กิจกรรมบำบัดกับผู้รับบริการระยะสุดท้าย


ในวันที่ 9 มกราคม ที่ผ่านมา ดิฉันได้เข้ารับฟังการบรรยายเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of care) ซึ่งจากการฟังบรรยาย ดิฉันได้ใจความสำคัญ และได้นำไปปรับประยุกต์ใช้กับวิชาชีพกิจกรรมบำบัดดังนี้

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับวินิจฉัยแล้วว่าสภาวะของการป่วยไข้เป็นระยะลุกลาม เรื้อรัง หรือเป็นการป่วยไช้ ที่เข้าสู่ระยะม้ายๆ ของโรค ซึ่งไม่มีวิธีรักษาให้หายได้ 

การปิดยังผู้รับบริการเมื่อมีอาการระยะสุดทเาย จะทำให้ผู้รับบริการไมได้วางแผนชีวิต หรือไม่ได้มีโอกาสได้วางแผนและทำสิ่งต่างๆ ที่ยังค้างคาอยู่ใหเเสร็จเรียบร้อย 

เป้าหมายของการดูแลรักษาผู้รับบริการระยะสุดท้าย

1.ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

2.บรรเทาอาหารทุกข์ทรมานต่างๆ ทั้งกายและจิตใจ

3.ช่วยให้ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงและความสูญเสียต่างๆ 

4.ช่วยให้ได้ทำภารกิจต่ารงๆ ที่ยังห่วงและกังวลใจให้สำเร็จ

5.ช่วยให้เสียชีวิตอย่างสมศักศรีของความเป็นมนุษย์ คือ ได้รับการรักษาดูแลอย่างเต็มที่ มีความทรมานน้อยที่สุด

6.ป้องกันปัญหาต่างๆ ซึ่งเกิดจากความโศกเศร้าสูญเสียของครอบครัว ภายหลังจากการเสียชีวิตของผู้รับบริการ

ซึ่งในฐานะนักกิจกรรมบำบัด เราจึงมีหน้าที่ที่จะดูแลบำบัดรักษาผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการมีความสุข รู้สึกว่าชีวิตตนเองนั้นมีคุณค่า ให้ผู้รับบริการนึกถึงแต่สิ่งที่ดีๆ ได้ทำในกิจกรรมที่อยากทำ โดยเราจะมองโดยใช้ Psychospiritual integrationFrame of reference ซึ่งเราจะยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ผู้รับบริการเกิด Well-being และ Qualit of life 

Psychospiritual integrationFrame of reference ประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

Becoming ผู้รับบริการมีความเข้าใจ อาการและผลกระทบของโรคที่ตนเองเป็นอยู่ 

Meaning :นักกิจกรรมบำบัดต้องหากิจกรรมที่มีความหมายแก่ผู้รับบริการ ผู้รับบริการให้คุณค่ากับกิจกรรมนั้นๆ หรือกิจกรรมนั้นๆ มีคุณค่ากับผู้รับบริการ นักกิจกรรมบำบัด จะดัดแปลงและปรับ เพื่อให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า และมีความสุข

Centredness : ให้ผู้รับบริการระลึกถึงสิ่งที่มีคุณค่าต่อตนเอง และสิ่งที่ทำให้ตนเองรู้สึกมีความสุข

Connectedness : นำเอาองค์ประกอบสิ่งแลดล้อม รอบตัวผู้รับบริการและบริบทต่างๆ มาวิเคราะห์เพื่อจัดกิจกรรมให้ผู้รับบริการ เช่น สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ เป็นต้น ซึ่้งความเชื่อในแต่ละศาสนาก็จะแตกต่างกันไป ดังนั้น เราจึงควรหาข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาต่างๆ ไว้ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับประโยชน์สูงสุดจากการบำบัดรักษาในระยะสุดท้ายนี้ 

Transcendence : ผู้รับบริการสามารถมีความสุขในช่วงสุดท้ายของชีวิต โดยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และตายอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และมีความทุกข์ทรมานน้อยที่สุด

ในระยะนี้คนในครอบครัวสำคัญที่สุด เนื่องจากผู้รับบริการบางคนก็กลัวความตาย กลัวที่จะต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆในโลกหน้า เราอาจจะต้องมารับฟังเพื่อให้เค้าได้ระบายสิ่งที่ไม่สบายใจออกมา หรือ อาจจะนิมนต์พระมาสวด ให้ผู้รับบริการได้ฟังเทศน์ ในจิตในได้สงบ(ในที่นี้ เราต้องดูด้วยว่าผู้รับบริการนับือศาสนาใด ให้ทำตามศาสนานั้น)

นอกจากเราจะต้องดูแลจิตใจของผู้รับบริการแล้ว จิตใจของญาติของผู้รับบริการก็มีความสำคัญเช่นกัน เราต้องให้ความรู้พูดให้เค้าทำใจ หรือว่ารับฟังสิ่งต่างๆ ที่ญาติอยากจะระบายออกมา 



หมายเลขบันทึก: 516198เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2013 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2013 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท