National Health act


พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ

          ปัญหาจาก ป่วยเกินความจำเป็น ป่วยด้วยโรคมที่ไม่ควรป่วย ที่เกิดจาก  ความไม่สมดุลของการพัฒนา การพัฒนาที่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก การพัฒนาที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพอย่างเพียงพอ มุ่งเน้นการแก้ปัญหา โดยการสร้างสุขภาวะ ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านปัญญา ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน   

ปัจจัยกำหนดสุขภาพ  รายได้และสถานะทางสังคม  เครือข่ายความช่วยเหลือทางสังคม  การศึกษา  การมีงานทำและสภาพการทำงานสิ่งแวดล้อมทางสังคม  สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ  พฤติกรรมสุขภาพและทักษะชีวิต  พัฒนาการที่ดีในวัยเด็ก  ปัจจัยทางชีววิทยาและพันธุกรรม  บริการสุขภาพ เพศ วัฒนธรรม  ทิศทางการพัฒนา ดังนี้   

      1. มีนโยบายสาธารณะที่สนใจสุขภาพ สุขภาวะที่สมดุล  เช่นปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ การทำงาน การศึกษา ระบบประกันสังคม ในทุกช่วงวัย กระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรมโดย ทุกภาคส่วนประสานการทำงานร่วมกัน เฝ้าระวังและประเมินผลกระทบจากนโยบายต่างๆ ด้านสุขภาพ ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพอย่างเป็นธรรม      

      2. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาทั้งด้านกายภาพ เช่น สวนสาธารณะ ถนน น้ำ ขยะ ด้านทางสังคมที่มีการเกื้อกูลต่อสุขภาวะ มีกลไกการมีส่วนร่วม มีทางเลือกให้ประชาชน   

      3. พัฒนาทักษะประชาชนและครอบครัวให้สามารถดูแลตนเองและครอบครัวขั้นพื้นฐาน 

      4. สร้างชุมชนเข้มแข็งให้เป็นกลไกที่สำคัญในการผลักดันกลุ่มในการพัฒนาให้ยั่งยืนด้วยชุมชน 

      5. ปรับทิศทางการลงทุนด้านสุขภาพโดยเน้นบริการปฐมภูมิ ในด้านส่งเสริมและป้องกันสุขภาพ                                                                                                                                                                          การที่จะสามารถพัฒนาด้านสุขภาวะให้มีความก้าวหน้าและยั่งยืน จำเป็นต้องมีทุกภาคส่วนที่กล่าวมาในการพัฒนาร่วมกัน ประสานความร่วมมือ มีปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม และมีการปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะสมกับบริบท กลไกในการขับเคลื่อนในระดับประเทศ ซึ่งต้องอาศัยทุกขบวนการเป็นตัวขับเคลื่อนไป เพื่อสังคมไทยต่อไป 

 

คำสำคัญ (Tags): #national health act
หมายเลขบันทึก: 515046เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2013 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2013 07:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท