หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลผู้ใหญ่กับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านจิตสังคม


วัยแห่งการรับภาระหน้าที่ วัยที่ต้องรีบสร้างความมั่นคงให้กับตนเอง กับวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ทั้งบทบาทหน้าที่ ที่อยู่อาศัย และสังคม จะแตกต่างกันอย่างไร เมื่อบกพร่องทางจิตสังคม

อีกบทบาทหนึ่งของนักกิจกรรมบำบัด :   กิจกรรมบำบัดจิตสังคม ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

โรคทางจิตสังคมในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มักพบได้บ่อย มีดังนี้

                  1.  Mood disorder

                  2.  Dementia

                  3.  Schizophrenia

                  4.  Personality  disorder

                  5.  Substance abuse

              ตาม Erikson's Theory of Psychosocial Development ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้นโดยช่วงวัยผู้ใหญ่อยู่ในขั้นที่ 6 และ 7 ส่วนในวัยผู้สูงอายุอยู่ในขั้นที่ 8 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

       ขั้นที่6 ความสนิทชิดชอบหรือความเปล่าเปลี่ยว(IntimacyVS Isolation)  ในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นระยะของการมีเพื่อนร่วมงาน เพื่อนต่างเพศ การแสดงความรัก ทำให้เกิดความสนิทชิดชอบ แต่ถ้าไม่มีเพื่อนสนิท หรือคนรักที่จะแต่งงานด้วย จะมีความรู้สึกว้าเหว่ หงอยเหงา เปล่าเปลี่ยว

        ขั้นที่ 7  ความเสียสละ หรือความเห็นแก่ตัว (Generativity VS Self Absorption)  ในช่วงวัยกลางคน ชีวิตจะผูกพันกับครอบครัว สังคม และทรัพย์สมบัติ การพัฒนาบุคลิกภาพจะเป็นไปในด้านใดด้านหนึ่ง คือการเห็นแก่ส่วนรวม การเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ หรือในทางตรงกันข้าม คือ การคำนึงถึงแต่ตัวเองเป็นใหญ่ การเห็นแก่ตัว การไม่ร่วมมือกับคนอื่น

       ขั้นที่8  ความมั่นคงทางจิตใจ หรือ ความสิ้นหวัง (Integrity VS Despair)ในช่วงวัยสูงอายุตอนปลาย จะคิดถึงอดีตที่ผ่านมา ความสมหวังหรือความล้มเหลวในหลายๆด้าน ถ้ามีความสมหวังมากกว่าความล้มเหลว จะมีความรู้สึกมั่นคงในจิตใจ แต่ถ้ามีความล้มเหลวมากกว่าจะมีความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาทางจิตใจในวัยสูงอายุ


            หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลผู้ใหญ่กับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องด้านจิตสังคม

การประเมิน(Assessment / Evaluation)

  ในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่บกพร่องด้านจิตสังคม  สามารถใช้การประเมิน COTE Scale (Comprehensive  Occupational Therapy Evaluation) ในด้าน General behavior,interpersonal behavior , task behavior

  Interest checklist เพื่อประเมินความสนใจในวัยผู้ใหญ่โดยการให้ทำแบบทดสอบเกี่ยวกับกิจกรรมที่สนใจ   ส่วนในวัยผู้สูงอายุ อาจมีข้อจำกัดในการมองเห็น หรืออ่านไม่ออก อาจใช้การสัมภาษณ์แล้วผู้บำบัดเป็นคนบันทึกเองหรือสอบถามจากครอบครัว

การบำบัดฟื้นฟู (Intervention)

                   วัยผู้ใหญ่ : เน้นการทำหน้าที่ตามบทบาท ,การจัดการความเครียด,ความสมดุล

-  Time management  การจัดการเวลาให้การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตเกิดความสมดุล ไม่ทำงานหนักจนเกินไป มีเวลาพักผ่อน ทำงานอดิเรกที่ตนสนใจ

-  การจัดการความเครียด เนื่องจากในวัยผู้ใหญ่มีบทบาทและหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบค่อนข้างมาก

-  ส่งเสริมด้านสุขภาพ (Health Promote)

                   วัยผู้สูงอายุ : เน้นด้านจิตใจ,การปรับความคิด พฤติกรรม,การยอมรับการเปลี่ยนแปลง

-  เพิ่มแรงจูงใจในการทำกิจกรรมการดูแลตนเอง กิจกรรมทางด้านสังคม  กิจกรรมยามว่าง (MOHO)

-  กิจกรรมที่ผู้สูงอายุสามารถทำได้สำเร็จ มีผลงาน เพื่อเพิ่มการมีคุณค่าในตนเอง(self-value)และเกิดความภาคภูมิใจ (self -esteem)  โดยใช้เทคนิค  การทำทีละขั้นตอน  ย่อยขั้นของกิจกรรมลง  การปรับระดับความยากง่าย  การประยุกต์ให้เหมาะกับความสามารถของผู้รับบริการ  (PEOP)

-  การ support ในด้าน  spiritual  (psychospiritual integration)

-  การ maintain ความสามารถทางด้านร่างกาย  และความสามารถด้านการรู้การเข้าใจ โดยสิ่งแวดล้อมไม่ควรเปลี่ยนแปลงบ่อยนัก เพราะอาจะทำให้ผู้สูงอายุไม่คุ้นเคย และเกิดการสับสน

-  การปรับสภาพบ้านให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้สูงอายุ และเน้นเรื่องความปลอดภัย

-  การเลือก ให้คำแนะนำ และสอนผู้สูงอายุในการใช้อุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม

-  กิจกรรมทางด้านสังคม กับครอบครัว หรือชุมชน

-  การวางแผนชีวิตก่อนการเกษียณ

-  การยอมรับ  การเตรียมตัวก่อนเสียชีวิต



          "   นักกิจกรรมบำบัด  มีบทบาทตลอดช่วงวัย "

หมายเลขบันทึก: 516086เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 14:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท