การจัดการการเงินในระบบสุขภาพ


                                                        การจัดการการเงินในระบบสุขภาพ

                                                              Financial management

                                                                    

              ระบบประกันสุขภาพมีหลายรูปแบบ บางประเทศอยู่ในลักษณะกองทุน การประกันสุขภาพ หรือเก็บภาษีจากบุหรี่ โดยหลายประเทศคำนึงถึงงบประมาณ ซึ่งประเทศไทยได้แสดงให้เห็นว่าถึงแม้ไม่ได้เป็นประเทศที่ร่ำรวย แต่ก็สามารถดูแลประชาชน ให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง มีความมั่นคงด้านสุขภาพ และมีนโยบายลดความ เหลื่อมล้ำของกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ3กองทุน ซึ่งเริ่มจากการบริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินการเข้าถึงยาโรคเอดส์

ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพหลัก3ระบบ
     (1) ระบบประกันสังคม

     (2) ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

     (3) ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

             แต่ละระบบมีวิวัฒนาการและแนวคิดที่แตกต่างกันระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการถือเป็นสวัสดิการที่รัฐจัดให้แก่ข้าราชการรวมถึงพ่อแม่ และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะไม่เกิน 2 คน ขณะที่ระบบประกันสังคมถือเป็นความมั่นคงด้านสังคมของลูกจ้างที่รัฐ นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันสมทบแก่แรงงานในระบบ ส่วนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นรัฐสวัสดิการที่จัดให้แก่ประชาชนไทยกลุ่มอื่นๆที่เหลือ ซึ่งเกิดจากการรวมระบบประกันสุขภาพที่มีอยู่ในขณะนั้นซึ่งได้แก่ ระบบสวัสดิการผู้ที่ควรช่วยเหลือเกื้อกูล ระบบบัตรประกันสุขภาพ และผู้ที่ไม่มีหลักประกันใดๆส่วนอื่นคือ บริษัทประกันเอกชน

การประกันสุขภาพในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ”

        สรุปปัญหาสำคัญ  การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยนอกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเบิกจ่ายค่ายา มีเหตุปัจจัยสำคัญประการหนึ่งจากการเข้าถึงการรักษาพยาบาล  ได้สะดวกขึ้นจากระบบการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลที่กรมบัญชีกลางเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550  กลุ่มงานสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการที่ทำงานมีจำกัด และงบประมาณ  ในการบริหารจัดการระบบสวัสดิการกษาพยาบาลมีไม่เพียงพอ โดยได้รับงบเพื่อบริหารจัดการและพัฒนาระบบสวัสดิการฯ 41 ล้านบาท หรือน้อยกว่าร้อยละ 0.1 ของค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปในการรักษาพยาบาล  (กว่า 60,000 ล้านบาท) การบริหารระบบสวัสดิการฯ จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการระบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

   “ระบบประกันสังคม” ปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมาเป็นเรื่องปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเพิ่มประโยชน์ทดแทนด้านการแพทย์และจำนวนผู้ประกันตนเพิ่มขึ้น ทั้งไม่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการลดจำนวนคนภาครัฐ ทำให้ลูกจ้างส่วนหนึ่งต้องเข้ามาในระบบประกันสังคม

ทิศทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพกองทุนประกันสังคมเป็น 2 ระยะ ได้แก่

      1. การดำเนินงานระยะสั้น เช่น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือของสถานพยาบาลในการให้บริการทางการแพทย์ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ผู้ประกันตน

      2. การปรับวิธีการจ่ายค่าบริการสุขภาพ เช่น ปรับวิธีการจ่ายค่าบริการสุขภาพจากเหมาจ่ายครอบคลุมทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เป็นเหมาจ่ายเฉพาะผู้ป่วยนอก และกันเงินเหมาจ่ายส่วนผู้ป่วยในมาบริหารจัดการ เพื่อให้สถานพยาบาลได้รับการจัดสรรค่าบริการสุขภาพเหมาะสมตามภาระงานที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงการแยกโรคค่าใช้จ่ายสูงมาบริหารจัดการเฉพาะ

 ส่วนการดำเนินงานระยะยาว ควรจัดระบบสถานพยาบาลประกันสังคมเป็นระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลระดับต่างๆ


หมายเลขบันทึก: 514569เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2012 02:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ธันวาคม 2012 02:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท