หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลเด็กกับวัยรุ่นที่มีความบกพร่องด้านจิตสังคม


โรคทางจิตเวชของเด็กและวัยรุ่นเป็นโรคที่ผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ในทารก วัยเด็กหรือวัยรุ่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางจิตสังคม โรคในกลุ่มนี้อาจมีอาการต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ หรือได้รับการวินิจฉัยในวัยผู้ใหญ่ก็ได้  แต่อาจมีหลักฐานปรากฏมาตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก หรือวัยรุ่น

โรคในกลุ่มนี้มีหลายโรคตามการแบ่งของ CAMHS  (Children Adolescent Mental Health Servise)เช่น

-   Mental retardation

-   Learning  disability

-   Attention Deficit Hyperactivity Disorder

-  Mood disorder

-  Anxiety disorder

-  Alcohol and drug

-  Crime and duct disorder


                     ตาม Erikson's Theory of Psychosocial Development ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้นโดยช่วงวัยเด็ก  (children) คือช่วงอายุก่อนอายุ 12 ปี ซึ่งอยู่ในขั้น 1 , 2 ,3, 4 ดังนี้


 ขั้นที่1 ความไว้วางใจหรือความไม่ไว้วางใจ(Trust VS Mistrust)  ในช่วงขวบปีแรกของชีวิต ถ้าเด็กได้รับความรักความอบอุ่น

ความเอาใจใส่จากพ่อแม่ เด็กจะพัฒนาความรู้สึกไว้วางใจคนอื่น แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเด็กไม่ได้รับในสิ่งที่เขาต้องการ เด็กจะเกิดความสงสัย ความกลัว และความไม่ไว้วางใจคนอื่น

ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองหรือความสงสัย (Autonomy VS Doubt & Shame)  ในช่วงขวบปีที่ 2 ถ้าเด็กได้มีโอกาสสำรวจและลงมือกระทำตามความอยากรู้อยากเห็น ความสามารถของตน เด็กก็จะพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง รู้จักควบคุมตนเอง แต่ถ้าเด็กถูกขัดขวางหรือไม่มีโอกาส เขาจะเกิดความไม่กล้าทำสิ่งใด เกิดความสงสัยในความสามารถของตัวเอง เกิดความละอายว่าไม่มีความสามารถแต่อย่างใด

ขั้นที่ 3 ความคิดริเริ่ม หรือความสำนึกผิด (Initiative VS Guilt)   ในช่วง 3-5 ขวบ ถ้ามีการกระตุ้นให้เด็กได้แสดงความสามารถอย่างมีเป้าหมาย และทิศทางที่แน่นอน เด็กก็จะพัฒนาการมีความคิดริเริ่ม แต่ถ้าเด็กถูกตำหนิ ถูกห้ามก็จะรู้สึกผิดหวัง รู้สึกกลัวว่าตัวเองจะทำอะไรผิดๆลงไป ไม่กล้าตัดสินใจ

ขั้นที่ 4 ความเอาการเอางาน หรือความรู้สึกมีปมด้อย (Industry VS Inferiority)  ในช่วง 6-11 ขวบ เด็กจะยุ่งอยู่กับการศึกษาเล่าเรียน การปฏิบัติตนตามกฎเกณฑ์ต่างๆ การฝึกฝนระเบียบวินัย ทำให้เกิดความขยันขันแข็ง ความเอาการเอางานอย่างไรก็ตาม ถ้าเด็กประสบความล้มเหลวในการเรียนหรือในการคบเพื่อน เด็กจะเกิดความรู้สึกมีปมด้อย ผลที่ตามมาอาจเป็นการหนีเรียน หรือไม่ตั้งใจเรียน

            วัยรุ่น (adolescent)คือช่วงอายุระหว่าง 12-19 ปี  อยู่ในขั้นที่ 5

ขั้นที่ 5 ความมีเอกลักษณ์แห่งตน หรือความไม่เข้าใจตนเอง (Identity VS Identity diffusion)ในช่วงวัยรุ่นหรือ 12-19 ปี เป็นช่วงที่เด็กมีบทบาทต่างๆกับเพื่อน กับครูผู้ที่ตนชื่นชม เช่น ดารา เด็กจะเรียนรู้ที่จะมีแบบอย่างหรือเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย กิริยาท่าทางการพูดจา ถ้าเด็กไม่สามารถสร้างเอกลักษณ์ให้ตนเองได้ก็จะทำให้เกิดความสับสน ความไม่เข้าใจ เกิดการเลียนแบบผู้อื่น



                    ถ้าเด็กไม่ถูกพัฒนาหรือถูกขัดขวางในแต่ละขั้นก็ส่งผลให้เกิดโรคทางจิตสังคมในเด็กและวัยรุ่น ตามที่กล่าวมาในข้างต้น

หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลเด็กกับวัยรุ่นที่มีความบกพร่องด้านจิตสังคม

  การประเมิน (Assessment /Evaluation)

1.  ในเด็ก และวัยรุ่นที่บกพร่องทางด้านจิตสังคมควรได้รับการประเมินด้าน cognitive เพื่อให้ทราบ ระดับ ความสามารถการรับรู้และการเข้าใจ ( ACL)

2.  การสัมภาษณ์สำหรับในเด็ก  :  นักกิจกรรมบำบัดใช้การสัมภาษณ์จากผู้ปกครองหรือบุคคลใกล้ชิด

ถ้าเด็กสามารถสื่อสารได้รู้เรื่อง ใช้การสัมภาษณ์กึ่งมาตรฐานครอบคลุมประเด็นต่างๆดังนี้

ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ข้อมูลเกี่ยวกับการเล่น/งานอดิเรก  ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางบ้าน  ข้อมูลเกี่ยวกับเพื่อน  ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ  ให้เด็กเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็กให้ผู้บำบัดฟัง ขณะพูดคุยกับเด็ก ควรสังเกตพฤติกรรมต่างๆ เช่น การจ้องตา การสบตา  ท่าทางผ่อนคลายหรืออึดอัด  วิตกกังวล  ตอบคำถามตรงประเด็นหรือไม่  ใช้เวลาคิดในการตอบนานหรือไม่  ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ

สำหรับเด็กวัยรุ่น : ควรสัมภาษณ์จากเด็กเอง โดยใช้ therapeutic use of self ให้เด็กเกิดความไว้วางใจ เปิดใจในการให้ข้อมูล  และใช้การสังเกตจากภายนอกได้แก่  การแต่งกาย กิริยาท่าทางการพูดจา การแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของตนเอง  ความสับสน   ความไม่เข้าใจ เกิดการเลียนแบบผู้อื่น

การประเมิน สำหรับเด็ก :การสังเกตจากพฤติกรรมของเด็ก ขณะเล่นคนเดียวหรือเล่นกับเพื่อน  การเล่นตามกฎกติกา  เล่นของเล่นไม่เป็น  การแบ่งปัน  การรู้แพ้รู้ชนะ สังเกตความไว้วางใจ ความมั่นใจ ความกล้าในการเล่น  ความหวัง การแกล้าแสดงออกของเด็ก การประเมินองค์ประกอบด้านจิตสังคม  :การใช้แบบทดสอบหรือแบบสอบถาม เช่น VinelandAdaptive Behavior Scale  แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมและการสื่อสารของเด็ก

แบบประเมินทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับเด็กในวัยประถมศึกษา

3.  สำหรับเด็กวัยรุ่น : ใช้เทคนิคการฉายภาพทางจิตด้วยกิจกรรมต่าง ๆเช่น การปั้น การวาดภาพตามอิสระ  การทำงานศิลปะ เพื่อประเมินการแสดงออกทางอารมณ์  การประเมินองค์ประกอบด้านจิตสังคม  :การใช้แบบทดสอบหรือแบบสอบถาม เช่น VinelandAdaptive Behavior Scale 

การบำบัดฟื้นฟู (Intervention)

นักกิจกรรมบำบัดวิเคราะห์กิจกรรมและอุปกรณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมนั้นด้วยตนเอง ทำซ้ำ ๆ  มีการปรับและประยุกต์เพื่อให้เด็กทำแล้วเกิดความสำเร็จ  เพิ่มความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง  และท้าทายความสามารถของเด็ก เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการทำกิจกรรมเมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ ทำซ้ำจนเป็นนิสัย นิสัยหรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก็จะหายไป  และเน้นส่งเสริมกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามบทบาท เพื่อให้เกิดความสมดุล และwell- being

Approach : Therapeutics use of self ,Therapeutic use of occupations and activity ,Education

สำหรับเด็ก :  กิจกรรมที่เด็กได้มีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมด้วยตนเองเพื่อให้เด็กได้แสดง ความเป็นตัวของตัวเอง ความริเริ่มสร้างสรรค์   สอดคล้องตามความสามารถและความสนใจ  ในบริบทจริงของเด็ก (MOHO,PEOP)  

  กิจกรรมมีการปรับและประยุกต์ มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน ทำให้เด็กเกิด การมีความหวัง และคาดเดาความสำเร็จของกิจกรรมได้

กิจกรรมที่เด็กสามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และสอดคล้องกับบทบาทเด็ก เช่น กิจกรรมการแต่งตัวไปโรงเรียน เพื่อส่งเสริม ทักษะในการแก้ไขปัญหา  กล้าตัดสินใจ และความมั่นใจในตนเอง

  การให้ความรู้หรือคำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง ในการให้แรงเสริมกับเด็กที่ถูกต้อง การแสดงบทบาทเพื่อให้เด็กเกิดความไว้วางใจ

สำหรับวัยรุ่น : ส่งเสริมให้เกิดเอกลักษณ์ในตนเอง ค้นหาสิ่งที่เด็กสนใจ และให้ความสำคัญ  กิจกรรมเน้นเป็นกิจกรรมกลุ่ม เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง และภูมิใจที่ตนเองมีบทบาทในกลุ่มเพื่อน

การประเมินซ้ำ (Outcome)

                        ประเมิน cognitive level

                        ประเมินความสุขความพึงใจ

                        ประเมินความมั่นใจในตนเอง

                        แบบทดสอบหรือแบบสอบถาม เช่น VinelandAdaptive Behavior Scale                                                     

                        แบบสังเกตพฤติกรรมทาง สังคมและการสื่อสารของเด็ก

                        แบบประเมินทักษะทางสังคมที่จำเป็นสำหรับเด็กในวัยประถมศึกษา


        กิจกรรมบำบัด กับจิตสังคม  เป็นเรื่องที่ต้องหาความรู้เพิ่มเติมอีกมาก 

นักศึกษากิจกรรมบำบัด  กับวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ก็ต้องหาความรู้เพิ่มเติมอีกมากเช่นกัน  ^^



หมายเลขบันทึก: 516079เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท