jagsan
นาย จักรสันต์ เลยหยุด เลยหยุด

Financial management


สรุปบทเรียน Financial management

ผู้บรรยาย : ผศ.ดร.สุชาดา ภัยหลีกลี้

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


                นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ประชาชน เริ่มดำเนินการเต็มพื้นที่ทั่วประเทศในปีงบประมาณ 2545 (1 ตุลาคม 2544) เป็นนโยบายที่ดีมาก เพราะเป็นการแก้ปัญหาให้กับประชาชนประมาณสิบล้านคนที่ขาดหลักประกันสุขภาพมาช้านาน เป็นนโยบายที่จะสร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการสุขภาพในหมู่คนไทย เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ  โดยหลักการทั่วไปของการประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่สำคัญๆ มีหลักอยู่4 ประการ คือ

           1.เป็นหลักประกันการมีสุขภาพดี ไม่ใช่แค่หลักประกันการเข้าถึงการซ่อมสุขภาพเท่านั้น หลักประกันนี้จะต้องรวมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและปัญหาที่คุกคามสุขภาพ และเป็นบริการทั้งบุคคลและครอบครัว  ถ้าประกันเฉพาะเรื่องซ่อมสุขภาพเป็นรายบุคคล จะเป็นการประกันสุขภาพที่ไม่สมบูรณ์ 

             2. วางอยู่บนพื้นฐานของการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขของคนในสังคม คนมีมากจ่ายมาก คนมีน้อยจ่ายน้อย คนไม่มีรัฐต้องจ่ายแทนให้ 

        3. มีบริการที่ได้คุณภาพและมีมาตรฐานเสมอหน้ากัน ประชาชนมีสิทธิ์เลือกใช้บริการได้ในระดับหนึ่ง ทุกคนสามารถเข้าถึงชุดบริการหลักได้เท่าเทียมกัน  และ

            4. ระบบประกันสุขภาพที่ดี ต้องมีระบบกลไกควบคุมคุณภาพ กลไกควบคุมการใช้จ่ายไม่ให้เกิดการสิ้นเปลื้องเกินจำเป็น 

 

            หากพิจารณาตามหลักการทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาแล้ว  โครงการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่น่าจะทำให้เกิดสุขภาพดีได้ เพราะสุขภาพนั้นหมายความถึง สภาพที่เป็นสุขที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต สังคม และทางวิญญาณ ถ้าหากรัฐบาลและประชาชนยังเน้นไปยังการซ่อมสุขภาพมากกว่าการสร้างสุขภาพ อย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะเห็นได้จากการทุ่มงบประมาณเพื่อประกันสุขภาพให้ประชาชนทุก ๆ คนตามนโยบายของรัฐ ซึ่งหมายความว่าการให้สิทธิแก่คนไทยทุกคนในการที่จะมีสิทธิซ่อมสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเกือบจะทุกกรณีตามสิทธิที่รัฐบาลได้ประกาศไว้ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นนโยบายที่ดี ที่คนไทยพึงมีพึงได้โดยเท่าเทียมกัน แต่ถ้าให้สิทธิโดยที่ลืมนึกถึงการสร้างความตระหนักว่า  รัฐให้สิทธิในการรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่แล้ว ประชาชนก็มีหน้าที่ในการเฝ้าระวังและสร้างเสริมสุขภาพของตนเองด้วย ซึ่งถ้าระบบบริการและการจัดสรรงบประมาณเป็นแบบเดิมแล้ว ปริมาณผู้ป่วยย่อมเพิ่มขึ้นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นหมายถึงงบประมาณจำนวนมหาศาลที่จะต้องหมดไปกับการรักษาพยาบาล และเมื่อถึงจุด ๆ หนึ่ง เมื่อไม่สามารถจัดหางบประมาณเพิ่มขึ้นได้  คุณภาพการบริการ คุณภาพของเวชภัณฑ์ ก็ต้องย่อมถูกจำกัดลงไปด้วย

ประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพหลัก แบ่งออกเป็น 4 ระบบ

           ระบบสุขภาพของประเทศไทย  ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่รัฐบาลได้เริ่มใช้นโยบาย30บาทรักษาทุกโรคเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการโดยเฉพาะการจัดการทางด้านวิธีการจ่ายบริการสุขภาพสำหรับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ จึงได้มีการบริหารจัดการ 4 ระบบดังนี้

1. 30 บาทรักษาทุกโรค 

      เป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดการบริหารจัดการบริหารจัดการโดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและผู้เสียภาษี เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ครอบคลุมบุคคลที่ไม่มีสิทธิประกันสังคมและสวัสดิการรักษาพยาบาล ข้าราชการ

2. ประกันสังคม

           มีขึ้นเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับลูกจ้าง ธุรกิจเอกชน  รับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกันโดย ตัวลูกจ้าง นายจ้าง และผู้เสียภาษี  บริหารโดยสำนักงานประกันสังคม

3. สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 

           มีขึ้นเพื่อ สร้างหลักประกันให้กับข้าราชการ   ซึ่งเป็นลูกจ้างของรัฐและครอบครัวโดยรับบาลซึ่งเป็นนายจ้าง     ใช้เงินภาษีจ่ายให้เป็นสวัสดิการ บริหารโดยกรมบัญชี กลาง

4. ประกันเอกชน

        เป็นระบบสมัครใจผู้ที่ต้องการได้สิทธิประโยชน์ตามข้อเสนอของบริษัทประกันสามารถซื้อหลัก ประกันเอกชน  แต่ละแห่งเป็นผู้บริหาร

คำสำคัญ (Tags): #financial#management
หมายเลขบันทึก: 514979เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2013 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2013 07:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท