การจัดการข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข (Health Information management)



        ระบบข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศสุขภาพ  เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยพัฒนางานสาธารณสุข  ทั้งด้านการรักษาพยาบาล  การส่งเสริมสุขภาพ  การควบคุม  การป้องกันโรค  และการฟื้นฟูสภาพสารสนเทศต่างๆ  ความสำคัญของข้อมูลข่าวสารต้องมีความเที่ยงตรง  ทันสถานการณ์  ตรงตามความต้องการ

        แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

1.  แหล่งปฐมภูมิ  (Primary Sources) ได้แก่ การเก็บข้อมูลด้วยตนเอง อาจมาจาก

  -  การจดทะเบียน เช่น การแจ้งเกิด แจ้งตาย การย้ายที่อยู่ 

  -  การแจงนับหรือการสำรวจโดยตรง เช่น การสำรวจสภาวะสุขภาพของประชาชน 

  -  ข้อมูลจากการส่งแบบสอบถามไปให้กรอก เป็นเฉพาะเรื่องๆ 

2.  แหล่งทุติยภูมิ  (Secondary Sources) ได้แก่ แหล่งที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล แต่ไม่ได้ทำการเก็บรวบรวม  ในขั้นแรกนั้นด้วยตนเอง หรือสถานที่ที่ยินยอมให้ข้อมูลแต่ผู้ต้องการใช้ ซึ่งเป็นวิธีที่ทุ่นค่าใช้จ่ายและเวลาได้มาก หากข้อมูลนั้นมีความครบถ้วนและตรงกับความต้องการ

         ระบบข้อมูลข่าวสาร

  ข้อมูลข่าวสารในระบบสาธารณสุขประกอบไปด้วย

  1) ประเภทของข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข·

  - ข้อมูลสถานะสุขภาพ  (Health  status)

  - ข้อมูลบริการสุขภาพ (Health services)

  - ข้อมูลทรัพยากรสุขภาพ  (Health resources)

  - ข้อมูลตามนโยบายยุทธศาสตร์ (Health strategy support)

  - ข้อมูลสภาวะเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม

  2) แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข 

  - ระบบเฝ้าระวังโรค (Disease Surveillance System) 

  - ระบบรายงานสถิติชีพ (Vital Registration)

  - โรงพยาบาลต่างๆ และหน่วยให้บริการรักษาพยาบาล·

  - การรายงานพิเศษเฉพาะโรค·  การรายงานกิจกรรมสาธารณสุข การสำรวจเป็นครั้งราว 

  - ข้อมูลประชากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ ประชากรตามอายุ เพศ สถานที่ต่างๆ  อัตราการเพิ่มประชากร

หมายเลขบันทึก: 515030เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2013 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2013 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท