จิ๊บ พัชรี
นักศึกษากิจกรรมบำบัด พัชรี รุ่งฉัตร

หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลเด็กกับวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


       โรคทางจิตเวชในเด็กและวัยรุ่น เป็นกลุ่มโรคที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก และวัยรุ่น มีอาการต่อเนื่องไปในวัยผู้ใหญ่ หรืออาจเป็นกลุ่มโรคที่เพิ่งวินิจฉัยในวัยผู้ใหญ่ แต่เริ่มมีอาการตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งโรคทางจิตเวชนี้จะมีผลกระทบต่อทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้ความสามารถในการทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วมลดลง โดยสามารถอธิบายตาม ICF Model ดังภาพข้างล่าง

                                         

Health Condition = กลุ่มโรคทางจิตเวช ในเด็กและวัยรุ่นมีหลายโรค ตัวอย่างเช่น

  • Mental retardation
  • Learning  disability
  • Motor skill disorder
  • Communication disorder
  • Pervasive Developmental Disorder
  • Attention Deficit Hyperactivity Disorder
  • Feeding & eating Disorder

Body function & structure impairment = ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทั้งด้านโครงสร้างและการทำหน้าที่ของร่างกาย ตัวอย่างเช่น

  • วิตกกังวล ประสาทหลอน หวาดระแวง
  • ไม่ทานอาหาร น้ำหนักลด ร่างกายทรุดโทรม
  • ซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย
  • ระดับ Cognitive ลดลง
  • มีความบกพร่องในการสื่อสาร การวางแผนการเคลื่อนไหว

Activity limitation = เกิดข้อจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆ อันเนื่องมาจากสภาพร่างกายและจิตใจ และเมื่อไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ ย่อมส่งผลให้เกิด Participation restriction = ข้อจำกัดในการมีส่วนร่วม ในด้านต่างๆ เช่น การเข้าสังคม การพบปะทำกิจกรรมในชมรมกีฬา การทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนที่โรงเรียน เป็นต้น

ซึ่งนอกจากจะพิจารณาในส่วนที่ได้กล่าวมาแล้ว เรายังพิจารณาบริบทอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ Environmental & Personal Factor ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

จะเห็นได้ว่ากลุ่มโรคทางจิตเวชนั้น ส่งผลกระทบหลายด้าน ซึ่งทำให้ความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupation) ลดลง โดยเฉพาะในเด็กและวันรุ่นซึ่งมีบทบาทการเป็นนักเรียน มีสังคมและโลกกว้างที่รอให้เข้าไปเรียนรู้ (Occupation ที่สำคัญ =Education & Play) นักกิจกรรมบำบัดจิตมีบทบาทสำคัญในการดูแล ส่งเสริม และฟื้นฟูผู้ป่วยในกลุ่มนี้ โดยจะมีหลักการที่แตกต่างกันไปในวัยเด็กและวัยรุ่น

หลักการทางกิจกรรมบำบัด

การประเมิน ใช้ MOHO เพื่อพิจารณาเจตจำนง ลักษณะนิสัยและความสามารถในการทำกิจกรรม

เด็ก

  • ใช้การสัมภาษณ์จากตัวเด็กเอง ควรใช้ภาษาง่ายๆเข้าใจได้ง่าย เริ่มจากการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้เด็กไว้ใจ แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ออกมาให้ได้มากที่สุด
  • ใช้การสัมภาษณ์จากผู้ปกครองหรือผู้ที่ดูแลเด็ก เพราะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุดทำให้เห็นพฤตกรรมการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมต่างๆ รวมทั้งปัญหาที่ผู้ปกครองเป็นกังวล ซึ่งในวัยเด็กนั้นอาจมีปัญหาด้านการสื่อสาร ไม่สามารถเข้าใจและบอกปัญหาของตนเองได้
  • การใช้การสังเกตผ่านการทำกิจกรรมที่วิเคราะห์แล้ว โดยนักกิจกรรมบำบัดต้องจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการประเมิน อาจจัดในรูปแบบของกิจกรรมเดียวหรือกลุ่ม กิจกรรมการฉายภาพทางจิต หรือการปล่อยให้เล่นอิสระในเด็กเล็ก โดยสังเกตพฤติกรรม การแสดงออก การสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์ ว่าเหมาะสมหรือไม่ ในเด็กควรสังเกตโดยอิงตามพัฒนาการของเด็กด้วย
  • ประเมินเกี่ยวกับความสามารถในการทำกิจกรรม กิจกรรมการดูแลตนเอง กิจกรรมการเรียน กิจกรรมการเล่น

วัยรุ่น

  • ใช้การสัมภาษณ์ผู้รับบริการเองเลย วันรุ่นเป็นวัยที่มีระดับความรู้ความเข้าใจมากขึ้น สามารถเข้าใจและบอกปัญหาของตนเองได้ อีกทั้งยังมีความคิดเป็นของตัวเอง หากใช้การสัมภาษณ์จะทำให้ได้ข้อมูลจากความรู้สึก เราเห็นเกี่ยวกับจิตใจของเขา
  • จะใช้การสัมภาษณ์ผู้ปกครองและผู้ใกล้ชิดเช่นเดียวกับเด็ก
  • การใช้การสังเกตผ่านการทำกิจกรรมที่วิเคราะห์แล้ว โดยมีแบบประเมิน COTE, แบบประเมินพลังชีวิตของกลุ่มกิจกรรมพลวัติ
  • ประเมินเกี่ยวกับความสามารถในการทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมการดูแลตนเอง กิจกรรมการเรียน การมีส่วนร่วมในสังคม
  • ประเมินความสนใจในการทำกิจกรรม

สิ่งที่ต้องได้จากการประเมิน

1.  ปัญหาของผู้รับบริการคืออะไร

2.  ปัญหาที่ผู้รับบริการ และ/หรือผู้ดูแลเป็นกังวล

3.  ปัญหาเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างไร


ให้การบำบัด พิจารณากรอบอ้างอิง MOHO เพื่อใช้ในการบำบัดฟื้นฟู โดยดูจากค่านิยม เจตจำนง นิสัย ความสนใจ ความถนัดและทักษะการแสดงออก รวมทั้งดูภายในบริบทของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการด้วย

เด็ก

  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับเด็กและผู้ปกครอง
  • การจัดกิจกรรมโดยพิจารณาจากความสนใจของเด็ก เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรม รวมถึงกิจกรรมกลุ่ม
  • การปรับพฤติกรรม เช่นการให้แรงเสริม การลงโทษโดยวิธีการที่เหมาะสม การวางเงื่อนไข
  • การจัดกิจกรรมในบริบทและสถานการณ์จริง เพื่อให้เด็กได้รู้จักการแสดงออกพฤติกรรม อารมณ์อย่างเหมาะสม
  • การปรับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ไม่ให้มีสิ่งเร้ารบกวนขณะทำการบ้าน ในเด็ก ADHD เป็นต้น

วัยรุ่น

  • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมทั้งการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับตัววัยรุ่นเองและผู้ปกครอง
  • การจัดกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ได้แสดงออกทางพฤติกรรมและอารมณ์ที่เหมาะสม ได้เรียนรู้ทักษะทางสังคม
  • เรียนรู้เทคนิคการจัดการความเครียด
  • ส่งเสริมกิจกรรมยามว่าง การทำกิจกรรมตามความสนใจ
  • กิจกรรมทางร่างกาย เพื่อให้ได้ระบายแรงขับอย่างเหมาะสม เช่น กีฬา
  • เทคนิคการทำ CBT เพื่อให้รับรู้ความเป็นจริงเกี่ยวกับปัญหาของตนเอง ผลกระทบที่เกิดขึ้น และการแก้ไขปัญหานั้น
  • การให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้สารเสพติด เป็นวัยที่มีความเสี่ยง

การประเมินซ้ำ เพื่อดูผลจากการให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัด สามารถประเมินได้หลายวิธี

เด็ก

  • การสัมภาษณ์จากผู้ปกครองถึงพฤติกรรม การแสดงออก
  • แบบประเมินระดับ Cognitive
  • แบบประเมินพฤติกรรมการปรับตัว เช่น Vineland Adaptive Behavior Scale
  • ประเมินการเล่น เหมาะสมกับพัฒนาการหรือไม่
  • ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรม เช่น SAFE, COPM

วัยรุ่น

  • การสัมภาษณ์จากผู้รับบริการเอง ดูการปรับตัวทางจิต
  • การสัมภาษณ์จากผู้ปกครองถึงพฤติกรรม การแสดงออก
  • แบบประเมินระดับ Cognitive
  • แบบประเมินพฤติกรรมการปรับตัว เช่น Vineland Adaptive Behavior Scale
  • ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรม เช่น SAFE, COPM
  • ประเมินความสุข ความพึงพอใจ
การให้การบริการทางกิจกรรมบำบัดเป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ช่วยกลุ่มผู้รับบริการทางจิตเวช ยังคงมีการรักษาทางการแพทย์อื่นๆอีก นอกจากนี้การวางแผนการรักษาควรคำนึงถึงผู้รับบริการและความต้องการของญาติ รวมทั้งการให้ home program ด้วย 

หมายเลขบันทึก: 516237เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2013 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2014 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท