ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน : เจ็บเมื่อไหร่ก็โทรมา 1669


                                           ประวัติศาสตร์การแพทย์ฉุกเฉินไทย

การก่อตั้งหน่วยกู้ชีพภาคเอกชน

พ.ศ. 2480  ก่อตั้ง มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
พ.ศ. 2513  ก่อตั้ง มูลนิธิร่วมกตัญญู

 

ประวัติการก่อตั้งหน่วยกู้ชีพภาคราชการ

พ.ศ.2520  ในกรุงเทพมหานครโรงพยาบาลตำรวจสร้างเครือข่ายรถพยาบาลฉุกเฉินร่วมกับโรงพยาบาล

อื่นๆ ให้บริการ Prehospital care

พ.ศ.2525 กองทัพบก ได้ จัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุ 123 บริการประชาชนร่วมกับกรมตำรวจ

พ.ศ.2532 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับจัดสรร งบประมาณเพื่อสร้างอาคาร EMS ขึ้นที่โรงพยาบาลราชวิถี

พ.ศ.2536 กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายจัดตั้งศูนย์อุบัติเหตุ (Trauma  Center) ที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
โดยความช่วยเหลือทางเทคนิคจากองค์การระหว่างประเทศ JICA จากประเทศญี่ปุ่น

พ.ศ. 2539เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์ (กู้ชีพ) ณ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร  จังหวัดขอนแก่น

     

                                            

                                                               ขั้นตอนการปฏิบัติการ

 1. การเจ็บป่วยฉุกเฉินและการพบเหตุ ( Detection ) การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าได้ถึงแม้ว่าจะมีการเตรียมการในการป้องกันก็ตามดังนั้นการส่งเสริมหรือจัดให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการตัดสินใจแจ้งเหตุเมื่อพบเหตุซึ่งจะทำให้การส่งการช่วยเหลือ (Dispatch) มาถึงได้อย่างรวดเร็ว
  2. การแจ้งเหตุขอความช่วยเหลือ (Reporting) การแจ้งเหตุที่รวดเร็วโดยระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและมีหมายเลขที่จำง่ายซึ่งผู้แจ้งเหตุต้องมีความสามารถในการแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้องและการแจ้งเหตุที่ดีควรมีข้อมูลที่สำคัญ5 ประการดังนี้ (ในขั้นตอนนี้รวมถึงการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น)

          2.1 ประเภทของเหตุการณ์
          2.2 อาการของผู้บาดเจ็บ/ผู้เจ็บป่วยรวมถึงระดับความรู้สึกตัว

          2.3 จำนวนของผู้บาดเจ็บ/ผู้เจ็บป่วย

          2.4 สถานที่เกิดเหตุ/จุดสังเกตุ

          2.5 ชื่อผู้แจ้งและหมายเลขโทรศัพท์

  3.  การออกปฏิบัติการของชุดปฏิบัติการ(Response) ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินจะต้องมีความพร้อมที่จะออกปฏิบัติการตามคำสั่งและจะต้องมีมาตรฐานในการออกตัวระยะเวลาเดินทาง

  4. การรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ( On Scene Care ) ชุดปฏิบัติการฉุกเฉินจะต้องประเมินสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยของตนเองและทีมงานประเมินสภาพผู้บาดเจ็บ/ผู้เจ็บป่วย เพื่อให้การดูแลรักษาที่เหมาะสม
โดยมีหลักในการดูแลรักษาว่าจะไม่เสียเวลาที่จุดเกิดเหตุนาน

  5. การลำเลียงขนย้ายและการดูแลระหว่างนำส่ง (Care in Transit) หลักสำคัญในการเคลื่อนย้ายจะต้องมีการฝึกอบรมรูปแบบวิธีการมาเป็นอย่างดีในระหว่างการเคลื่อนย้ายจะต้องมีการประเมินสภาพผู้บาดเจ็บ/ผู้เจ็บป่วย เป็นระยะ

 6. การนำส่งสถานพยาบาล (Transfer to Definitive Care) ในการตัดสินใจนำส่งโรงพยาบาล ควรพิจารณาศักยภาพของโรงพยาบาลที่จะต้องนำผู้ป่วยไปส่งไม่ควรเสียเวลาจากการนำส่งในโรงพยาบาลที่ไม่มีความพร้อมหรือไม่มีศักยภาพในการรักษา




คำสำคัญ (Tags): #ems
หมายเลขบันทึก: 514558เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2012 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2013 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท