กิจกรรมบำบัดในเด็ก Vs. วัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


          เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม ก้าวร้าว รุนแรง มีปัญหาการเข้าสังคม มีปัญหาในการเคี้ยวกลืน ผู้ปกครองบางท่านอาจไม่ทราบว่าบุตรของตนเองนั้นอาจมีอาการที่เข้าข่ายอาการทางจิตเวชได้ด้วย ดังนั้นโรคหรือความผิดปกติในทางจิตเวชเด็กตามเกณฑ์วินิจฉัยของระบบ DSM IV ได้แบ่งออกเป็น 10 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มยังมีชนิดโรคย่อยๆอีกหลายประการได้แก่

1) Mental Retardation หมายถึงการมีระดับเชาว์ปัญญา (IQ) ต่ำกว่า 70 และทำให้ความสามารถในการดำรงชีวิตบกพร่องไป โดยเกิดขึ้นก่อนอายุ 18 ปี แบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น mild, moderate, severe, และ profound
2) Learning Disorders คือความผิดปกติของสมองในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ อันได้แก่
- Reading disorder คือเด็กมีปัญหาในการอ่านให้เข้าใจ
- Mathematics disorder คือเด็กมีปัญหาในเรื่องคณิตศาสตร์
- Disorder of written expression คือ เด็กมีปัญหาในการเขียนแสดงสื่อความหมาย
3) Motor Skills Disorders มีความผิดปกติของการประสานงานของกล้ามเนื้อ
4) Communication Disorders มีความผิดปกติในด้านการสื่อสารไม่ว่าภาษาพูด หรือภาษามือ (sign language) ซึ่งอาจเป็นเพราะความผิดปกติในด้านการแสดงออก การรับและตีความหมาย การออกเสียง ติดอ่าง เป็นต้น
5) Pervasive Developmental Disorders คือความผิดปกติในด้านพัฒนาการหลายด้าน ได้แก่ การโต้ตอบเข้าใจภาษา การมีความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดรอบข้าง และ การมีความคิดจินคนาการที่เหมาะตามวัย ซึ่งเด็กมักมาตรวจด้วยอาการไม่พูด ไม่ติดใคร ตัวอย่างเช่น autistic disorder, childhood disintegrative disorder หรือ Asperger’s syndrome เป็นต้น
6) Attention-Deficit and Disruptive Behavior Disorders แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อยๆคือ
- Attention- deficit/hyperactivity disorder หรือโรคซนสมาธิสั้น
- Conduct disorder เด็กมีพฤติกรรมเกเรคล้ายอันธพาล
- Oppositional defiant disorder เด็กมีอาการดื้อ ไม่เชื่อฟัง
7) Feeding and Eating Disorders of Infancy or Early Childhood ความผิดปกติในพฤติกรรมการกิน เช่น pica ( กินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารตามวัฒนธรรมนั้นๆ ) rumination disorder ( เคี้ยวกลืนแล้วขย้อนออก) หรือปัญหาในการป้อนอาหารจนเด็กไม่เติบโตตามเกณฑ์
8) Tic Disorders คือ อาการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆอย่างไม่เป็นจังหวะ ( motor tics ) หรือการส่งเสียงหรือพูดคำต่างๆซ้ำๆ ( vocal tics )
9) Elimination Disorders คือความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระ
10) อื่นๆ ได้แก่
- Separation anxiety disorder ความกังวลต่อการต้องแยกจากพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด
- Selective mutism เด็กไม่ยอมพูดกับคนนอกครอบครัว แม้แต่ที่โรงเรียน
- Reactive attachment disorder of infancy or early childhood เด็กที่ขาดความรักผูกพันแต่เล็ก เช่นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง จนเกิดปัญหาเหม่อลอย ไม่สนใจคนอีกเลย หรือต้องสนิทกับคนแบบไม่เลือก
- Stereotype movement disorder พฤติกรรมซ้ำๆ ของเด็ก เช่น ดูดนิ้ว กัดเล็บ โขกศีรษะกับพื้น
อ้างอิงจาก: http://www.ramamental.com/medicalstudent/generalpsyc/kid-psych-analysis/

อาการที่พบอาจได้รับการวินิจฉัยพบตั้งแต่วัยเด็ก หรือวินิจฉัยพบเมื่อตอนเป็นวัยผู้ใหญ่แต่มีอาการมาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งการได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่วัยเด็กนั้น เด็กจะมีโอกาสได้รับการรักษา สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้นได้ดีกว่าที่ผู้ปกครองจะปล่อยให้อาการนั้นดำเนินต่อไป เช่น เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง หากไม่ได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกวิธี เมื่อโตขึ้นอาจกลายเป็นเด็กที่เกเร ต่อต้านสังคมได้ เป็นต้น


ทีมสหวิชาชีพที่ให้บริการประกอบด้วย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ นักจิตวิทยา ครูการศึกษาพิเศษ รวมทั้ง นักกิจกรรมบำบัด


บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในการให้การดูแลรักษาเด็กและวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม จะมีกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดที่เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่เป้าหมายของเด็กและวัยรุ่นในแต่ละกระบวนการ ได้แก่

  • การรวบรวมข้อมูล สามารถค้นหาข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองของเด็ก ญาติหรือผู้ดูแล อาจสอบถามจากตัวผู้รับบริการเอง เมื่อเป็นวัยรุ่นหรือเด็กที่สามารถพูดคุยได้ดี หรือข้อมูลจากแฟ้มประวัติ รวมทั้งจากการประเมินทางกิจกรรมบำบัด 
  • การแปลผลข้อมูล เพื่อให้ทราบถึงปัญหาต่างๆของเด็ก
  • การกำหนดเป้าหมายร่วมกันระหว่างตัวเด็ก ผู้ปกครองและนักกิจกรรมบำบัด 
    • ในเด็ก - เน้นทักษะการดูแลตนเอง การเรียน การเล่น การพักผ่อนให้สามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้อย่างสมดุล
    • ในวัยรุ่น - เน้นกิจกรรมการเรียนหรือการฟื้นฟู/ฝึกทักษะต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมในการประกอบอาชีพในอนาคตเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ฝึกทักษะการเข้าสังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
  • วางแผนการรักษาว่าจะใช้วิธีการรักษาแบบใด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
  • การให้การรักษา โดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ คือ ตัวเด็กเอง การเลือกใช้กิจกรรมที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วให้เหมาะสมกับเด็ก รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเป็นปัจจัยที่เอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจกรรม
  • การประเมินซ้ำ เพื่อดูผล การเปลี่ยนแปลง ให้สามารถปรับ/เปลี่ยนกิจกรรมตามความเหมาะสม
ซึ่งสื่อในการบำบัดรักษาที่สำคัญที่สุด คือ การใช้ตัวผู้บำบัดเป็นสื่อ (Therapeutic use of self) เน้นการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ ให้เด็กเกิดความเชื่อใจ ไว้วางใจที่จะบอก เล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ความร่วมมือในการรวบรวมข้อมูล ตลอดจนในกระบวนการบำบัดรักษา นอกจากนี้การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัวจะมีส่วนช่วยอย่างมากต่อเด็ก

นางสาวจันทร์จิรา    แสงสินธุ์   5323002


หมายเลขบันทึก: 516164เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท