project management


การบริหารจัดการระบบสุขภาพ

  การที่ประเทศไทยมีการจัดบริการขั้นพื้นฐานทางด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนเพื่อให้มีหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงนั้นได้มีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่องในหลายๆรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งมีการปรับปรุงและพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยในแต่ละยุคแต่ละสมัยให้ได้มากที่สุดและสิ่งที่จะช่วยให้บ่งบอกว่าระบบสุขภาพนั้นดีและเหมาะสมคงต้องมีตัวชี้วัดเพื่อตรวจสอบและประเมินการพัฒนาว่าเหมาะสมแล้วหรือยังตัวชี้วัดตามแนวคิดของ WHO ในการให้บริการและดูแลสุขภาพนั้นคือ

  1.การบูรณาการเรื่องการบริการ ซึ่งควรครอบคลุมการดูแลรักษาพื้นฐานที่คลอบคลุมในทุกด้าน คือด้านป้องกัน
ด้านการรักษา ด้านการฟื้นฟู และด้านการส่งเสริมสุขภาพ

  2.การเข้าถึง คือ ต้องง่ายต่อการใช้บริการ อยู่ใกล้ชิดประชาชน

  3.คลอบคลุม คือสามารถใช้ประโยชน์ได้ตามสิทธิ์ที่มี

  4.มีความต่อเนื่อง ใช้สิทธิ์ที่มีได้อย่างต่อเนื่องคลอบคลุมทุกกลุ่มอายุ

  5.มีคุณภาพ มีประสิทธิผลประหยัดเหมาะสมกับการบริการที่ได้รับ

  6.คำนึงถึงการมีส่วนร่วม โดยผู้เข้ารับบริการสามารถร่วมวางแผนตัดสินการดูแลรักษาต่อไป

  7.ประสานงานกับท้องถิ่น ที่อยู่ใกล้เป็นเครือข่ายเพื่อช่วยกันดูแลสุขภาพของผู้รับบริการอย่างต่อเนื่อง

  8.ผู้ให้บริการคำนึงถึงประโยชน์ป้องการการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นรับผิดชอบกับสิ่งที่ทำให้ดีที่สุด

  ในการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดขึ้นเพื่อการบริหารจัดการที่ดี ควรดูที่องค์ประกอบในระบบสุขภาพคือ เริ่มจาก Input นโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพว่าไปในทิศทางใด 
งบประมาณที่เหมาะสมในการบริหารจัดการ  Process การจัดโครงสร้างองค์กรการบริการในแต่ละระดับบริการ  การจัดกำลังคนที่เหมาะสมกับบริบทความรู้ความสามารถวัสดุอุปกรณ์เวชภัณฑ์เทคโนโลยีทางการแพทย์ในแต่ละระดับ
ระบบข้อมูลการเฝ้าระวังที่รวดเร็วและสามารถกระจายไปในพื้นที่ต่างๆได้ครอบคลุม
Output ผู้รับบริการได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ สมารถเข้าถึงบริการได้ง่าย Outcome ระบบการให้บริการคลอบคลุมกลุ่มเป้าหมายและมีความทั่วถึง ปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อผู้รับบริการและผู้ให้บริการน้อย Impact ผู้รับบริการและผู้ให้บริการอยู่ดีมีความสุข
มีบริการคลอบคลุมสำหรับทุกคน มีการตอบสนองด้านสุขภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพด้านสุขภาพ  เมื่อมองตัวชี้วัดที่ตั้งไว้และองค์ประกอบด้านสุขภาพแล้ว สำหรับประเทศไทยได้มีการปรับใช้เพื่อให้เหมาะสมกับสังคม
ในแต่ละพื้นที่แต่ละกลุ่มทั่วประเทศไทย ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ยังเห็นว่าส่วนที่เราต้องทำหน้าที่และช่วยให้การบริการทางด้านสุขภาพยังไม่ถึงเกณฑ์หรือยังไม่เหมาะสมควรช่วยกันหาแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงในส่วนที่ตนเองมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งข้อที่เป็นเชิงนโยบาย ผู้รับนโยบาย ผู้บริหาร ผู้นำไปปฏิบัติเครือข่ายงานบริการด้านสุขภาพ ผู้รับบริการคงต้องช่วยกันเพื่อยกระดับการพัฒนาการบริการด้านสุขภาพของเมืองไทยให้เหมาะสมต่อไป



 




หมายเลขบันทึก: 515017เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2013 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2013 07:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะแวะมาอ่านบันทึกต่อไปนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท