หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลผู้ใหญ่กับผู้สูงอายุี่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


เราต้องเราเริ่มด้วยขั้นตอนการสร้างสัมพันธ์ ซึ่งเราต้องเข้าหาผู้รับบริการอย่างนอบน้อม คุยอย่างเป็นมิตร

  • ขั้นตอนการประเมิน 

เราใช้ PEOP ในการวางแผนดูแลผู้รับบริการ โดยการวางแผนการดูแลบำบัดรักษาผู้รับบริการนั้นเน้ที่ตัวผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง(Person Centered Intervention) โดยการผ่านการประิเมินแบบต่างๆ ตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด ผ่านการดูแลความสามารถ ความบกพร่องของผู้รับบริการ ตามด้วยการตั้งเป้าหมายในการรักษาที่มีความสำคัญต่อผู้รับบริการ เพื่อให้ได้ผลสูงสุดและวางแนวทางการรักษาต่อไป

                                                 

ในที่นี้เราจะมองลงไปที่ evidence คือหลักฐาน ข้อเท็จจริงที่ได้รับการพิสูจน์ เป็นรูปแบบความคิด ปฏิบัติได้ มีทฤษฎีรองรับ ประกอบด้วยปัจจัยทั้ง 4 ดังนี้

Person : มองจากปัจจัยตัวบุคคล เช่น ด้านสรีระวิทยา ระบบต่างๆ ของร่างกาย , จิตวิญญาณ(ความคิด อารมณ์ ร่างกาย ) , ด้านจิตวิทยา , และพฤติกรรมของตัวบุคคล เป็นต้น

Environment : มองจากปัจจัยภายนอกและสิ่งต่างๆ รอบตัว ประกอบด้วย การช่วยเหลือจากคนในสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความมีน้ำใจต่อกัน ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น

Occupation : กิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ ที่ผู้รรับบริการสนใจ มีคุณค่าและมีความหมายต่อผู้รับบริการ ในส่วนนี้มีความแตกต่างกันระหว่างผู้รับบริการผูใหญ่และผู้สูงอายุคือ กิจกรรมหลักในวัยผู้สูงอายุยังเป็นเรื่องของการทำงาน ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญและประเมินความสามารถของผู้รับบริการที่เกี่ยวข้องกับงานด้วย ส่วนในวัยของผู็้สูงอายุนั้น ส่วนใหญ่จะเกษียณออกจากงานประจำแล้ว บางคนก็อยู่บ้านเฉย ทำให้เกิดเวลาว่าง ไม่รู้จะทำอะไร ทำให้ส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ ตามมาเช่น ซึมเศร้า เราต้องประเมินหากิจกรรมที่ผู้รับบริการชอบ และหากิจกรรมให้ผู้รับบริการทำ ส่วนในผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมยามว่าง หรือกิจกรรมต่างๆทำ เราก็ต้องประเมินผลกระทบที่มีต่อกิจกรรมนั้นๆ ด้วย

Performance : ความสามารถในตัวบุคคล ในที่นี้คือความรู้ ความรอบรู้ โดยมีความสามารถใรการดำเนินขีวิตทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามความสามารถ รู้จักที่จะดูแลตนเอง ทั้งการพักผ่อน การออกกำลังกาย การดูแลตนเองปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน รวมถึงการทำกิจกรรมในยามว่างด้วย

  • การวางแผนการรักษา

การวางแผนการรักษาในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุนั้นมีความแตกต่างกันอยู่นิดหน่อย คือจะเป็นในเรื่องของกิจกรรมที่ผู้รับบริการทำ เป้าประสงค์การรักษา(ในวัยผู้ใหญ่เราต้องทำให้เค้าสามารถกลับไปทำงาน หรือว่าทำกิจกรรมต่่างๆ ได้ เนื่องจากว่ายังเป็นวัยที่ีภาระหน้าที่ ต้องเลี้ยงบุตร และพ่อแม่ แต่ในวัยสูงอายุ เราอาจจะมองแค่ว่าให้เค้าสามารถช่วยเหลือทำกิจวัตรประจำวันเองได้ เนื่องจากว่าวัยนี้ส่วนใหญ่เกษียณอายุจากงานประจำแล้ว และเพิ่มกิจกรรมยามว่างให้ผู้รับบริการ รวมถึงการจัดตารางเวลาในการทำกิจกรรมให้สมดุลกัน) โดยเป้าประสงค์การรักษา เราจะวางร่วมกับผู้รับบริการและญาติ เพื่อให้ได้เป้าประสงค์ที่ต้องการ

  • การประเิมินซ้ำ
เราต้องทำการประเมินซ้ำ เพื่อดูว่าได้ประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์หรือไม่ ถ้าไม่ได้ตามเป้าประสงค์เราต้องทำการหาปัญหา และวางแผนการรักษาใหม่ 
หมายเลขบันทึก: 516072เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท