Community participation


การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

           การรวมกลุ่มกันของภาคประชาชนในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนประเด็นปัญหาความเดือดร้อนที่ส่งผลกระทบต่อสังคมหรือตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของรัฐบาลนั้น เป็นภาพที่ได้เกิดขึ้นในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นกลุ่มต่างๆ ได้มีการประสานเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของกลุ่มประชาสังคมในระดับต่างๆ เป็นโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะอันเป็นปัจจัยเกื้อหนุนพัฒนาการของขบวนการประชาสังคม
ที่ต้องอาศัยการพบปะของผู้คนร่วมกันทำงาน การที่ประชาชนมีวัฒนธรรมรวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆอย่างมาก ที่เรียกกันว่า ประชาคมเข้มแข็งมีการจัดความสัมพันธ์ของสมาชิกในการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของความสมานฉันท์อันเป็นวิถีทางแห่งประชาธิปไตยวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชน                                         

           การที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบต่อสังคม และรับรู้สิทธิประโยชน์ของตนเอง
และหัวใจของการเกิดประชาสังคม ก็คือ การสร้างจิตสำนึกคุณธรรมของพลเมือง เพราะ คำว่า
พลเมือง” คือราษฎรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครอง เช่น ช่วยตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ การมีส่วนร่วมในการออกเสียงประชามติ  การมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในโครงการภาครัฐที่มีผลกระทบต่อประชาชนและสังคมโดยรวม กล่าวคือ สังคมไทยต้องสร้าง “พลเมือง” ที่เป็นมากกว่าคำว่า “ราษฎร” ซึ่งหมายถึงผู้ยอมอยู่ใต้การปกครองเท่านั้นและมากกว่า คำว่า “ประชาชน” ซึ่งหมายถึง คนที่ไม่ใช่ผู้ปกครอง ดังนั้น คำว่า “ประชาสังคม” จึงหมายถึง การที่ผู้คนในสังคมมองเห็นหรือรับรู้ปัญหาของสังคมที่ซับซ้อนและมีวัตถุประสงค์ร่วมกันอันจะนำไปสู่การก่อจิตสำนึกร่วมกัน
รวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือองค์กร ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน หรือภาคพลเมือง ในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกันเพื่อร่วมกันแก้ปัญหา หรือ กระทำการบางอย่างให้บรรลุวัตถุประสงค์ ด้วยความรัก ความสมานฉันท์ ความเอื้ออาทรต่อกัน ภายใต้การเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน กระบวนการสร้างเครือข่ายประชาสังคมแต่ละภูมิภาคและแต่ละประเด็นปัญหา เช่น ประชาสังคมด้านสุขภาพ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ซึ่งแต่ละด้านนั้นได้มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และได้รวมกลุ่มกันเพื่อทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม ทำอย่างไรจึงจะสร้างประชาสังคมและเสริมสร้างให้มีความเข้มแข็งและปรับใช้ให้เหมาะสมกับสังคมไทย ดังนั้นการทำให้ผู้คนตระหนักในสิทธิประโยชน์ของตนเอง เข้าใจถึงการเสียสละเสรีภาพบางประการของตนเองเพื่อสันติสุขในสังคม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนในสังคม ซึ่งจะทำให้สังคมไทยเข้มแข็งและมั่นคงต่อไป




หมายเลขบันทึก: 515073เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2013 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2013 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท