หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลผู้ใหญ่กับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


บทบาทหนึ่งของนักกิจกรรมบำบัด คือกิจกรรมบำบัดจิตสังคมในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ซึ่งความบกพร่องนั้นส่งผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆ

ตัวอย่างโรคทางจิตเวชในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ได้แก่

  • โรคอารมณ์แปรปรวน (Mood disorders)
  • โรคสมองเสื่อม (Dementia)
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia)
  • บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality disorders)
  • การใช้สารในทางที่ผิด (Substance abuse) 
        เป็นต้น

การตรวจประเมิน

เป็นข้อมูลที่นำไปประกอบกับประวัติต่างๆ เพื่อประเมินปัญหาทางจิตเวช โดยได้ทั้งจากการสัมภาษณ์ และการทดสอบจากแบบประเมินต่างๆ เช่น The Allen Cognitive Level Screen, Interest Checklist, COPMเป็นต้น ในผู้สูงอายุควรมีการประเมินเพิ่มเติม เช่น แบบประเมิน FACIT-Sp, Berg Balance Scale เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแบบประเมินอื่นๆที่เกี่ยวข้องซึ่งควรเลือกให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละบุคคล

การรวบรวมข้อมูล

เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจประเมินมาบันทึกเพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตตามกรอบอ้างอิง

การตั้งเป้าประสงค์

วัยผู้ใหญ่: เน้นส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเอง (Self-care), สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง, การทำกิจกรรมยามว่าง รวมไปถึงการทำกิจกรรมเพื่อการประกอบอาชีพได้ นอกจากนี้ควรได้รับการส่งเสริมทางด้านการมีส่วนร่วมในสังคม, การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น, การจัดการตนเอง, การจัดการอารมณ์และความเครียด

ผู้สูงอายุ: เน้นส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองได้ (Self-care) โดยมีการปรับ/ประยุกต์ให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละบุคคล, การทำกิจกรรมยามว่าง และ การมีส่วนร่วมในสังคม รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมก่อนการเสียชีวิต การจัดการตนเองได้อย่างเหมาะสม

            การวางแผนการรักษาเป็นการทำตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ และมีการประเมินซ้ำเพื่อประเมินหลังเข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัด การจัดกิจกรรมการรักษาในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุควรเป็นการทำกิจกรรมในสถานการณ์จริงและจำลอง ไม่เป็นในรูปแบบของการเล่น และไม่ควรใช้คำพูดที่ใช้ในการสอน เพราะการใช้การสอนหรือการเล่น เป็นการจัดกิจกรรมในเด็กมากกว่า

            การส่งเสริมความสามารถในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม ทำให้ผู้รับบริการเกิดความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง (Self-Value) ซึ่งจะนำไปสู่ Self-esteem, Self-confidence และ Self efficiency ตามมา


หมายเลขบันทึก: 516206เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2013 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2013 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท