หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแล"เด็ก"กับ"วัยรุ่น"ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


โรคทางจิตเวชของเด็กและวัยรุ่นเป็นโรคที่ผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ในทารก วัยเด็กหรือวัยรุ่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางจิตสังคม โรคในกลุ่มนี้อาจมีอาการต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ หรือเพิ่งได้รับการวินิจฉัยในวัยผู้ใหญ่  แต่อาจมีหลักฐานปรากฏมาตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก หรือวัยรุ่น

  โรคในกลุ่มนี้วินิจฉัยตามการแบ่งของ CAMHS  (Children Adolescent Mental Health Services) ได้แก่

เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Mental Retardation : MR)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning  Disorders : LD)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว (Motor skill disorder)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร (Communication disorder)

เด็กสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD)

-  เด็กที่มีความกังวลต่อการต้องแยกจากพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด(Separation anxiety disorder)

-  โรคที่มีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆอย่างไม่เป็นจังหวะหรือการส่งเสียงหรือพูดคำต่างๆซ้ำๆ(Tics disorder)

-  เด็กที่มีความผิดปกติในพฤติกรรมการกิน(Eating and feeding disorder)  , etc.

วัยเด็ก(Child)

  บทบาท และหลักการทางกิจกรรมบำบัด

-  มีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการเด็ก หรือผู้ปกครอง หลังจากนั้นก็มีการรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง คนใกล้ชิด หรือคุณครูในโรงเรียน

-  ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมของเด็ก เพื่อหาปัญหาที่ขัดขวางต่อพัฒนาการในด้านต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต กิจกรรมการเรียน และฯลฯ  โดยใช้แบบประเมิน เช่น แบบประเมินทางด้านพฤติกรรมและการปรับตัว (Vineland-II)

-  ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมของเด็กขณะที่ทำกิจกรรมคนเดียว และขณะที่ทำกิจกรรมกลุ่ม เพื่อดูพฤติกรรมของเด็ก เช่น การแสดงความต้องการของตนเอง การแสดงออกทางอารมณ์ การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เป็นต้น นอกจากนี้ให้พ่อแม่ และบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว ได้มีส่วนร่วมในการบำบัดฟื้นฟู รวมถึงการช่วยสังเกตพฤติกรรมและอาการทางจิตต่างๆของเด็ก

-  เมื่อทราบปัญหาของเด็กแล้ว นักกิจกรรมบำบัดก็ควรมีการวางแผนการรักษา จากนั้นก็ส่งเสริมความสามารถของเด็กในด้านที่มีความบกพร่อง โดยให้พ่อแม่ และบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เพื่อกระตุ้นการทำกิจกรรมของเด็ก

-  หลังจากมีการบำบัดฟื้นฟู ก็จะมีการประเมินซ้ำเพื่อดูผลลัพธ์ที่ได้จาการการบำบัดฟื้นฟู หลังจากนั้นนักกิจกรรมบำบัด ก็ให้คำแนะนำกับผู้ปกครองในการให้แรงเสริมทางบวกกับเด็กให้ถูกต้อง เพื่อให้เด็กเกิดความไว้วางใจ

วัยรุ่น(Adolescence)

ในกลุ่มผู้รับบริการเหล่านี้ ได้แก่Child abuse and neglect , Alcohol and drug abuse , Depression & suicide , Crime and conduct disorder

บทบาท และหลักการทางกิจกรรมบำบัด

-  มีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการวัยรุ่น หลังจากนั้นก็มีการรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ อาจจะมาจากการสัมภาษณ์ตัวผู้รับบริการเอง เนื่องจากวัยรุ่นมีวุฒิภาวะมากกว่าวัยเด็ก โดยให้ผู้รับบริการบอกข้อมูลที่เป็นความจริงกับผู้บำบัด ผู้บำบัดควรสร้างเงื่อนไขกับผู้รับบริการ ว่าจะเก็บข้อมูล หรือสิ่งที่เล่ามาไว้เป็นความลับ เพื่อให้ผู้รับบริการได้เปิดเผยตนเองได้อย่างเต็มที่และเพื่อสร้างความไว้วางใจกับผู้รับบริการ นอกจากนี้อาจสัมภาษณ์จากคนใกล้ชิดเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม

-  การประเมินทางด้านจิตสังคม ใช้กิจกรรมการฉายภาพทางจิต เช่น การวาดภาพอิสระ การปั้น  กิจกรรมภาพปะติด  เป็นต้น เพื่อประเมินการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก  การมีคุณค่าในตนเอง และแรงจูงใจในการทำกิจกรรมต่างๆ

-  มีการวางแผนการรักษา และการบำบัดฟื้นฟู นักกิจกรรมบำบัดควรจัดกิจกรรมที่เป็น Psychotherapy เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการตระหนักถึงการมีคุณค่าในตนเอง(self-value) ความภาคภูมิใจในตนเอง(self-esteem) ความมั่นใจในตนเอง(self-confidence) และรับรู้ถึงความสามารถของตนเอง(self-efficacy)

-  ส่งเสริมทักษะทางสังคม โดยการจัดกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อน โดยในวัยรุ่นจะให้ความสำคัญกับเพื่อนมากกว่าในวัยเด็ก เพื่อส่งเสริมให้เกิดเอกลักษณ์ในตนเอง(self-identity) และการยอมรับตนเองจากเพื่อน ทำให้เกิดความภาคภูมิใจ เกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม และเกิดความสุข หรือ well-being

-  ส่งเสริมความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของตนเอง รู้จักการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่ถูกต้อง โดยได้รับคำแนะนำที่ดีจากผู้ปกครอง หรือบุคคลใกล้ชิด

-  หลังจากมีการบำบัดฟื้นฟู ก็จะมีการประเมินซ้ำเพื่อดูผลลัพธ์ที่ได้จาการการบำบัดฟื้นฟู


หมายเลขบันทึก: 516115เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท