jagsan
นาย จักรสันต์ เลยหยุด เลยหยุด

EMS and referral management


   สรุปบทเรียน  EMS and referral management 

ผู้บรรยาย : รศ.ดร.สมเดช  พินิจสุนทร

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


             ปัจจุบันระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยได้มีการพัฒนาดีขึ้นตามลาดับ หลังจากมีการประกาศใช้ พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน เมื่อ 6 มีนาคม 2551  โดยปัจจุบันได้มีหน่วยงานรับผิดชอบด้านการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศ ได้แก่ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้ พรบ.ฉบับนี้ คือ ในอดีตที่ผ่านมาการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินยังขาดระบบบริหารจัดการด้านบุคลากร อุปกรณ์ และเครื่องมือช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ทาให้ผู้ป่วยฉุกเฉินต้องสูญเสียชีวิต อวัยวะ  หรือเกิดความบกพร่องในการทางานของอวัยวะสำคัญ รวมทั้งทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยรุนแรงขึ้นโดยไม่สมควร เพื่อลดและป้องกันความสูญเสียดังกล่าว  จึงกำหนดให้มีคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินขึ้น  เพื่อกำหนดมาตรฐาน  หลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินตลอดจนกำหนดให้มีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติขึ้นมาเป็นหน่วยรับผิดชอบการบริหารจัดการ การประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน และการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิด การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

การแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medicine) ตามคำจำกัดความของ พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน 2551 มีความหมาย ที่กว้าง โดยให้หมายถึง (1) การปฏิบัติการฉุกเฉิน (2) การศึกษา (3) การฝึกอบรม (4) การค้นคว้า(5) การวิจัย และ (6) การป้องกันการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นฉุกเฉิน  โดยขั้นตอนที่ 1-6  เกี่ยวกับการประเมิน การจัดการ การบาบัดรักษาผู้ป่วยฉุกเฉิน นับตั้งแต่การรับรู้ถึงภาวการณ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน จนถึงการดำเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการบาบัดรักษาให้พ้นภาวะฉุกเฉิน จำแนกเป็นการปฏิบัติการในชุมชน และการปฏิบัติการต่อผู้ป่วยฉุกเฉินทั้งนอกโรงพยาบาลและในโรงพยาบาล จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้มีการพัฒนามาโดยตลอด

ขั้นตอนการปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้ง 6  ขั้นตอน ได้แก่

1. การเจ็บป่วยฉุกเฉินและการพบเหตุ (Detection)

2. การแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ (Reporting)

3. การออกปฏิบัติการของชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน (Response)

4. การรักษาพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ (On Scene care)

5. การลาเลียงขนย้ายและให้การดูแลระหว่างนาส่ง (Care in transit)

6. การนาส่งสถานพยาบาล (Transfer to the definitive care)

ผู้รับแจ้งเหตุและสั่งการช่วยเหลือ  (EMD = Emergency Medical  Dispatcher) หรือผู้บัญชาการจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม ปัจจุบันชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน มีดังนี้

  ๑.ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (First Responder Unit : FR) หัวหน้าชุดปฏิบัติการเป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (First Responder) และทีมปฏิบัติการที่เป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น รวมอย่างน้อย ๓ คน

๒. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับต้น (Basic Life Support Unit : BLS) หัวหน้าชุดปฏิบัติการเป็นเวชกรฉุกเฉินระดับต้น (Emergency Medical  Technician –  Basic :  EMT-B)  และทีมปฏิบัติการที่เป็นเวชกรฉุกเฉินระดับต้นหรือผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น รวมอย่างน้อย ๓ คน

๓. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับกลาง (Intermediate Life Support Unit : ILS) หัวหน้าชุดปฏิบัติการเป็นเวชกรฉุกเฉินระดับกลาง  (Emergency Medical  Technician –  Intermediate :  EMT-I) และทีมปฏิบัติการเป็นเวชกรกรฉุกเฉินระดับกลาง เวชกรฉุกเฉินระดับต้น หรือผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น รวมอย่างน้อย ๓ คน

๔. ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (Advance Life Support Unit : ALS) หัวหน้าชุดปฏิบัติการเป็นเวชกรฉุกเฉินระดับสูง (Emergency Medical  Technician-Paramedic :  EMT-P) หรือ พยาบาลกู้ชีพ  (PreHospital  Emergency Nurse :  PHEN) หรือแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Physician :  EP) หรือ แพทย์ (Physician) และทีมปฏิบัติการที่เป็นเวชกรฉุกเฉินระดับกลาง เวชกรฉุกเฉินระดับต้น หรือผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน เบื้องต้น รวมอย่างน้อย ๓ คน

 ก่อนการส่งต่อ


‚ขณะส่งต่อ


ƒ การรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลปลายทาง


„ การรับผู้ป่วยกลับ

เพื่อดูแลต่อเนื่อง








1. การวินิจฉัยโรคและการดูแลเบื้องต้นในโรงพยาบาล

2. การพิจารณาตามภาวะความวิกฤตของโรค

  - ถ้าอาการไม่รุนแรงแต่  มี เหตุจำเป็นต้องส่งต่อ

(เขียนใบRefer) แต่ไม่ใช้รถพยาบาลให้ผู้ป่วยไปเอง

-  ถ้าอาการรุนแรงใช้ระบบของรถและอุปกรณ์ครบถ้วน

3. พิจารณาการส่งต่อไปสถานบริการที่ใกล้ที่สุดหรือขีดความสามารถเหนือกว่า หรือเขตรอยต่อจังหวัดที่เป็นไปตามข้อตกลง

4. การประสานงานระหว่างโรงพยาบาลผู้ส่งกับโรงพยาบาลผู้รับ

5. การตรวจสอบสิทธิต่างๆ


1. การจัดเตรียม

  ความพร้อมของ

  รถพยาบาล ,

  อุปกรณ์ /เครื่องมือแพทย์

ยา และเวชภัณฑ์

2. การเตรียมทีม

  ส่งต่อ

  - แพทย์ หรือ 

  พยาบาล

- ผู้ช่วยเหลือคนไข้

3.การช่วยเหลือผู้ป่วยระหว่างส่งต่อ

การรักษาในระหว่างอยู่บนรถพยาบาล


1.การรายงานผู้ป่วยในระหว่างส่งต่ออาการและอาการเปลี่ยนแปลงการติดตามอาการผู้ป่วย

2.การลงบันทึกติดตามอาการผู้ป่วยในระหว่างส่งต่อ

3. การตอบกลับและประเมินคุณภาพการ  ส่งต่อผู้ป่วย


1. แพทย์พิจารณาเกณฑ์ในการส่งผู้ป่วยกลับเพื่อดูแลต่อเนื่องโรงพยาบาลใกล้บ้าน

2.  หอผู้ป่วยประสานและรายงานข้อมูลผู้ป่วย /การวินิจฉัยการรักษา การดูแลต่อเนื่องไปยังโรงพยาบาลที่จะรับ

3. ศูนย์ประสานงานฯFax ข้อมูลให้โรงพยาบาลที่จะรับเพื่อเตรียมเตียงและบุคลากร

4. รับผู้ป่วยกลับกรณีที่มาส่งต่อผู้ป่วย



คำสำคัญ (Tags): #management#referral#EMS and referral
หมายเลขบันทึก: 514977เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2013 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2013 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท