การจัดการระบบส่งต่อผู้ป่วยและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน


                                 การจัดการระบบส่งต่อผู้ป่วยและระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

(EMS and Referral management)

          ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หมายถึงระบบการให้บริการที่ปฏิบัติการต่อบุคคลในกรณีของ การได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยกะทันหันซึ่งเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตหรือการทำงาน ของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการประเมิน จัดการ และบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการป่วยของโรคนั้นๆ

         การพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ผ่านมามิได้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ และเป็นการพัฒนาแบบแยกส่วนกล่าวคือ บริการนอกโรงพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุในอดีตนั้นส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการโดยองค์กรการกุศลต่างๆ ต่อมาศูนย์นเรนทรได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนิน งานในเรื่องนี้ แต่ก็จำกัดอยู่เฉพาะโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

         ภายหลังมีนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้เข้ามามีบทบาทในการร่วมจัดบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และมีการตั้งศูนย์สั่งการพร้อมกับการจัดอบรมเจ้าหน้าที่กู้ชีพเป็นระยะๆ เมื่อมี สพฉ.เกิดขึ้นจึงได้ถ่ายโอนภารกิจมาให้ สพฉ.ดำเนินการต่อ ปัจจุบันมีหน่วยกู้ชีพ ตั้งแต่หน่วยกู้ชีพขั้นสูง (Advance Life Support: ALS) หน่วยกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (BasicLife Support: BLS) และหน่วยกู้ชีพชุมชน (First Responder: FR) ทั้งภาครัฐและเอกชนรวมกันกว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศ  แต่ยังพบปัญหาความไม่พร้อมในระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนหรือโรง พยาบาล ทั่วไปขนาดเล็ก อาทิ ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ การขาดแคลนแพทย์สาขาเฉพาะทางที่จำเป็น การประสานงานรับส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลต้นทางและปลายทางยังขาดประสิทธิภาพ ระบบการสื่อสารยังไม่เหมาะสม และไม่ทันสมัย

ขั้นตอนการทำงานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน คือ

  1. การเจ็บป่วยฉุกเฉินและการพบเหตุ (Detection)
  2. การแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ (Reporting)
  3. การออกปฏิบัติการของหน่วยการแพทย์ฉุกเฉิน (Response)
  4. การรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ (On scene care)
  5. การลำเลียงขนย้ายและการดูแลระหว่างนำส่ง (Care in transit)
  6. การนำส่งสถานพยาบาล (Transfer to definitive care)
หมายเลขบันทึก: 514573เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2012 03:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ธันวาคม 2012 03:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พอจะทราบ ระบบการส่งต่อผู้ป่วยของต่างประเทศมั้ยครับ ว่าต่างกับ ประเทศเรายังไง พอดีได้หัวข้อรายงงานในข้อนี้อ่ะครับ ไม่มีข้อมูลเลยครับ TT

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท