หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลเด็กกับวัยรุ่นที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


ในตอนแรกที่ผู้รับบริการเข้ามาไม่ว่าจะเป็นผู้รับบริการเด็ก หรือว่าวัยรุ่น เราต้องทำการประเมิน2 หัวข้อหลักๆ ดังนี้

โดยในครั้งนี้ดิฉันจะใช้ PEOP เป็นกรอบอ้างอิงหลักในการประเมิน

                                            


ซึ่งการประเมินนี้ในเด็กและวัยรุ่นก็มีความแตกต่างอยู่เช่นกัน คือ ในวัยรุ่นข้อมูลบางอย่างเราสามารถสอบถามจากผู้รับบริการได้เลย เนื่องจากผู้รับบริการมีความสามารถในการให้ข้อมูล แต่ในเด็กเราอาจจะต้องสอบถามข้อมูลต่างๆจากผู้ดูแล คุณครู หรือผู้ปกครอง

โดยเราจะเน้นที่ตัวบุคคลเป็นหลัก เน้น client's factor โดยผ่านการประเมินต่างๆ ตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด ดูที่ความสามารถ และความบกพร่องของผู้รับบริการ ตามด้วยการตั้งเป้าหมายในการรักษาที่มีความสำคัญต่อผู้รับบริการ และวางแผนการรักษาต่อไป 

P=Person factor มองจากปัจจัืกยภายในตัวบุคคล เช่นสรีระวิทยา ระบบต่างๆ ของร่างกาย จิตวิญญาณ(ความคิด อารมณ์ ร่างกาย) ด้านจิตสังคม เป็นต้น

E=Environment factor เป็นการมองดูจากปัจจัยภายนอก ดูว่าปัจจัยใดส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ โดยในผู้รับบริการเด็กและวัยรุ่นเราต้องทำการประเมินเกี่ยวกับบริบทที่โรงเรียนด้วย เนื่องจาก กิจกรรมเป็นส่วนใหญ่ผู้รับบริการจะทำที่โรงเรียน รวมถึงครอบครัวของผู้รับบริการ เนื่องจากวัยนี้ต้องการได้รับความดูแลความอบอุ่น จากครอบครัว

O=Occupation ดูกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการสามารถจัดการได้ มีความหมาย มีคุณค่า ทำแล้วมีความสุข มีเป้าหมาย 

P=Performance ดูที่ความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ของผู้รับบริการ

ซึ่งความแตกต่างของกระบวนทางกิจกรรมบำบัดระหว่างเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาทางจิตเวทจะอยู่ที่ ขั้นตอนการวางแผนการรักษา เนื่องจากพัฒนาการและความสามารถของเด็กและวัยรุ่นนั้นแตกต่างกันไปตามอายุ เราจึงต้องดูความสามารถและกิจวัตรประจำวันเป็นหลัก เพื่อนำมาวางแบบแผนการรักษาให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละราย เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการรักษา ซึ่งเราอาจต้องเข้าไปร่วมวางแผนและปรึกษากับทางอาจารย์ ผู้ปกครอง เพื่อร่วมกันทำ IEP ให้แก่ผู้รับบริการ 

ขั้นตอนนต่อไป เราต้องทำการประเมินซ้ำ เพื่อดูว่าแผนการรักษาที่เราวางแผนไปได้ผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์การรักษา เราต้องหาปัญหาและวางแผนการบำบัดรักษาใหม่ แต่ถ้าการวางแผนการรักษาครั้งแรก แล้วประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์การรักษา เราก็จะทำการส่งออกผุ้รับบริการไปใช้ชีวิตยังบริบทจริงที่ผุ้รับบริการอาศัยอยู่  เราต้องทำการนัดผู้รับบริการมา follow up หรือโทรสอบถาม เพื่อดูความก้าวของผู้รับบริการ หรืออาจมีปัญหาใดเพิ่มเติม เราจะได้ช่วยให้คำแนะนำ

หมายเลขบันทึก: 516058เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท