ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากสุรา


                                                     ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากสุรา

                                                        (Economic cost of alcohol)

                                                           

                สุราในโลกเสรี:Alcohol problems in the Globalized World” กำลังเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงของสังคมไทย  ที่ผ่านมาที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้รองรับแผนยุทธศาสตร์แอลกอฮอล์ระดับชาติ 4 ด้าน คือ ควบคุมการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งมาตรการภาษี หรือการจำกัดเวลา การปรับเปลี่ยนค่านิยมจากการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การควบคุมการดื่มที่นำไปสู่การเจ็บป่วยและการเสียชีวิต รวมทั้งการจัดการปัญหาให้ลงถึงระดับชุมชน สอดรับกับที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก ครั้งที่ 63 ที่ได้มีมติรองรับยุทธศาสตร์โลก เพื่อจัดการปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

             การดื่มสุราทำให้เกิดปัญหาสำคัญทั้งทางสาธารณสุขและสังคมทั่วโลก สุรานับว่าเป็นสาเหตุของปัญหาด้านสุขภาพ เช่น ภาวะโรคเรื้อรัง อาการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ และปัญหาทางสังคม ปัญหาจากสุราอาจจะเกิดขึ้นได้หลังจากการดื่มเพียงครั้งเดียว หลายครั้ง หรือในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้มีผลเฉพาะกับตัวผู้ดื่มเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อผู้อื่นด้วย เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง หรือบุคคลใกล้เคียงต่าง ๆ ผลกระทบเหล่านี้มีทั้งปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาการเงิน อุบัติเหตุต่างๆ เช่น อุบัติเหตุการจราจรบนท้องถนนอุบัติเหตุในการทำงาน และปัญหาในการทำ งานเช่น ทำ ให้ขาดงาน มาทำ งานสาย หรือทำ งานผิดพลาด ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น นอกจากนั้น การดื่มสุราก็ยังมีผลต่อสุขภาพของ ผู้ดื่มโดยตรงอีกด้วย  การดื่มสุราและปัญหาที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะต่อเนื่อง คือเริ่มตั้งแต่ผู้ที่ไม่ดื่มเลย หรือภาวะไม่มีปัญหาเลยไปจนถึงผู้ที่ดื่มมากจนติดสุรา การใช้มาตรการในการจัดการกับปัญหาการดื่มสุราจะต้อง  คำ นึงถึงองค์ประกอบสามด้านในการเกิดปัญหา คือแอลกอฮอล์ สิ่งแวดล้อม และผู้ดื่ม มาตราการที่ใช้จึงประกอบด้วยมาตราการทางกฎหมาย สังคม และการแพทย์ ซึ่งจะมีผลให้เกิดการควบคุมสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดื่ม และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ดื่ม

1.การประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการบริโภคสุรา

· แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินความสูญเสียCost-of-illness Approach

แนวทางการประเมินด้วยวิธีมูลค่าความเจ็บป่วย “The cost-of-illness  (COI) approach” มีมานานแล้ว การประเมินโดยวิธีตีมูลค่าการเจ็บป่วยของการใช้สารเสพติด หลักพื้นฐานของแนวคิดนี้คือ การวัดค่าทั้งหมดในทางเศรษฐกิจของ “ค่าเสียโอกาส” ซึ่งเกิดจากการเจ็บป่วย หรือการตายในปีปัจจุบันนั้น ซึ่งเป็นผลจากการใช้สารเสพติดทั้งในอดีตและปัจจุบัน มูลค่าความสูญเสียนั้นประกอบด้วย ความสูญเสียทางตรง (ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปหรือทรัพยากรที่ถูกใช้ไปเพื่อการรักษา) และความสูญเสียทางอ้อม (ทรัพยากรที่เสียไป อันเนื่องจากความสามารถในการผลิตลดลงหรือการตายก่อนวัยอันควร) วิธีการนี้ เป็นแนวทางที่ใช้กันทั่วไป หรือแนวทางที่เป็นมาตรฐาน

Demographic Approach: Prevalence based and Incidence based

วิธีการศึกษาทางประชากร แนวทางการประเมินจะสร้างจากสมมติฐานว่าปัจจุบันประชากรไม่มีผู้ใช้สารเสพติดเลย ดังนั้น ระดับของมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการใช้สุราหรือสารเสพติดในปีหนึ่งๆ จึงประเมินโดยอาศัยข้อมูลของความชุกและอุบัติการณ์ของปัญหา

2. องค์ประกอบของความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการบริโภคสุรา

การประเมินความสูญเสียในทางเศรษฐกิจจากโรคและปัญหาสุขภาพ ซึ่งความสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้นพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือ ความสูญเสียทางตรง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นโดยตรงเนื่องจากปัญหาสุขภาพนั้นๆ และความสูญเสียทางอ้อมซึ่งเป็นความเสียหายทางผลิตภาพอันเนื่องมาจากการขาดงาน ขาดประสิทธิภาพ การเจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิต

3.ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการบริโภคสุราในประเทศไทย

การประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อผู้บริโภค การศึกษาในจังหวัดสงขลา ศึกษาค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติอันเกิดจากการบริโภคสุราที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ในปี พ.ศ. 2535 เป็นการประเมินค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจเฉพาะผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ครอบคลุมถึงค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียเวลาผลิตภาพที่ลดลงของผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่นๆ โดยมีการประมาณการความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อบุคคลไว้มากกว่า 20,000 บาทต่อคน

       การประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อสังคม การประเมินความเสียหายจากการดื่มสุราของประเทศไทย ใน พ.ศ. 2547 โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุองค์ประกอบของความเสียหาย ดังนี้

  1) ค่าใช้จ่ายด้านการบำบัดโรคติดสุราและโรคที่เกิดจากการดื่มสุรา แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ค่าใช้จ่าย  ในการบำบัดโรคติดสุรา และการใช้จ่ายการรักษาพยาบาลโรคที่เกิดจากการดื่มสุรา

  2) การสูญเสียชีวิตและอวัยวะ อันเนื่องจากปัญหาของการดื่มสุรา

  3) การสูญเสียทรัพย์สินและผลกระทบต่อเนื่องที่แบกรับโดยสังคม ประกอบด้วยความเสียหายที่เป็นรูปธรรม  (ทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุ การสูญเสียการลงทุนในการศึกษาการใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มเติมในการจัดการกับอาชญากรรม อาคารสถานที่ที่ถูกทำลาย ฯลฯ)

ผลสรุปจากการประเมินเป็นดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษาโรคติดสุราและโรคที่เกิดจากการสุรา  106.9-349.7 ล้านบาท

2. ต้นทุนเวลาในการบำบัดรักษาโรคที่เกิดจากสุรา  127.5 - 205.8  ล้านบาท

3. ต้นทุนเวลาในการขาดงานเนื่องจากการดื่มสุรา 3,245.8 -4,491.8 ล้านบาท

4. มูลค่าการสูญเสียชีวิตจากความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากสุรา 1,488.4 -2,425.5 ล้านบาท 

5. มูลค่าการสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรที่เกิดจากการดื่มสุรา 5,562 - 8,583 ล้านบาท

6. มูลค่าการรักษาอุบัติเหตุจากการดื่มสุรา  220.8 - 10,621.9  ล้านบาท

7. มูลค่าการสูญเสียรายได้จากการรักษาพยาบาลอุบัติเหตุเป็น  2,256.7 - 6,974.9  ล้านบาท

หมายเลขบันทึก: 514571เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2012 02:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ธันวาคม 2012 02:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท