jagsan
นาย จักรสันต์ เลยหยุด เลยหยุด

National Health Act


 สรุปบทเรียน National Health Act

ผู้บรรยาย : ผศ.ดร.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


               พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ

พ.ศ. 2550  ได้มีการประกาศ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550เมื่อวันที่19มีนาคม2550ตามราชกิจจานุเบกษา  โดยเริ่มดำเนินการเสนอและยกร่างเข้าสู่สภา มาตั้งแต่ พ.ศ.2543ถือได้ว่าเป็นกฎหมายแม่บทด้านสุขภาพของสังคมไทยวางทิศทางระบบสุขภาพที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเพื่อลดความเจ็บป่วยโดยเน้นการสร้างนโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งภาควิชาการ วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ภาคประชาชน ภาคการเมือง และภาคราชการซึ่งจะเป็นการยกระดับสุขภาพของคนไทยให้ดีขึ้น

เจตนารมณ์ของกฎหมาย  เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม ในกระบวนการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพของประเทศ ลักษณะพิเศษของกฎหมาย

1.เป็นกฎหมายเชิงบริหาร ที่มีผลบังคับต่อหน่วยงานภาครัฐ

2.สภาพบังคับต่อหน่วยงานรัฐ จะเป็นกรณีการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

3.บทกำหนดโทษ มีอยู่มาตราเดียวเรื่องการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

4.คุ้มครองสิทธิของประชาชน และ ไม่มีสภาพบังคับต่อประชาชน

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

               พรบ.สุขภาพแห่งชาติได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช) ทำหน้าที่หลักในการให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้าน สุขภาพ และมีสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช) เป็นองค์กรเลขานุการ ทั้งนี้ ยังกำหนดให้ คสช.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่ และสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น รวมทั้งจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

ความหมายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

              พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้ให้ความหมายของ “สมัชชาสุขภาพ” ว่าเป็น กระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์  เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ หรือความมีสุขภาพของประชาชน โดยจัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบและอย่างมีส่วนร่วม สมัชชาสุขภาพ จึงเป็นนวัตกรรมทางสังคม ที่เปิดพื้นที่สาธารณะรูปแบบใหม่ให้กับทุกฝ่ายในสังคม ได้แก่ ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น องค์กรประชาสังคม องค์กรเอกชน นักวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งฝ่ายการเมืองและราชการ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น  ได้เข้ามาร่วมกันทำงานเชิงนโยบายที่เรียกว่า การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม ตามวิถีทางประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่มีความสำคัญควบคู่ไปกับประชาธิปไตยแบบตัวแทน

ความสำคัญของสมัชชาสุขภาพ

         สมัชชาสุขภาพภายใต้กรอบคิดและเจตนารมณ์ของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 มีบทบาทต่อสังคม ดังนี้
1.   สมัชชาสุขภาพมีฐานะเป็น “พื้นที่สาธารณะเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของภาคส่วนต่างๆในสังคม”
สมัชชาสุขภาพเป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะทางสังคมอย่างกว้างขวางและหลากหลาย  เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้มาพบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และค้นหาทางออกร่วมกัน
2.   สมัชชาสุขภาพมีฐานะเป็น “กลไกในการผลักดันนโยบายสาธารณะ” คุณ ค่าของกระบวนการสมัชชาสุขภาพที่สำคัญและแตกต่างจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทั่วๆ ไป คือ การมีบทบาทในการผลักดันนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ หรือให้เกิดทางเลือกเชิงนโยบายที่เอื้อหรือสนับสนุนการสร้างสุขภาวะของ ประชาชน

3.   สมัชชาสุขภาพในฐานะ “กระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม” สมัชชา สุขภาพสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ โดยอาศัยขบวนการประชาสังคมมาขับเคลื่อนเพื่อประสานงานทุกภาคส่วน

สาระสำคัญของการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

               สาระสำคัญในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติคือการประชุมที่รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่คอยติดตามข่าวสารด้านสุขภาพ หรือกลุ่มประชาชนที่ คสช.เข้าถึง ให้มาร่วมรับฟังแนวทางจาก คสช. และรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเหล่านั้น ในระดับสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่หรือสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น จากนั้น คสช.นำข้อเสนอแนะจากสมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่หรือเฉพาะประเด็น ไปรับรองหรือสรุปในการประชุมสมัชชาแห่งชาติ แล้วนำข้อสรุปเหล่านี้ ไปจัดทำให้เป็น “ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อนำเสนอแก่ครม.ให้รับรอง เพื่อแจ้งให้ สส.สว.ทราบ แล้วเอาไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

                 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550เป็นกฎหมายที่คุ้มครองด้านสุขภาพ โดยมี เจตนารมณ์ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม ในกระบวนการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพของประเทศ สืบเนื่องจากสภาพปัญหา เดิมที่มีแม่บทความคิดเรื่องสุขภาพแคบและแยกส่วน  สถานการณ์และอุบัติการณ์เกิดโรคที่เปลี่ยนไป  ปัญหาเรื่องการเข้าถึง ระบบบริการสาธารณสุข รวมถึง นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ถูกละเลย  ทำให้หลายปัจจัยส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน  ดังนั้น พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงได้ กำหนด ให้มี การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA)ตาม มาตรา 10 ระบุว่า “เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้น หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นและวิธป้องกัน ผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้โดยเร็ว การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งต้องไม่มี ลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ”

                  การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะเป็นเครื่องมือ สำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพที่ดี ในอดีตที่ผ่านมา เรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะสนใจเฉพาะการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก เป็นกระบวนการที่ เพิ่งมีการพัฒนาขึ้นมาไม่นานนัก โดยประมาณปี ค.ศ. 1988 องค์การอนามัยโลกได้เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ และได้จัดให้มีการสัมมานาและเผยแพร่ เพื่อมุ่งหวังที่จะลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เกี่ยวกับการเกิดโรคและภัยคุกคามต่อสุขภาพ ของมนุษย์ และเป็นการส่งเสริมให้มีการนำมิติทางสุขภาพเข้าไว้ในกระบวนการการกำหนดนโยบายสาธารณะและนโยบายการพัฒนา จนมีการระบุไว้ใน  Agenda 21 ว่า “ประชาชนต้องเป็น  ศูนย์กลางของการพัฒนา”  และให้มีการรวมมิติทางสุขภาพเข้าไว้ในการกำหนดนโยบายทุกด้าน รวมถึงข้อเสนอแนะให้มีการจัดระบบการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพขึ้น

                    แนวความคิดและกระบวนการหลักของการประเมินผลกระทบทางสุขภาพนั้นไม่แตกต่าง จากการประเมินผลด้านอื่นๆ คือ แนวคิดที่ต้องการคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคต เพื่อประกอบการตัดสินใจที่มีผลต่อสาธารณะ ส่วนที่แตกต่างจากการประเมินผลกระทบอื่นๆ คือ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพเป็นการประเมินที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และการใช้เครื่องมือประเมินผลกระทบที่หลากหลายการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจึงเป็นรูปแบบหรือกระบวนการประเมินผลกระทบ อย่างหนึ่ง ซึ่งมุ่งเน้นที่ จะคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพของ ประชาชน จากการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อที่ จะได้นำเสนอข้อมูล ข้อค้นพบ และ ข้อเสนอแนะทั้งหลาย เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการตัดสินใจร่วมกัน สำหรับผลักดันให้เป็นนโยบายสาธารณะ และการดำเนินการต่างๆคำนึงถึงและให้ความสำคัญกับการส่งเสริม  สุขภาพของประชาชนผลลัพธ์ที่ สำคัญของการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพก็คือ ชุดของคำแนะนำหรือ ข้อเสนอแนะที่มีข้อมูลหลักฐานยืนยัน (Evidence-based recommendations) ที่สะท้อนให้เห็นถึง  แนวทาง และคุณค่าหรือความสำคัญของการมีสุขภาวะที่ ดีร่วมกันในสังคมเพื่อประกอบการ  ตัดสินใจในเชิงนโยบาย โดยคำแนะนำเหล่านั้นต้องมุ่งสนับสนุนผลกระทบทางด้านบวกต่อสุขภาพหรือผลกระทบทางด้านลบจากข้อเสนอดังกล่าว ให้ลดลงเหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

         ดั้งนั้น การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจึงเป็นเครื่องมือหรือกลไกที่สำคัญในการคุ้มครอง และส่งเสริมสุขภาพของประชาชนหรือชุมชนจากการดำเนินโครงการฯ แผนงาน กิจกรรม ต่างๆ ของทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และขจัด หรือยับยั้งการดำเนินการที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน หรือชุมชน นอกจากนี้ การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ โดยการประยุกต์ใช้เครื่องมือและแนวทางที่หลากหลาย และการมีส่วนร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย ทำให้การประเมินผลกระทบต่อ สุขภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการสร้างความตระหนัก และพัฒนาแนวทางการคุ้มครอง  และสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ประกอบกับบริบทของสังคมที่ให้ความสำคัญในเรื่อง “สุขภาพ”  มากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จาก กฎบัตรกรุงเทพ (Bangkok Charter) จากการประชุม  ส่งเสริมสุขภาพโลก ครั้งที่ 6 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.  2550  ได้กล่าวถึงสิทธิและการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน โดยมีปรัชญาและแนวคิดในการคุ้มครองสุขภาพของ  ประชาชนไว้ชัดเจน ในหมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

คำสำคัญ (Tags): #act#national health
หมายเลขบันทึก: 514906เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2013 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2013 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท