8. EMS and Referral Management


หัวเรื่องที่

EMS and Referral Management

ผู้บรรยาย

ผศ.ดร.นพ. สมเดช  พินิจสุนทร

วันที่บรรยาย

14 ธันวาคม 2555

ผู้บันทึก

นางสาวสินธุพร  มหารัญ 

เรียบเรียงส่ง

ผศ.ดร.นพ. ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

8. EMS and Referral Management

เริ่มต้นการเรียนรู้ในชั้นเรียนด้วยการกล่าวถึง ระบบ  EMS  ในจังหวัดขอนแก่น โดย  นายแพทย์วิทยา  ชาติบัญชาชัย  รองผู้อำนวยการอาวุโสและผู้อำนวยการศูนย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลขอนแก่น ที่มีบทบาทด้านการสร้างระบบ  และการพัฒนางานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน  และในส่วนกลาง  มีนายแพทย์แท้จริง ศิริพานิช  ที่ร่วมทำงานเมื่อเกือบ 20 ปี ที่ผ่านมา  จนเป็นรูปเป็นร่างในปัจจุบันโดยการผลักดันในการประชุมคณะกรรมการป้องกันอุบิภัยจังหวัดขอนแก่น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน  มีความมุ่งมั่นในการพัฒนา  นำไปสู่การจัดทำเป็นวาระแห่งชาติ  โดยจัดตั้งศูนย์นเรนทร  กระทรวงสาธารณสุข จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่2  เมษายน 2544   จังหวัดขอนแก่น ถือเป็นจังหวัดที่มีผลงานโดดเด่นในด้านการแพทย์ฉุกเฉิน (เคยร่วมทำงานกับ นายแพทย์วิทยา  ชาติบัญชาชัย  ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการป้องกันอุบิภัยจังหวัดขอนแก่น  (กปอ.) และร่วมดำเนินโครงการเมาไม่ขับจังหวัดขอนแก่น  โครงการม่วนซื่นสงกรานต์เมือบ้านปลอดภัย  งานการแพทย์ฉุกเฉิน  การอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ ให้แก่บุคลากร  พยาบาล  เจ้าหน้าที่  อบต.ในจังหวัดขอนแก่น)  จนได้รับรางวัลมากมาย และล่าสุดนายแพทย์วิทยา  ชาติบัญชาชัย  ได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นของแพทยสภา ประจำปี 2555) ซึ่งหลังจากนั้นอาจารย์ได้กล่าวถึงระบบ EMS ว่า

EMS (Emergency Medical Service System)  คือ ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ หรือ EMS  โดยมีศูนย์ประสานงานเครือข่ายการส่งต่อ  หมายเลขโทรศัพท์  1669  จุดเริ่มต้น

EMS  เป็นบริการที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยไม่คิดมูลค่า มี

ระบบการแจ้งเหตุที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้ง่าย มีศูนย์รับแจ้งเหตุสามารถให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยบุคลากรที่มีความรู้และยานพาหนะที่มีความพร้อมไปให้การรักษา ณ จุดเกิดเหตุ ภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยมีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)  กระทรวงสาธารณสุข   เป็นสถาบันที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉินปี พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นองค์กรรับผิดชอบการบริหารจัดการ การประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมถึงการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ปัจจุบัน  ในเกือบทุก  อบต.  มีรถกู้ชีพ  มีบุคลากรที่ผ่านมาอบรม การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน  ได้รับค่าตอบแทนในการช่วยเหลือ  ณ  จุดเกิดเหตุ  จาก  สปสช.  ส่วนการแจ้ง  ผู้แจ้งจะต้องให้รายละเอียดดังนี้

1.  สถานที่เกิดเหตุหรือจุดเกิดเหตุ จุดที่สังเกตได้ เส้นทางที่สามารถจะไปได้ถึง

2.  เกิดเหตุอะไร มีผู้บาดเจ็บกี่คน

3.  เพศ อายุ ของผู้บาดเจ็บ แต่ละคนมีอาการอย่างไรบ้าง

4.  การช่วยเหลือเบื้องต้นที่ให้ไปแล้ว

จบการเรียนแล้ว ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการส่งต่อผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินว่ามีความสำคัญต่อสุขภาพของผู้ป่วยเพียงไร การมีความรู้ที่ดี ไม่สามารถที่จะเป็นตัวบอกได้ว่า เราจะสามารถทำได้ถูกต้องหรือเปล่า ดังนั้น จึงควรเร่งเสริมความรู้ ควบคู่กับการฝึกทักษะให้ถูกต้องจึงจะดีที่สุด

***********************************************

คำสำคัญ (Tags): #ems#referral
หมายเลขบันทึก: 515504เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2013 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มกราคม 2013 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท