jagsan
นาย จักรสันต์ เลยหยุด เลยหยุด

Buddhist management


 สรุปบทเรียน Buddhist management

ผู้บรรยาย : ผศ.ดร.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


              การบริหารจัดการวิถีพุทธ การใช้หลักธรรมปฏิบัติในการบริหารงานทุกระดับ  ตั้งแต่ ระดับปฏิบัติการ  และผู้บริหารระดับต้น  ระดับกลาง  หรือระดับสูง  ให้ได้ผลดี  มีประสิทธิภาพสูง โดยมีหลายข้อปฏิบัติสำหรับ ธรรมในการบริหารจัดการงานให้ประสบผลสำเร็จ  รวมถึงการใช้หลักธรรมปรับใช้ในการพัฒนาด้านสุขภาพ

อิทธิบาทธรรม เป็นธรรมสำหรับถือปฏิบัติสำหรับผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ เรียกว่า หลักการครองงาน  ประกอบด้วยหลักธรรม คือ ได้แก่

  1. ฉันทะ  ความรักงาน คือ จะต้องเป็นผู้รักงานที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่  และทั้งจะต้อง เอาใจใส่กระตือรือร้นในการเรียนรู้งาน  และเพิ่มพูนวิชาความรู้ความสามารถในการทำกิจการงาน  และ มุ่งมั่นที่จะทำงานในหน้าที่รับผิดชอบหรือกิจการงานอาชีพของตนให้สำเร็จเรียบร้อยอยู่เสมอ

  2. วิริยะ  ความเพียร คือ จะต้องเป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร  ประกอบด้วยความอดทน  ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากในการประกอบกิจการงานในหน้าที่หรือในอาชีพของตน  จึงจะถึงความสำเร็จ และความเจริญก้าวหน้าได้

  3. จิตตะ  ความเป็นผู้มีใจจดจ่ออยู่กับการงาน  ผู้ที่จะทำงานได้สำเร็จด้วยดี  มี ประสิทธิภาพนั้น  จะต้องเป็นผู้เอาใจใส่ต่อกิจการงานที่ทำ  และมุ่งกระทำงานอย่าง ต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จ 

  4. วิมังสา  ความเป็นผู้รู้จักพิจารณาเหตุสังเกตผลในการปฏิบัติงานของตนเอง  และของผู้น้อยหรือของ  ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา  ว่า ดำเนินไปตามนโยบายและแผนงานที่วางไว้หรือไม่  ได้ผลสำเร็จ หรือมีความคืบหน้าไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงไร  มีอุปสรรคหรือปัญหาที่ควรได้รับการ ปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงาน  หรือวิธีการบริหารกิจการงานนั้นให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้อย่างไร 

  อนึ่ง อิทธิบาทธรรม ข้อ “วิมังสา” คือความเป็นผู้รู้จักพิจารณาเหตุสังเกตผลในการทำงาน ให้ได้ผลดีนี้  กล่าวโดยความหมายอย่างกว้าง  จะเห็นมีข้อปฏิบัติที่จะช่วยให้การปฏิบัติงานในหน้าที่รับผิดชอบ  หรือในการประกอบสัมมาอาชีวะ  ให้ได้ผลดีและมีความเจริญมั่นคงยิ่งกว่าข้ออื่นๆ อีก  ที่ในวงวิชาการบริหาร ได้ศึกษาวิจัยเห็นผลดีมาแล้ว 

หลักธรรมในปัจจุบัน มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก ได้แก่บริษัทชั้นนำทั้งหลาย เช่น Google  นอกจากนั้นยังมีแนวคำสอนจากหลักธรรมคำสอนพุทธศาสนาที่ใช้ในการดำรงชีวิต ที่มีการปรับปรุงแนวคิดแบบร่วมสมัย เช่น ท่าน  ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) แห่งหมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส เป็นพระมหาเถระชาวเวียดนาม ในพุทธศาสนานิกายเซนมหายานเป็นผู้นำพุทธธรรมสู่วิถีชีวิตร่วมสมัย พัฒนาแนวทางแห่งสติแพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีแนวปฏิบัติคำสอนดังนี้

แนวปฏิบัติพื้นฐานของหมู่บ้านพลัม ยึดหลักการ “อยู่กับปัจจุบัน” (Here and Now) คือ การมีสติ อยู่กับปัจจุบัน(mindfulness) การรับประทานอาหารให้รับประทานช้าๆ ให้ทราบถึงสติและ การทำกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำทุกขณะต้องมีสติ โดยมีเสียงระฆัง คอยเตือนเป็นจังหวะเวลาเพื่อ ให้ทุคน ได้มีสติกลับมาอยู่กับปัจจุบัน

นอกจากนี้แล้ว ยังมีศีล 5 ที่หมู่บ้านพลัม เรียกว่า “ข้อฝึกอบรมสติ”  ซึ่งมีการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย  โดยเป็นข้อห้าม ในการใช้ชีวิตที่ส่งผลต่อการเกิดมลพิษ หรือภาวะโลกร้อนเป็นต้น ข้อห้ามการดื่มสุรา ในแนวปฏิบัติจะหมายรวมถึง การไม่บริโภคสิ่งให้โทษและเสพติดทุกชนิด รวมถึง การเทคโนโลยี ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิต เช่น  อินเตอร์เน็ต วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ที่ให้โทษ ดังนั้นข้อห้ามจึงเป็นเหมือนเครื่องมือให้ทุกคนระลึกและถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของผู้มีศรัทธา ที่ข้าร่วมกิจกรรมที่วัด มีกิจกรรม ช่วยผ่อนคลาย ได้แก่การเล่นดนตรี การเล่นกีฬา  การร้องเพลง การนั่งสมาธิและการเดินสมาธิ เป็นสิ่งที่ทำเพื่อให้ รู้สึกดี มีการผ่อนคลาย ไม่มีเป้าหมายอื่นแอบแฝงนอกเหนือจากให้รู้ปัจจุบัน มีความสุขที่ได้ทำ มีการผ่อนคลาย ไม่มีข้อกำหนดต้องทำปริมาณมาก น้อย หรือต้องใช้ความอดทน ความเพียรพยายาม

คำสำคัญ (Tags): #buddhist#management
หมายเลขบันทึก: 514989เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2013 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2013 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท