หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแล"ผู้ใหญ่"กับ"ผู้สูงอายุ"ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


ความบกพร่องทางจิตสังคมในวัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุเกิดขึ้นเนื่องจากไม่ได้รับการรักษา บำบัดฟื้นฟู อาการความบกพร่องในวัยเด็ก และวัยรุ่น หรืออาจจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรือภาวะต่างๆจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่ส่งผลต่อสมอง จิตใจ และอารมณ์ของผู้รับบริการ

  โรคทางจิตสังคมในผู้ใหญ่ และสูงอายุ ได้แก่

โรคซึมเศร้า (Depression)

โรคความจำเสื่อม (Dementia)

โรคจิตเภท (Schizophrenia)

โรคอารมณ์สองด้าน (Bipolar disorder)

โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality disorder)

การใช้สารในทางที่ผิด (substance abuse) , Etc.

วัยผู้ใหญ่ (Adult)

บทบาท และหลักการกิจกรรมบำบัด

  ในวัยผู้ใหญ่ จะเน้นให้ความสำคัญการทำงานเพื่อนำมาหาเลี้ยงครอบครัว การทำหน้าที่ตามบทบาทของตนเอง เช่น หัวหน้าครอบครัว

-  การสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ

-  การประเมินผู้ใหญ่ที่มีภาวะบกพร่องทางจิตสังคม อาจมีการประเมินพฤติกรรม โดยแบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม (Comprehensive Occupational Therapy Evaluation Scale : COTE ) , แบบประเมินหาความสนใจในการทำกิจกรรม (Interest Checklist) และแบบประเมินหาบทบาทของตนเอง (Role Checklist) และฯลฯ

-  นักกิจกรรมบำบัดวิเคราะห์กรอบอ้างอิง (PEOP) Person , Environment , Occupation , Performance

-  วางแผนการรักษา และทำการบำบัดฟื้นฟู โดยกิจกรมการฉายภาพทางจิต เช่น การวาดภาพอิสระ การปั้นอิสระ finger painting และกิจกรรมภาพปะติด เป็นต้น เพื่อให้ผู้รับบริการแสดงอารมณ์ความรู้สึก ความคิดของตนเองผ่านกิจกรรม และเป็นกิจกรรมที่เห็นผลงาน เพื่อให้ผู้รับบริการเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง

-  ทำ Cognitive behavior therapy (CBT) ให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้ความบกพร่อง และวิธีการจัดการตนเอง เช่น ผู้รับบริการที่เป็นโรคซึมเศร้า (Depression) สามารถรับรู้ว่าตนเองเป็นอะไร มีอาการทางจิตอย่างไร

-  ส่งเสริมการจัดการกับเวลาในการทำกิจกรรม(time-management) โดยการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม(participation) ได้แก่ กิจกรรมการดำเนินชีวิต(Occupation) กิจกรรมการทำงาน(Work) กิจกรรมยามว่าง(Leisure) ให้มีความสมดุลกัน

-  ส่งเสริมทักษะทางสังคม โดยให้มีการทำกิจกรรมกลุ่ม

-  ปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำกิจกรรม ในผู้รับบริการที่มีปัญหาความจำเสื่อม ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นหมวดหมู่ มีบัตรคำบอกชื่อสิ่งของ หรือมีรูปภาพบอก

ผู้สูงอายุ (Elder)

  บทบาท และหลักการกิจกรรมบำบัด

  ในวัยผู้สูงอายุจะเน้น สภาพจิตใจ การปรับพฤติกรรม การยอมรับการเปลี่ยนแปลง การจัดการความเครียด

-  การสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ

-  ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันด้านต่างๆ เช่น กิจวัตรประจำวันการทำงานการใช้เวลาว่าง การมีส่วนร่วมทางสังคม เป็นต้น

-  ประเมิน ทักษะการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ความพึงพอใจ ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง การตัดสินใจ การแก้ปัญหาและประเมินหาแรงจูงใจในการทำกิจกรรม

-  นักกิจกรรมบำบัดวิเคราะห์กรอบอ้างอิง (PEOP) Person , Environment , Occupation , Performance กรอบอ้างอิงMOHO หาแรงจูงใจในการทำกิจกรรม  กรอบอ้างอิงICF และ Psychospiritual integration FoR ในผู้สูงอายุที่อยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต

-  ส่งเสริมแรงจูงใจและความสนใจในการทำกิจกรรม ในการทำกิจกรรมยามว่าง เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเป็นการสร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่ผู้รับบริการ เช่น การทำดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น

-  นักกิจกรรมบำบัดปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำกิจกรรม ในผู้รับบริการสูงอายุ และการให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ช่วยเพิ่มเติม

-  จัดกิจกรรมที่ช่วยในการจัดการความเครียด(coping skill) รวมถึงการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุการทำงาน

-  ให้คำแนะนำ และมีการรับฟังผู้รับบริการ ในการใช้ชีวิตให้มีคุณค่า มีความหมาย เกิดWell-being และ Quality of life ก่อนการเสียชีวิต


หมายเลขบันทึก: 516139เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท