า “คำร้องที่… ลงวันที่… หรือ หนังสือที่…ลงวันที่ …” แล้วแต่กรณี แล้วให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อและวันเดือนปีกำกับไว้

(๕) กำหนดเลขประจำตัวประชาชนให้แก่ผู้ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามแบบพิมพ์ที่กำหนดในข้อ ๑๓๔ (๒๒)

(๖) รายงานตามระเบียบที่กำหนดในข้อ ๑๓๒ (๕)


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท