Strategic planning


Strategy : (Strators = กองทัพ, Legei = การนำ) หมายถึง การนำกองทัพเข้าทำลายล้างศัตรูด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

  ลักษณะของแผนกลยุทธ์ : เป็นแผนระยะยาว เพื่อการตัดสินใจทำ/ไม่ทำในปัจจุบันจะส่งผลถึงอนาคต คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม มีการดำเนินงานเป็นทีมเพื่อการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

  ความจำเป็นของแผนกลยุทธ์ : เนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาล สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การปกป้องสิทธิ์ของประชาชน/ผู้ป่วย การมีคุณภาพชีวิตที่ดี/การทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจำนวนเจ้าหน้าที่ลดลงต่อจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นแต่ต้องการคุณภาพที่ดีขึ้น

  การวางแผนกลยุทธ์ เริ่มต้นด้วยคำถามสำคัญ ได้แก่ 1) หน่วยงานกำลังจะก้าวไปทางใด : กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมขององค์กร 2) สภาพแวดล้อมของหน่วยงานเป็นอย่างไร : วิเคราะห์สถานการณ์ SWOT analysis และ 3) จะนำหน่วยงานไปถึงจุดหมายได้อย่างไร : สังเคราะห์กลยุทธ์ โดยมีเงื่อนไขคือ ผู้นำองค์กรต้องมุ่งมั่น มีการทำเป็นลายลักษณ์อักษร ทุกคนยอมรับผูกพันเป็นพันธะสัญญาและตอกย้ำการปฏิบัติ

  ตัวอย่าง ชุมชนไม้เรียง : แผนแม่บทชุมชน สู่ยุทธศาสตร์การพัฒนา ‘ไม้เรียง’ เป็น 1 ใน 10 ตำบลของอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีอาชีพหลักคือ ทำสวนยาง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือผลผลิตยางที่ได้ ขายได้ในราคาต่ำไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิตเพราะต้องใช้ปุ๋ยและสารเคมี จากการเก็บข้อมูลในชุมชนพบว่าชาวบ้านมีหนี้สินรวมกันทุกครัวเรือนกว่า 70 ล้านบาท ลุงประยงค์ รณรงค์ ผู้นำชุมชน จึงเริ่มศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น และพบว่าราคาที่ขายต่ำกว่าต้นทุนการผลิตเกือบเท่าตัว จึงเริ่มหาทางแก้ปัญหาให้ชาวบ้านซึ่งมีอาชีพทำสวนยางเป็นอาชีพหลัก รวมกลุ่มจัดตั้งโรงงานแปรรูปยางโดยการระดมทุนของชาวบ้าน 1 ล้านบาท สร้างโรงงานเอง บริหารจัดการกันเอง ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ทำในขนาดที่พอดีกับไม้เรียง พอดีกับทรัพยากรในขีดความสามารถในการบริหารจัดการ และเริ่มพัฒนาอาชีพเสริม โดยการผลิตของใช้จำเป็นในครัวเรือนเช่น น้ำปลา น้ำยาล้างจาน และอื่นๆเพื่อลดต้นทุนรายจ่ายโดยมีการตั้งศูนย์เรียนรู้ขึ้นในปี 2535มีการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์หมุนเวียนในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ความรู้ที่ชาวบ้านต้องการ รวมทั้งเป็นการพัฒนาคนเพื่อ ให้ชาวบ้านสามารถแก้ปัญหาตนเองได้และมีเวลาทำกิจกรรมเพื่อชุมชน ผลลัพธ์ที่เด่นชัดคือ ชาวบ้านภาระหนี้สินลดลง มีรายได้เพิ่มขึ้น 

จุดเริ่มต้นคือ‘มีผู้นำทางความคิด’ ลุงประยงค์ มีอาชีพปลูกยางเหมือนชาวบ้านคนอื่น จึงประสบปัญหาเช่นเดียวกันแต่เพราะเป็นคนชอบคิด จึงคิดและเมื่อได้ข้อสรุปก็ไปคุยกับคนอื่น แล้วทดลองปฏิบัติจนเห็นผล เมื่อเห็นผลจึงเป็นที่ยอมรับของคนอื่นและเกิดเครือข่ายตามมา ไม่ใช่การรณรงค์ชั่วข้ามคืน แต่ค่อยเป็นค่อยไปเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learning by doing) กลายเป็นปัญญาที่ก่อเกิดพลังการเปลี่ยนแปลง ชุมชนไม้เรียงได้พลิกสถานการณ์ให้ดีขึ้นเพราะการสร้างสม ‘ทุนทางปัญญา’ และเป็นตัวอย่างให้แก่ชุมชนอื่นเกิดให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตามและเพราะเกิดการ‘จัดการความรู้ที่ดี’จึงสร้างความสัมพันธ์และเกิดเครือข่ายโดยอาศัยความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายนอกซึ่งมีความรู้ระดับสูงและมีเทคโนโลยีขั้นสูง

ผลที่ได้รับ ชาวบ้านตั้งใจที่จะพัฒนาแก้ไขปัญหาตัวเอง มีการพัฒนาอาชีพโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีการประเมินตนเองและองค์กรไม่เน้นความเสี่ยงทำด้วยความพอประมาณรู้จักตนเอง เน้นความมีเหตุผลในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ การทำงานโดยมีการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กระบวนการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายชัดเจน รวมทั้งวางแผนป้องกันและแก้ปัญหาไว้ด้วย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจึงไม่เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ เป็นการพัฒนาที่มาจากการคิดเองของชาวบ้านไม่ใช่กำหนดมาจากนโยบาย กลายเป็น “แผนแม่บทชุมชน”โดยมีขั้นตอนการพัฒนา คือ เริ่มจาก ค้นหาแกนนำ และองค์กรท้องถิ่น   จุดประกายความคิด กระตุ้นให้ชุมชนหันมาสมนใจเรื่องใกล้ตัว ขยายแนวคิดการพึ่งพาตนเองในลักษณะเป็นเจ้าของร่วมกัน จัดทำเวทีพูดคุยกัน ศึกษาประวัติชุมชน เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ซ่อนอยู่ในชุมชน สำรวจ รวบรวมข้อมูล  กำหนดประเด็นที่อยากรู้ร่วมกัน วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ช่วยกันจัดหมวดหมู่ มอบผู้รับผิดชอบงานตามที่เขาถนัด ทำความเข้าใจในข้อมูลที่ชัดเจน ทุกคนเกิดการรับรู้ร่วมกัน  และมีทิศทางด้วยการกำหนดกันเอง ยกร่างแผนแม่บทชุมชน  กลายเป็นแผนงานในที่สุด ประชาพิจารณ์แผนแม่บทชุมชน โดยใช้เวทีสภาหมู่บ้าน พิจารณาถึงความเป็นไปได้ ความถูกต้องตามเจตนาของผู้คนในพื้นที่ ความเหมาะสมในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ จัดลำดับความสำคัญ กำหนดช่วงเวลา หาวิธีการที่จะทำให้แผนประสบความสำเร็จ นำแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยมอบให้ตัวแทน แต่ละกิจกรรมที่เขาต้องการ นำไปบริหารจัดการด้วยตนเอง โดยใช้ทุนในชุมชนทุกทุนที่มีอยู่มาช่วยกัน  ทบทวนปรับปรุง  เมื่อติดขัด เจอปัญหา ใช้วิธีการปรับแผน โดยอาจใช้เวทีกลุ่มหรือชุมชนช่วยตัดสินใจ  ประเมินผล สรุปบทเรียนการทำงาน  ว่าประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว เป็นเพราะอะไร มีการแก้ไขแล้วเป็นอย่างไรบ้าง การตัดสินใจทุกขั้นตอนเน้นการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ

  (สุกัญญา  กาญจนบัตร/ สรุป)

คำสำคัญ (Tags): #strategic planning
หมายเลขบันทึก: 515125เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2013 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท