EMS and referral management


ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและการจัดการ

         ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน คือ ระบบที่มีการเตรียมความพร้อมในด้านทรัพยากรและบุคลากรที่จะให้บริการรักษาพยาบาลทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งนอกและในโรงพยาบาล การรักษาในห้องฉุกเฉินของแต่ละโรงพยาบาลมักเป็นแนวตั้งรับ กล่าวคือ ให้การรักษาแก่ผู้ป่วยที่มีอาการและมาถึงโรงพยาบาลแล้ว แต่ในบางครั้งผู้ป่วยมีอาการเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล ซึ่งถ้าให้การรักษาตั้งแต่ที่บ้านหรือ ณ ที่เกิดเหตุก็ย่อมสามารถให้การช่วยชีวิตหรือการรักษาเบื้องต้นที่ดีได้ก่อนที่จะมีอาการลุกลามรุนแรงมากแล้วเมื่อมาถึงโรงพยาบาล
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลเป็นหลัก   

วัตถุประสงค์ของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล     

          1.เพื่อคุ้มครองบุคคลที่ประสบภาวะอันตรายต่อชีวิตและอยู่ในสถานการณ์วิกฤตที่มีความสำคัญต่อโอกาสการรอดชีวิต หรือการรักษาการทำงานของอวัยวะสำคัญต่อการมีชีวิตจากการไม่ได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐานอย่างทันท่วงทีโดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสถานะที่ด้อยโอกาสให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงเท่าเทียมและมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่โอกาสการลดภาวะแทรกซ้อนและการรอดชีวิตที่สูงขึ้นโดยมิให้สิทธิการประกันและความสามารถในการจ่ายมาเป็นอุปสรรคในการได้รับการดูแล   

         2.เพื่อคุ้มครองบุคคลที่ช่วยเหลือดูแลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่ปฏิบัติการฉุกเฉินอย่างสุจริตจากการถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติโดยมิชอบ   

         3.เพื่อคุ้มครองสังคมให้มีการใช้ทรัพยากร (บุคลากร หน่วยบริการ และเครื่องมือ) ของระบบร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสำคัญในการดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล  หลักสำคัญในการดูแลผู้เจ็บป่วยนอกโรงพยาบาล มุ่งเน้นการดูแลประคับประคองจนกระทั่งอาการคงที่ก่อนนำส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง (Stay & Stabilized)ส่วนการดูแลผู้บาดเจ็บ ณที่เกิดเหตุมักเน้นการขนส่งผู้บาดเจ็บไปยังสถานพยาบาลที่มีขีดความสามารถเหมาะสมโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้และให้การดูแลประคับประคองในระหว่างทาง (Scoop & Run)

หลักการช่วยชีวิตยามฉุกเฉิน   
            การช่วยชีวิตผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุโดยกะทันหันเป็นการบำบัดการรักษาเป็นพิเศษเฉพาะเป็นรายๆไป ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์เพื่อลดอันตรายให้น้อยลงหรือให้ผู้ป่วยปลอดภัยวิธีการช่วยเหลือชีวิตคนเมื่อยามฉุกเฉินนอกจากจะช่วยชีวิตผู้อื่นแล้วยังเป็นประโยชน์แก่ตนเองด้วย มีหลักทั่วไป ดังนี้
 

            1. อย่าให้ผู้คนล้อมตัวผู้ป่วยให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ปลอดโปร่ง มีแสงสว่างพอสมควรจะได้ทำการปฐมพยาบาลได้สะดวก 

            2. ให้นอนนิ่งๆในท่าที่ถูกต้องต่อการพยาบาล 

            3. คอยสังเกตชีพจร การหายใจ และอาการป่วยไว้ตลอดเวลา   

            4. ก่อนนำผู้ป่วยไปหาแพทย์ ควรได้รับการปฐมพยาบาลเรียบร้อยแล้ว 

            5. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือนำส่งโรงพยาบาล ควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการ 

            6. ในการนำผู้ป่วยไปหาแพทย์ หรือส่งโรงพยาบาล ควรมีรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วย และการปฐมพยาบาลมาก่อน เพื่อความสะดวกที่แพทย์จะทำการรักษาต่อไป   

            7. ถ้าผู้ป่วยอาการสาหัสอย่ารักษาผู้ป่วยเองควรปรึกษาแพทย์ หรือนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน 

เมื่อเจออุบัติเหตุ หรือผู้ป่วยเจ็บป่วยฉุกเฉิน ก่อนอื่นเราต้องตั้งสติก่อน แล้วเรียบเรียงลำดับดังนี้ 

            1. เกิดอะไรขึ้น   

            2. เกิดที่ไหน   

            3. อาการเบื้องต้นของผู้ได้รับอุบัติเป็นอย่างไร   

            4. อายุ เพศ โรคประจำตัว (ตรวจสอบจากเอกสารติดตัว)   

            5. เบอร์โทรติดต่อกลับผู้แจ้ง

            เมื่อได้ข้อมูลแล้วโทร 1669 เพื่อประสานงานกับหน่วยที่รับเรื่องโดยตรง ในการช่วยเหลือ เพราบางครั้งอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและตัวท่านอาจเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์และอาจจะเป็นคนที่สามารถช่วยให้ผู้ประสบภัยรอดพ้นชีวิตได้




หมายเลขบันทึก: 515065เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2013 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2013 10:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท