Silent
นักศึกษากิจกรรมบำบัด ณกรณ์ ปาร์แมน ปาสุวรรณ

ความบกพร่องทางจิตสังคมที่ต่างกันใน เด็กกับวัยรุ่น ในมุมมองของกิจกรรมบำบัด


     การพัฒนาทางจิตสังคมของมนุษย์ ตามหลัก ทฤษฏีของแอริคสันได้ว่า ''พัฒนาการทางจิตวิทยาของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกับโครงสร้างทางกายภาพร่างกาย มุมมองของแอริคสันจึงเน้นพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมร่วมกัน '' โดยการพัฒนาทางด้านจิตสังคมนั้นสามารถแบ่งเป็นช่วง ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งอายุ80ปีได้เป็น8 ช่วงดังนี้

ขั้นที่ 1 Trust vs. Mistrust (การเชื่อใจและความไม่ไว้วางใจ)

ขั้นที่ 2 Autonomy vs. Shame and Doubt (การเป็นตัวของตัวเองและความละอาย)

ขั้นที่ 3 Initiative vs. Guilt (ความรู้สึกผิดและการคิดลิเริ่ม)

ขั้นที่ 4 Industry vs. Inferiority (ความขยันและความคิดแง่ลบต่อตนเอง)

ขั้นที่ 5 Identity vs. Role Confusion (ความเปป็นอัตตราลักษณ์และไม่แน่ชัดในบทบาทของตน)

ขั้นที่ 6 Intimacy vs. Isolation (การมีปฏิสัมพันธ์และความรู้สึกโดดเดี่ยว)

ขั้นที่ 7 Generativity vs. Self absorption/ Stagnation (การเผื่อแผร่และการเห็นแก่ตัว)

ขั้นที่ 8 Integrity vs. Despair (ความมั่นคงในชีวิตและความสิ้นหวังในชีวิต)

ดังนั้นความบกพ่องทางร่างกายและสมองในเด็กจึงส่งผลต่อการพัฒนาการทั้งทางด้านร่างการและจิตสังคม

โรคที่เกี่ยวข้องในผู้รับบริการฝ่ายเด็ก มีดังนี้

1) Mental Retardation บกพร่องทางสติปัญญา

2) Learning Disorders คือความผิดปกติของสมองในกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ

3) Motor Skills Disorders คือความผิดปกติของการประสานงานของกล้ามเนื้อ

4) Communication Disorders มีความผิดปกติในด้านการสื่อสาร

5) Pervasive Developmental Disorders คือความผิดปกติในด้านพัฒนาการหลายด้าน เช่นการพัฒนาการทางด้านการรับสัมผัส การเข้าสังคม เป็นต้น

6) Attention-Deficit and Disruptive Behavior Disorders แบ่งเป็น 3 กลุ่มดั่งนี้

6.1 Attention- deficit/hyperactivity disorder หรือโรคซนสมาธิสั้น

6.2 Conduct disorder เด็กมีพฤติกรรมเกเรคล้ายอันธพาล

6.3 Oppositional defiant disorder เด็กมีอาการดื้อ ไม่เชื่อฟัง

7) Feeding and Eating Disorders of Infancy or Early Childhood ความผิดปกติในพฤติกรรมการกิน

8) Tic Disorders คือ อาการกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆอย่างไม่เป็นจังหวะ ( motor tics ) หรือการส่งเสียงหรือพูดคำต่างๆซ้ำๆ ( vocal tics )

9) Elimination Disorders คือความผิดปกติของการขับถ่าย

10) Crebral palsy คืออาการสมองพิการ

โดยกลุ่มผู้รับบริการเด็กตามหลักของการพัฒนาทางจิตสังคม

ช่วงอายุ 2-3ปี จะเริ่มเข้าสู่ขั้นที่สอง โดยเด็กจะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นในช่วงนี้เด็กจะมีการพัฒนาทางด้านของกล้ามเนื้อและภาษามาก ควรส่งเสริมให้มีความเหมาะสมแกช่วงวัย เช่นการเล่นกับเพื่อนในสนามเด็กเล่น เป็นต้น

ช่วงอายุ 3-5 ปี เป็นช่วงที่เด็กมีความคิดลิเริ่มในสิ่งใหม่ๆ มีการซึมซัพบทบาทต่างๆจากสังคมลอบด้านเช่น จากพ่อแม่ เป็นต้น  ควรมีการดูแลการอบรมและใกล้ชิดให้มาก เพราะจะส่งผลถึงบทบาทในอนาคต ในช่วงนี้จะมีความสนใจเล่นเรียนรู้เกี่ยวกับเพศเป็นส่วนมากความมีการส่งเสริมที่เหมาะสมจากผู้ดูแล

ช่วงอายุ 6-12 ปี เป็นช่วงที่การพัฒนาทางกล้ามเนื้อต่างๆเริ่มลดลงและคงที่ ด้านอารมณ์จะมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์มากขึ้น เริ่มมีการเปรียบเทียบระหว่างบุคคล มีพ่อและแม่เป็นตัวแทนสังคมของตนเอง มีการเลี่ยนแบบจากสังคม พฤติกรรมและการเรียนรู้ในช่วงนี้ สามารถส่งผลต่อพัฒนาการในช่วงวัยรุ้นได้ควรมีการส่งเสริมความสามารถในการควบคุมตัวเองของเด็ก การแสดงบทบาทที่เหมาะสมในบริบทต่างๆ ส่งเสริมความคิดเชิงบวกที่มีกับตนเอง

ช่วงอายุ 13-20 ปี เป็นช่วงที่มีการพัฒนาทางอารมณ์ที่เด่นชัดมากความสับสนความกังวลโดยจะมีการแสดงออกที่ อาจไม่เหมาะสมเช่น ความเกเรความรุนเเรง ทางด้านร่างกายจะมีการพัฒนาของโฮโมนเพศที่สูงจะมีการเปรี่ยนแปรงทั้งร่างกายเเละจิตใจของวัยรุ้นด้านสังคมมีระยะห่างจากครอบครัวมากขึ้น จะใกล้ชิดกับเพื่อนมากกว่าครอบครัว การส่งเสริมควรมีการแนะนำการควบคุมอามรณ์ของตน การรับรู้ตนเองบทบาทของตนเอง การแสดงออกทางเพศที่เหมาะสมไม่ควรปิดกั้น หรือเปิดเผยมากจนเกินไป การวางแผนชีวิต การจัดการชีวิตหรือการแบ่งเวลาจัดการเวลาที่เหมาะสม


สิ่งที่ควรส่งเสริมในผู้รับบริกการเด็กและวัยรุ่นทางด้านจิตสังคมมีดังนี้

- ส่งเสริมทางด้านการเรียนรู้ทั้งการเรียนรู้ในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ทางสิ่งแวดล้อมในการรับรู้ทางสัมผัสต่างๆ

- ส่งเสริมการตระหนักรู้ การรับรู้ในอัตตราลักษณ์หรือการรับรู้ตนเองของตัวผู้รับบริการเพื่อการส่งผลต่อความสามารถในการควบคุมตนเอง

- ส่งเสริมความสามารถในการใช้ชีวิตการทำกิจวัตรประจำวัน เช่นการดูแลตนเอง การเข้าห้องน้ำเป็นต้น

- ส่งเสริมความคิดเชิงบวกเกี่ยวกับตนเองของผู้รับบริการ

- อาจมีการปรับสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยของผู้รับบริกการให้เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตประจำวัน  


หน้าที่ของนักกกิจกรรมบำบัดคือ การวิเคราะห์กิจกรรมให้เหมาะสมต่อผู้รับบริการตามกรอบอ้างอิงที่เป็นแนวคิดและการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการ กิจกรรมนั้นๆควรมีคุณค่าความหมายทั่งทางกายและจิตใจของผู้รับริการคนนั้นนั้น โดยการให้ผู้รับริการเป็นศูนย์กลางของการบำบัดฟื้นฟู มีการประเมินความสามารถและความบกพ่องของผู้รับบริการทั้งก่อนและหลังการเข้ารับบริการ ควรมีการติดตามหรืออาจมีการประเมินปรับเปรี่ยนสภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตัวผู้รับบริการ


                                                                                             

หมายเลขบันทึก: 516106เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2013 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท